สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้  >>

โรคติดต่ออุบัติใหม่

โรคทูลารีเมีย (Tularemia)

โรคทูลารีเมีย หรือโรคไข้กระต่าย (Rabbit Fever) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ถึงคน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Francisella tularensi) สัตว์รังโรคอยู่ในสัตว์ป่าที่เลี้ยงลูกด้วยนม รวมทั้งสัตว์ฟันแทะ เช่น กระต่าย หนู กระรอก กวาง แพรีด๊อก (Parrie dog) และสามารถติดต่อมายังสัตว์เลี้ยงจำพวกวัว ควาย แกะ และแมว ได้ โดยมีเหลือบ เห็บ หมัด หรือยุง เป็นแมลงนำโรค

โรคนี้ติดต่อมายังคนโดยถูกแมลงพาหะที่กัดเลือดสัตว์ที่ติดเชื้อนี้กัด หรือติดโดยสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่ง (Secretion) ของสัตว์ที่ป่วย เข้าทางบาดแผล เยื่อเมือก หรือรอยถลอก ขีดข่วน หรือถูกสัตว์ป่วยกัดโดยตรง การหายใจ หรือกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรคปนก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้ ไม่มีรายงานการติดต่อระหว่างคนสู่คน

ระยะฟักตัวของโรค 1-14 วัน แต่ทั่วๆ ไป 3-5 วัน เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ทางผิวหนัง และทางการหายใจ หากเชื้อเข้าทางผิวหนังจะเกิดบาดแผล ต่อมน้ำเหลืองบวมโตตรงที่รับเชื้อ หากเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจผู้ติดเชื้อจะมีไข้ หนาวสั่น โลหิตเป็นพิษ ปวดศีรษะ ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ไอแห้งๆ และอ่อนเพลีย หากผู้ป่วยมีอาการปอดบวมร่วมด้วยจะเจ็บหน้าอก มีเสมหะเป็นเลือด อึดอัด หายใจไม่สะดวก จนอาจหยุดหายใจ

สถานการณ์ของโรคในต่างประเทศ

สถานการณ์ทั่วโลก พบรายงานโรคนี้ในกลุ่มประเทศซีกโลกเหนือ เช่น สหภาพโซเวียต เอเซียไมเนอร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรป (ยกเว้นคาบสมุทรไอเบอเรียน และเกาะอังกฤษ) ไม่พบมีรายงานโรคในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้

  • ปี พ.ศ. 2545 สาธารณรัฐโคโซโว พบผู้ป่วย 715 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ซึ่งการระบาดครั้งนี้เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544
  • ปี พ.ศ. 2551 แพทย์จากโรงพยาบาลโรคติดเชื้อในกรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย พบผู้ป่วยโรคทูลารีเมียรายแรกในมอสโคว์ โดยรับเชื้อมาจาก Naro-Fominsk ชานกรุงมอสโคว์
  • มิถุนายน พ.ศ. 2552 พบการระบาดของโรคทูลารีเมียในแมว และสุนัข ที่รัฐเซาท์ดาโคตา ไม่มีรายงานการติดต่อสู่คน

สถานการณ์ในประเทศไทย

ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันโรคทูลารีเมียรายแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2550 นั้น จัดเป็นโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ แต่เนื่องจากโรคเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง โดยคนถูกแมลงนำโรคกัด หรือติดโดยสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่ง ของสัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ หรือการหายใจเอาละอองฝอยเข้าไป การสัมผัส หรือกินอาหาร หรือน้ำ ที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีรายงานการติดต่อจากคนสู่คน จึงนับได้ว่าความเสี่ยงของโรคนี้ในประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ

โรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้เลือดออกอีโบลา
โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก
โรคไข้หวัดนก
โรคไข้เหลือง
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)
โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส
โรคทูลารีเมีย (Tularemia)
โรคเมลิออยโดซิส
โรคลิชมาเนีย
โรควีซีเจดีหรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal influenza)
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
โรคแอนแทรกซ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย