สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
โรคไข้เลือดออกอีโบลา
ไข้เลือดออกอีโบล่าจัดเป็นโรคที่มีอัตราป่วยตายสูงมากกว่าร้อยละ 50-90
โดยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากอาการเสียเลือดมากหรืออวัยวะต่างๆ ไม่ทำงาน
โดยเชื่อว่าโรคไข้เลือดออกอีโบล่าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
แต่การวิจัยขององค์การอนามัยโลกยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเป็นสัตว์ประเภทใดเป็นแหล่งรังโรค
คาดเพียงว่าน่าจะเป็นค้างคาวประเภทกินผลไม้
โรคไข้เลือดออกอีโบล่ามีแนวโน้มสูงที่จะเกิดการระบาด
โดยพบการติดเชื้อไวรัสในคนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2519
ในจังหวัดทางภาคตะวันตกของประเทศซูดานและประเทศซาอีร์
(ปัจจุบันคือประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก)
หลังจากนั้นพบการระบาดอย่างต่อเนื่องในทวีปแอฟริกา ได้แก่
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์) ไลบีเรีย สาธารณรัฐคองโก สาธารณรัฐกาบอง
สาธารณรัฐซูดาน สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ สาธารณรัฐยูกันดา และสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
เป็นต้น
สถานการณ์ของโรคในต่างประเทศ
ธันวาคม พ.ศ. 2551
กระทรวงสาธารณสุขสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกประกาศพบการระบาดของไข้เลือดออกอีโบลาในจังหวัดคาไซตะวันตก
หลังจากที่องค์การอนามัยโลกและเจ้าหน้าที่ของคองโกได้เคยประกาศว่าสามารถควบคุมการระบาดของเชื้ออีโบล่าได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน
2550
จากการระบาดครั้งนี้องค์การอนามัยโลกได้สนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานของทีมสอบสวนและตอบสนองต่อการระบาด
ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จำเป็น
และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลลงไปในพื้นที่ ส่วนประเทศต่างๆ
ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกเข้าไปช่วยเหลือควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่
ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552
กระทรวงสาธารณสุขสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกได้ประกาศสิ้นสุดการระบาดของไวรัสอีโบลา
ในจังหวัดคาไซตะวันตก โดยผู้ติดเชื้อเสียชีวิตล่าสุดในวันที่ 1 มกราคม 2552
ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เกินกว่า 2 เท่าของระยะฟักตัวสูงสุดของอีโบลา (42 วัน)
รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น 32 ราย เสียชีวิต 15 ราย
วันที่ 23 มกราคม 2552
รัฐบาลฟิลิปปินส์รายงานพบเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรไว้หลังบ้านซึ่งเป็นไปได้ว่าสัมผัสกับสุกรที่ป่วย
มีผลตรวจเป็นบวกต่อไวรัสอีโบลาเรสตัน จากนั้นอีก 1 สัปดาห์
พบคนงานในฟาร์มซึ่งอยู่ระหว่างการกักกันเนื่องจากพบสุกรติดเชื้ออีโบลาเรสตัสที่เมือง
Bulacan และ Pangasinan ป่วยเพิ่ม 3 ราย และอีก 1
รายเป็นคนงานฆ่าสัตว์ที่โรงฆ่าสัตว์ใน Pangasinan จากการสอบสวนเพิ่มเติมพบว่า
ผู้ป่วยทั้งหมดแข็งแรงดีไม่มีอาการเจ็บป่วยในระยะ 12 เดือนที่ผ่านมา
และเป็นไปได้ว่าทุกรายมีการสัมผัสสุกรที่ป่วยโดยไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ
รัฐบาลฟิลิปปินส์ยังคงให้ฟาร์มดังกล่าวเป็นเขตกักกัน
และได้ออกมาตรการหยุดส่งออกสุกรมีชีวิตและเนื้อสุกรสด และแช่แข็ง
องค์การอนามัยโลกให้การสนับสนุนเรื่องความเข้าใจรัฐบาลฟิลิปปินส์เกี่ยวกับโรคอีโบลาเรสตัน
ทั้งเรื่องผลที่เกิดกับคน และมาตรการที่จำเป็นในการลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของคน
สถานการณ์ในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย ยังไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกอีโบลา
จนถึงปัจจุบัน ยังไม่พบวิธีรักษาหรือบำบัดโรคร้ายนี้
ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเลือดออกทั้งร่างกายจนเสียชีวิต
โรคนี้ระบาดผ่านทางการสัมผัสกับเลือด หรือน้ำคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
หรือสิ่งที่ปนเปื้อนน้ำคัดหลั่งที่ติดเชื้อ แม้ว่ายังไม่พบผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศไทย
แต่ปัจจุบันการเดินทางข้ามทวีปเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น
อาจพบผู้ติดเชื้อมาจากแหล่งที่มีการระบาดเดินทางเข้ามาภายในประเทศได้
เนื่องจากระยะฟักตัวของโรคกว่าจะมีอาการนานที่สุด พบได้ถึง 21 วัน
สำหรับคนไทยที่เดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคต้องระมัดระวังไม่ให้ใกล้ชิดผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการสงสัย
และควรเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังโรคเป็นพิเศษ เช่น ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ
ซึ่งมีหน้าที่คอยดูแลตรวจตราผู้เดินทางเข้าออกระหว่างประเทศ
ควรเพิ่มความเข้มงวดในการคัดกรองให้มากขึ้นในผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค
โรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้เลือดออกอีโบลา
โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก
โรคไข้หวัดนก
โรคไข้เหลือง
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)
โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส
โรคทูลารีเมีย (Tularemia)
โรคเมลิออยโดซิส
โรคลิชมาเนีย
โรควีซีเจดีหรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal influenza)
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
โรคแอนแทรกซ์