สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้

ไข้หวัดนก

ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก
มิสเตอร์ไข้หวัดนก
การแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ฯ
ระบาดวิทยาของไข้หวัดนกทั่วโลก
ระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย
แนวทางการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก และโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ
การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน
ระบบการตรวจวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติการ
ลักษณะทางคลินิกและการวินิจฉัยโรคไข้หวัดนก
แนวทางการรักษาพยาบาลสำหรับโรคไข้หวัดนกและการติดตามผู้ป่วย
ข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไข้หวัดนก
บทบาท อสม. และกระบวนวิธีการขับเคลื่อนแผนที่ยุทธศาสตร์ฯ
โครงสร้างการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของกระทรวงฯ
แนวทางการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ในการป้องกันฯ ระดับจังหวัด
ถาม-ตอบ เรื่องไข้หวัดนก

แนวทางการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ในการป้องกัน และควบคุมการระบาดของโรคหวัดนก ระดับจังหวัด

คณะทำงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์แนวคิดของการประชาสัมพันธ์

การปฏิบัติการ สืบค้น รวบรวม วิเคราะห์ กลั่นกรอง และบริหารจัดการ แล้วเผยแพร่ข้อมูลข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตรงไปตรงมาและอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ด้วยเทคนิค กลวิธี และช่องทาง การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ เหมาะสมและมีประสิทธิผลต่อการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรค โดยที่สามารถรักษาภาพลักษณ์ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ ศรัทธาและองค์กรไว้ให้ได้

คำขวัญของงานประชาสัมพันธ์ “Perception is Reality”

กระบวนการดำเนินการประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย 3 มิติ คือ

  1. การติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (Communication)
  2. การบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อให้มีการไหลเวียนของ ข้อมูล ข่าวสาร ตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ (Information Management)
  3. การประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างองค์กรกับสาธารณะชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญต่อองค์กร (Public Relations)

  การจัดรูปองค์กรและการบริหารจัดการด้านประชาสัมพันธ์

แนวปฏิบัติในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ แก่ผู้เกี่ยวข้องผู้มีส่วนสำคัญต่อการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก ประชาชนและชุมชน กลุ่มเป้าหมายสำคัญ ได้แก่

  1. บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในระดับพื้นที่ องค์กรที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นต้น
  2. สื่อมวลชนทุกแขนง
  3. ครู/ นักเรียน
  4. อาสาสมัครและผู้นำชุมชน
  5. เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์/ผู้ประกอบการและลูกจ้างเกี่ยวกับสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์
  6. ประชาชนทั่วไป

วัตถุประสงค์ทั่วไป

  1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมากกว่าร้อยละ 80 ได้รับรู้ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องครบถ้วนรวดเร็วทันสถานการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค แนวทางการป้องกันควบคุมโรค และกิจกรรมการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคของภาครัฐและเอกชน
  2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมากกว่า ร้อยละ 75 มีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จในการป้องกันควบคุมโรค มีส่วนร่วม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย