สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้

ไข้หวัดนก

ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก
มิสเตอร์ไข้หวัดนก
การแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ฯ
ระบาดวิทยาของไข้หวัดนกทั่วโลก
ระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย
แนวทางการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก และโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ
การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน
ระบบการตรวจวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติการ
ลักษณะทางคลินิกและการวินิจฉัยโรคไข้หวัดนก
แนวทางการรักษาพยาบาลสำหรับโรคไข้หวัดนกและการติดตามผู้ป่วย
ข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไข้หวัดนก
บทบาท อสม. และกระบวนวิธีการขับเคลื่อนแผนที่ยุทธศาสตร์ฯ
โครงสร้างการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของกระทรวงฯ
แนวทางการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ในการป้องกันฯ ระดับจังหวัด
ถาม-ตอบ เรื่องไข้หวัดนก

ข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยที่สงสัย/เป็นโรคไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่

บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยนั้น ควรได้รับการเตรียมพร้อมดังต่อไปนี้

  • ได้รับการอบรมความรู้ เรื่อง โรคไข้หวัดนก / ไข้หวัดใหญ่ มาแล้ว
  • ได้รับการอบรม และฝึกปฏิบัติในเรื่อง Infection Control Practices มาแล้ว
  • พิจารณาให้ได้รับ หรือมีภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่ ขณะสถานการณ์การระบาดของโรคอยู่ในระยะเตือนภัยการระบาด ควรได้รับวัคซีนป้องกัน โรคไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาล ล่าสุด (Seasonal vaccine) ก่อนปฏิบัติงานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ขณะสถานการณ์การระบาดของโรคอยู่ในระยะการระบาดใหญ่ ควรพิจารณาวัคซีนสำหรับ บุคลากรที่ เป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เดียวกับช่วงที่มีการระบาดใหญ่ เป็นผู้ที่เคยป่วยด้วย Influenza like illness (ILI) ในช่วงต้นของการระบาดใหญ่ และหายเป็นปกติดีแล้ว
  • (เฉพาะกรณีในช่วงการระบาดใหญ่) บุคลากรที่ยังไม่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่และยังไม่เคยเป็นไข้หวัดใหญ่ในช่วงการระบาดใหญ่ ควรได้รับยาต้านไวรัสเป็น Chemoprophylaxis ตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน
  • ห้ามบุคลากรที่มีลักษณะต่อไปนี้ปฏิบัติงานกับผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดนก / ไข้หวัดใหญ่ และ ปฏิบัติงาน ใน ILI cohort area และ Influenza cohort area ในระยะที่มีการระบาดใหญ่ ได้แก่
    -ป่วยด้วยโรคระบบการเดินหายใจเฉียบพลัน และเรื้อรัง
    -อายุมากกว่า 55 ปี
    -ตั้งครรภ์
    -มี Cardiovascular disease ได้แก่ Congenital valvular disease, Rheumatic valvular
    -disease, Ischemic heart disease, Congestive heart failure
    -Malignancy
    -Renal failure
    -มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่ ป่วยเป็น HIV/AIDS, ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

ในการดูแลผู้ป่วยที่สงสัย/เป็นโรคไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่นั้น อุปกรณ์หลักสำคัญในการป้องกันที่เน้นย้ำคือ Personal Protective Equipment (PPE) มีสาระสำคัญคือ

  • PPE ประกอบด้วย mask (N95 หรือ Surgical), เสื้อกาวน์แขนยาวรัดข้อมือ, แว่นป้องกันตา (goggle) หรือ face shield, ถุงมือ (Gloves)
  • มีการฝึกซ้อมในการใส่ , ถอด PPE อย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการปนเปื้อน (รายละเอียดในข้อ. 8)
  • Mask
    บุคลากรสวม N95 mask / surgical mask เสมอเมื่ออยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 3 ฟุต หรืออยู่ในห้องเดียวกับผู้ป่วย หากใช้ N95 ต้องทำ fit test, fit check เสมอ โดยสามารถทำได้โดยสวม mask ให้แนบสนิทกับใบหน้า ทดลองหายใจเข้า-หายใจออก หากหน้ากากบุ๋มเข้าขณะหายใจเข้า และโป่งออกเมื่อหายใจออก แสดงว่าหน้ากากสวมได้สนิทดี หากขณะหายใจแล้วมีลมรั่วออก หรือหน้ากากไม่บุ๋ม/โป่ง ให้ปรับหน้ากากให้แนบสนิทกับใบหน้าใหม่แล้วทดสอบใหม่อีกครั้ง (พิจารณาใช้ N95 ตามความเสี่ยงของกิจกรรมที่อาจจะทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของสารคัดหลั่ง เช่น ใส่ท่อช่วยหายใจ ดูดเสมหะ พ่นยา เก็บสิ่งส่งตรวจจากทางเดินหายใจฯลฯ)
  • Mask ที่ใช้แล้ว ให้ทิ้งเป็นขยะติดเชื้อ, ไม่แนะนำการใช้ซ้ำ
  • ผู้ป่วยสวม surgical mask เสมอโดยเฉพาะเมื่อมีอาการไอ, จาม หรือ อยู่ในห้องเดียวกับผู้อื่น หรืออยู่ในที่สาธารณะ
  • ญาติ ผู้ดูแลผู้ป่วยควรสวม surgical mask หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 3 ฟุต หรืออยู่ในห้องเดียวกับผู้ป่วย และแนะนำให้ญาติหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วยในระยะ 3 ฟุต โดยไม่จำเป็น

ถุงมือ (Gloves)
ในระยะ Pandemic ถุงมืออาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยตามปกติ แต่ให้ปฏิบัติ hand hygiene ก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วยยกเว้นกรณีที่บุคลากรมีบาดแผลบนมือต้องสวมถุงมือเสมอเมื่อต้องดูแลหรือสัมผัสผู้ป่วย

  • สวมถุงมือเสมอ หากต้องสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง mucous membrane หรือ ผิวหนังที่มีแผลของผู้ป่วย
  • ถอดถุงมือเมื่อหมดความจำเป็น เปลี่ยนถุงมือและล้างมือเมื่อจะไปดูแลผู้ป่วยอีกคนหนึ่ง
  • ถุงมือไม่ควรใช้ซ้ำหรือล้าง เมื่อใช้แล้วให้ทิ้งเป็นขยะติดเชื้อ
  • ล้างมือเสมอหลังถอดถุงมือ

กาวน์ผ้าแขนยาว

  • ในระยะ Pandemic บุคลากรอาจไม่ต้องใช้กาวน์ในการดูแลผู้ป่วยทั่วไป
  • สวมกาวน์ผ้าแขนยาว หากกิจกรรมที่ดูแลผู้ป่วยอาจมีการกระเด็นของเลือด หรือสาร คัดหลั่ง
  • บุคลากรที่มีบาดแผลบนผิวหนังนอกร่มผ้าต้องปิดแผล (dry dressing) ตลอดเวลา
  • หาก intact skin ของบุคลากร ถูกเลือด , body fluid , สารคัดหลั่งกระเด็นใส่ ต้องล้างทันที ด้วยน้ำ และ Chlorhexidine หรือ สบู่
  • ถอดกาวน์ก่อนออกจากห้องผู้ป่วย
  • ไม่แนะนำการใช้ซ้ำ

แว่นป้องกันตา (goggles) หรือ Face Shield
บุคลากรควรสวม goggles หรือ face shield หากทำกิจกรรมที่อาจมีการกระเด็นของเลือด body fluid, สารคัดหลั่งจากผู้ป่วย,aerosol producing procedures

หมวก
พิจารณาตามความจำเป็นของกิจกรรมที่ทำกับผู้ป่วย

ขั้นตอนการใส่และถอดเครื่องป้องกันร่างกาย

ขั้นตอนการใส่ PPE
- Mask ( ต้องทำ fit check เสมอ )
- แว่นป้องกันตา ( goggles )
- หมวก
- เสื้อกาวน์แขนยาว
- ถุงมือ

ขั้นตอนการถอด PPE
- ถุงมือ
- หมวก
- แว่นป้องกันตา ( goggles )
- เสื้อกาวน์แขนยาว
- Mask

ทั้งนี้ควรทำความสะอาดมือในแต่ละขั้นตอนของการถอด PPE สำหรับการถอด Mask หากมี Anteroom ให้ถอดใน Anteroom แต่ถ้าไม่มี ให้ออกมาถอด หน้าห้องผู้ป่วย

เจ้าหน้าที่จุดคัดกรอง/เจ้าหน้าที่เวชระเบียบ/เจ้าหน้าที่ห้องตรวจต่าง ๆ ที่มีหน้าที่คัดกรอง

คัดกรองผู้ที่มีไข้และอาการระบบทางเดินหายใจและมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีก และหรือผู้ป่วยปอดบวมให้ส่งผู้ป่วยไปที่ห้องตรวจคัดกรอง ผู้ที่นำผู้ป่วยไปที่ห้อง ต้องสวม mask N95 และให้ผู้ป่วยสวม surgical mask โดยใช้เส้นทางที่กำหนดไว้แล้วเท่านั้น ต้องแจ้งพยาบาล /ICN ประจำห้องตรวจคัดกรองก่อนนำผู้ป่วยไป

พยาบาล / พยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อประจำห้องตรวจคัดกรอง

  1. สวมเครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ N95 mask, disposable gloves, เสื่อกาวน์ผ้าแขนยาวรัดข้อมือ
  2. ซักประวัติของผู้ป่วย
    •ประวัติ การสัมผัสสัตว์ปีก ป่วยตาย ในรอบ 7 วัน
    •ประวัติการอาศัยในบ้าน หรือหมู่บ้านที่มีสัตว์ปีกตายในรอบ 14 วัน
    •ประวัติการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นปอดบวมและสงสัยไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่ ในรอบ 10 วัน
    •ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  3. วัดอุณหภูมิร่างกาย
  4. หากพบว่ามีอุณหภูมิ มากกว่า หรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส และมีอาการของระบบทางเดินหายใจ หรือมีประวัติข้อใดข้อหนึ่งในข้อ 2 ให้สงสัยว่าอาจจะเป็นไข้หวัดนก ให้แจ้งแพทย์ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ตามตารางเวร กรณีมีเกณฑ์ไม่ครบ ให้ส่งผู้ป่วยไปห้องตรวจรักษาโรคตามแนวทางปฏิบัติปกติ
  5. ประสานงานด้านการสืบค้น เช่น เอกซเรย์ ห้องปฏิบัติการ ฯลฯ ตามแผนการรักษาของแทพย์
  6. เมื่อสิ้นสุดการตรวจดูแลผู้ป่วยถอดอุปกรณ์เครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ disposable gloves, เสื้อกาวน์ผ้าแขนยาวรัดข้อมือ, mask ตามลำดับ อุปกรณ์ disposable ทิ้งในถุงมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์ใช้แล้ว ส่งทำลายเชื้อ
  7. เน้นการปฏิบัติ hand hygiene
  8. กรณีที่แพทย์สั่ง admit ผู้ป่วยให้แจ้งพยาบาลหัวหน้าเวรประจำหอผู้ป่วย เพื่อรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลและแจ้งพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ ด้านเวชกรรมป้องกัน เพื่อรายงานต่อกระทรวงสาธารณสุข ตามขั้นตอนการรายงาน พร้อมทั้งแจ้งผู้บริหารโรงพยาบาล

แพทย์ประจำห้องตรวจคัดกรอง

  1. สวมเครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ N 95 mask, disposable gloves, เสื้อกาวน์แขนยาวรัดข้อมือ, goggle หรือ face shield (ตามความเหมาะสม)
  2. ซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วยที่สำคัญ ได้แก่ การสัมผัสโรคอาการและอาการแสดงของ Influenza like illness, respiratory manifestation
  3. ทำการสืบค้นตามที่เห็นเหมาะสม ได้แก่ chest X-ray ตรวจเลือดและ nasopharyngeal aspiration /swab
  4. สั่ง admit ผู้ป่วยโดยประสานงานกับพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อเพื่อรับไว้รักษาที่หอผู้ป่วย
  5. ตรวจรักษาผู้ป่วยที่ admit แล้ว รวมทั้งดูแลการป้องกันโรค การให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติ การจำหน่ายผู้ป่วย และการนัดติดตามหลังออกจากโรงพยาบาล
  6. เมื่อสิ้นสุดการตรวจดูแลผู้ป่วย ถอดอุปกรณ์เครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ disposable gloves, face shield หรือ goggle, เสื้อกาวน์, mask ตามลำดับ อุปกรณ์ disposable ทิ้งในถุงมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์ reused ส่งทำลายเชื้อ
  7. เน้นการปฏิบัติ hand hygiene

พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยใน

  1. ต้องดูแลสถานที่ทุกอย่างให้พร้อมใช้และเป็นไปแนวทางปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น
  2. กำหนดให้บุคลากรที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยให้มีจำนวนเท่าที่จำเป็น
  3. ตามแพทย์ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยทำการตรวจรักษา
  4. เคร่งครัดต่อแนวทางปฏิบัติ standard, droplet, contact และ airborne precautions โดยสวมเครื่องป้องกันร่างกายทุกครั้งที่ต้องให้การดูแลผู้ป่วย ได้แก่ N95 mask, disposable gloves, gown, ผ้ากันเปื้อนพลาสติก, แว่นป้องกันตา, หมวกคลุมศีรษะ (ตามความจำเป็นและเหมาะสม)
  5. ถอดอุปกรณ์เครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ disposable gloves, หมวกคลุมศีรษะ, แว่นป้องกันตา , ผ้ากันเปื้อนพลาสติก, gown และ mask ตามลำดับ
  6. ล้างมือด้วย alcohol gel แต่หากสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยต้องล้างด้วยน้ำยาทำลายเชื้อ chlorhexidine
  7. อุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกชนิดที่ใช้กับผู้ป่วย เครื่องป้องกันร่างกายต่างๆ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ต้องทิ้งในถุงขยะติดเชื้อ
  8. ต้องจัดให้มีสมุดบันทึกการเข้าเยี่ยม โดยพยาบาลต้องให้ผู้ที่เข้าเยี่ยมผู้ป่วย ทั้งที่เป็นบุคลากรและญาติของผู้ป่วย ลงสมุดการเข้าเยี่ยม ซึ่งมีรายละเอียด คือ ชื่อ สกุล หน่วยงาน

  แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยใน

  1. ก่อนเข้าห้องผู้ป่วยเพื่อทำการตรวจร่างกายผู้ป่วยต้องสวมเครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ N 95 mask, disposable gloves, gown, หมวกคลุมศีรษะ, แว่นป้องกันตาและ mask (ตามความจำเป็นและเหมาะสม)
  2. ให้การรักษาตามอาการและเหมาะสม
  3. ถอดอุปกรณ์เครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ disposable gloves, หมวกคลุมศีรษะ, แว่นป้องกันตา gown, และ mask ตามลำดับ
  4. ล้างมือด้วย alcohol gel แต่หากสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยต้องล้างด้วยน้ำยาทำลายเชื้อ chlorhexidine
  5. เมื่อพบว่าผู้ป่วยได้รับการยืนยันทางห้องปฏิบัติการว่าเป็นไข้หวัด ให้พยาบาลประจำหอผู้ป่วยประสานงานทำหน้าที่ด้านป้องกันเพื่อประสานงานส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
  6. อุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกชนิดที่ใช้กับผู้ป่วย เครื่องป้องกันร่างกายต่างๆ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ต้องทิ้งในถุงมูลฝอยติดเชื้อ

ข้อปฏิบัติสำหรับการ X-ray และ เจ้าหน้าที่ X-ray

  1. ควรใช้ portable X-ray ทั้งที่ห้องตรวจและหอผู้ป่วยใน
  2. กรณีที่ไม่มี portable X-ray ให้นำผู้ป่วยมาที่ห้อง X-ray โดยดำเนินการดังนี้
    - แจ้งเจ้าหน้าที่ห้อง X-ray ก่อนเพื่อจัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์, PPE
    - เจ้าหน้าที่นำส่งผู้ป่วยปฏิบัติตามข้อปฏิบัติของพนักงานเปลโดยใช้เส้นทางที่กำหนดไว้แล้ว
  3. เจ้าหน้าที่ X-ray ที่เกี่ยวข้องในการถ่ายภาพรังสีให้ผู้ป่วย ควรมีจำนวนเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
  4. ขณะทำการถ่ายภาพรังสีผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ต้องสวมเครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ N95 mask, disposable gloves, เสื้อกาวน์ผ้าแขนยาวรัดข้อมือ
  5. แผ่นฟิล์มต้องห่อหุ้มพลาสติก เช่น ถุงมูลฝอยติดเชื้อ ก่อนวางแผ่นฟิล์มสัมผัสผู้ป่วย และเมื่อสิ้นสุดการถ่ายภาพรังสีถอดถุงมูลฝอยติดเชื้อทิ้งในภาชนะรองรับมูลฝอยติดเชื้อ
  6. เมื่อสิ้นสุดการตรวจดูแลผู้ป่วย ถอดอุปกรณ์เครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ disposable gloves, เสื้อกาวน์ผ้าแขนยาวรัดข้อมือ, N95 mask ตามลำดับ อุปกรณ์ disposable ทิ้งในถุงมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์ใช้แล้วส่งทำลายเชื้อ
  7. เน้นการปฏิบัติ hand hygiene
  8. อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้แล้วทุกชนิด ถือเป็นมูลฝอยติดเชื้อทั้งหมด ให้ทิ้งในถุงมูลฝอยติดเชื้อและให้พนักงานเก็บรวบรวมถุงมูลฝอยติดเชื้อ โดยมัดปากถึงให้แน่น ทุกครั้งที่สิ้นสุดการใช้ห้องหรือเมื่อมีปริมาณมูลฝอยประมาณ ¾ ของถุงมูลฝอยติดเชื้อ (ปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อ)

ข้อปฏิบัติสำหรับพนักงานเปล

  1. สวมเครื่องป้องกันร่างกายตามข้อกำหนดใน standard precautions ได้แก่ N 95 mask, disposable gloves , กาวน์แขนยาวตามความเหมาะสมขณะเข็นเปลเพื่อส่งผู้ป่วยตรวจ/admit ที่หอผู้ป่วย
  2. แต่หากสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยต้องล้างด้วยน้ำยาทำลายเชื้อ chlorhexidine
  3. ผ้าทุกชนิดที่ใช้กับผู้ป่วย ให้ทิ้งในถุงมูลฝอยติดเชื้อมัดปากถุงให้แน่น แล้วใส่ในถุงผ้านำส่งงานบริการผ้า (ปฏิบัติตามแนวทางการจัดการผ้าเปื้อน)
  4. หากมีสารคัดหลั่งของผู้ป่วยปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม เช่น เปล รถเข็น ให้พนักงานทำความสะอาดสวมเครื่องป้องกัน ได้แก่ N 95 mask, disposable gloves, กาวน์แขนยาวและผ้ากันเปื้อนพลาสติก เช็ดบริเวณที่เปื้อนด้วยกระดาษชำระออกให้มากที่สุด ทิ้งกระดาษชำระนั้นในถุงมูลฝอยติดเชื้อ แล้วราดบริเวณที่เปื้อนด้วยน้ำยา 0.5%hypochlorite นาน 30 นาที แล้วเช็ดถูตามปกติ (ปฏิบัติตามแนวทางการจัดการสารคัดหลั่งปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม)

ข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากรงานบริการผ้า

  1. ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางการจัดการผ้าเปื้อน ในเรื่อง ผ้าเปื้อนเชื้อโรค อย่างเคร่งครัด
  2. ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสถุงผ้าเปื้อน
  3. ขณะปฏิบัติงานสวมเครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ N 95mask, disposable gloves , ผ้ากันเปื้อนพลาสติก
  4. หลังถอดถุงมือให้ล้างมือด้วย alcohol gel แต่หากสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยต้องล้างด้วยน้ำยาทำลายเชื้อ chlorhexidine

ข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากรฝ่ายโภชนาการ

  1. สวมเครื่องป้องกัน ขณะปรุงหรือมีกิจกรรมเกี่ยวกับอาหารที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ปีก ได้แก่ surgical mask, disposable gloves, ผ้ากันเปื้อนพลาสติก, หมวกคลุมศีรษะ
  2. ถอดอุปกรณ์เครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ disposable gloves, หมวกคลุมศีรษะ,ผ้ากันเปื้อนพลาสติก, mask ตาม ลำดับ
  3. ล้างมือทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจหลังการสัมผัสสัตว์ปีกที่ใช้ประกอบอาหาร และถุงภาชนะใส่อาหารของผู้ป่วยจากหอผู้ป่วย
  4. ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการดูแลภาชนะของผู้ป่วย อย่างเคร่งครัด

ข้อปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ที่จัดการเกี่ยวกับศพ

  1. พยาบาลที่ทำหน้าที่จัดการตกแต่งศพต้องสวมเครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ N 95 mask, disposable gloves, เสื้อคลุม, ผ้ากันเปื้อนพลาสติก, แว่นป้องกันตา, หมวกคลุมศีรษะ (ตามความจำเป็นและเหมาะสม) และ ตกแต่งศพตามปกติ
  2. ห่อหุ้มศพด้วยผ้าพลาสติก 2 ชั้น และปิดผนึกด้วยแถบกาว
  3. ตามพนักงานเคลื่อนย้ายศพมาที่หอผู้ป่วย
  4. พนักงานเคลื่อนย้ายศพต้องสวมเครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ surgical mask, disposable gloves, ผ้ากันเปื้อนพลาสติก ขณะทำการขนย้ายศพ
  5. เก็บศพในตู้เย็นแช่ศพ ใส่ศพในโลงที่ผนึกอย่างแน่นหนาก่อนเคลื่อนย้ายศพก่อนออกจากโรงพยาบาล
  6. ดำเนินการเผาหรือฝังศพโดยเร็ว
  7. หากมีการ autopsy จะต้องกระทำในห้อง negative air pressure และผู้กระทำต้องสวมเครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ mask N 95, disposable gloves, ผ้ากันเปื้อนพลาสติก, แว่นป้องกันตา, หมวกคลุมศีรษะ
  8. เมื่อชันสูตรศพเสร็จ ถอดอุปกรณ์เครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ disposable gloves, หมวกคลุมศีรษะ, แว่นป้องกันตา, ผ้ากันเปื้อนพลาสติก, gown, และ mask ตามลำดับ
  9. อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้กับศพ และเครื่องป้องกันร่างกายต่างๆ ให้ถือเป็นมูลฝอยติดเชื้อทั้งหมด เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ต้องทิ้งในถุงมูลฝอยติดเชื้อมัดปากถุงให้แน่น (ปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อ) และทิ้งในภาชนะรองรับภายในห้อง
  10. ผ้าทุกชนิดที่ใช้กับศพ ให้ทิ้งในถุงมูลฝอยติดเชื้อมัดปากถุงให้แน่น แล้วใส่ในถุงผ้าที่มีเครื่องหมายกาชาด ส่งงานบริการผ้า (ปฏิบัติตามแนวทางการจัดการผ้าเปื้อน)
  11. หากมีสารคัดหลั่งของผู้ป่วยปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม เช่น พื้น เตียงตรวจ ให้พนักงานทำความสะอาดสวมเครื่องป้องกัน ได้แก่ N 95 mask, rubber gloves ผ้ากันเปื้อนพลาสติก รองเท้าบู๊ต แล้วจึงเช็ดบริเวณที่เปื้อนด้วยกระดาษชำระออกให้มากที่สุด ทิ้งกระดาษชำระนั้นในถุงมูลฝอยติดเชื้อ แล้วราดบริเวณที่เปื้อนด้วยน้ำยา 0.5% hypochlorite นาน 30 นาที แล้วเช็ดถูตามปกติ (ปฏิบัติตามแนวทางการจัดการสารคัดหลั่งปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม)

กรณีต้องการ autopsy

  • ต้องระวังมากถ้าผู้ป่วยเสียชีวิตในระยะติดต่อ เพราะในปอดอาจมีไวรัสอยู่
  • ควรทำในห้อง negative pressure
  • บุคลากรผู้เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็น สวมใส่ Full PPE ได้แก่ high efficiency mask, gloves, gown (กันน้ำ), goggles, หมวกคลุมผม
  • ใช้อุปกรณ์เท่าที่จำเป็น ถ้าเป็นไปได้ ควรใช้อุปกรณ์ disposable
  • หลีกเลี่ยงการใช้ มีด, กรรไกร ที่มีปลายแหลม
  • การส่งเครื่องมือให้ใช้ถาดรองช่วย อย่าส่งตรงด้วยมือ
  • เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการทำให้เกิด aerosols โดยเฉพาะช่วงผ่าปอด
  • หลีกเลี่ยงการใช้เลื่อยไฟฟ้า
  • ทำหัตถการใต้น้ำ ถ้าคิดว่ามีโอกาสเกิดฝอยละออง
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้มีการกระเด็นของสารคัดหลั่งโดยเฉพาะตอนตรวจเนื้อปอด
  • ปฏิบัติต่ออุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้กับศพ,เครื่องป้องกันร่างกาย , ผ้า , การเปรอะเปื้อนสิ่งแวดล้อมตามหลักการที่ใช้กับผู้ป่วย Infection Control ในกรณีการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล หรือจากโรงพยาบาลสนาม
  • ผู้ป่วยใส่ surgical mask และ gown
  • บุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องในการส่ง ใส่ PPE ซึ่งประกอบด้วย non sterile gloves, mask, long-sleeved cuffed gown (ควรมีเอี๊ยมพลาสติกคลุมทับหรือใช้ Apron แทน กาวน์ผ้าถ้าคาดว่าจะมีการกระเซ็นของเลือด, สารคัดหลั่ง), protective eyewear
  • รถ ambulance ทำความสะอาดด้านในด้วย disinfectant เช่น 70% แอลกอฮอล์ แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง หากเปรอะเปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่ง ให้เช็ดออกให้มากที่สุดด้วยกระดาษทิชชู แล้วราดบริเวณนั้นด้วย 0.5% Sodium hypochlorite ทั้งไว้ 30 นาที แล้วเช็ดถูทำความสะอาดตามปกติ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย