สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้
ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก
มิสเตอร์ไข้หวัดนก
การแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ฯ
ระบาดวิทยาของไข้หวัดนกทั่วโลก
ระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย
แนวทางการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก
และโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ
การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน
ระบบการตรวจวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติการ
ลักษณะทางคลินิกและการวินิจฉัยโรคไข้หวัดนก
แนวทางการรักษาพยาบาลสำหรับโรคไข้หวัดนกและการติดตามผู้ป่วย
ข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไข้หวัดนก
บทบาท อสม. และกระบวนวิธีการขับเคลื่อนแผนที่ยุทธศาสตร์ฯ
โครงสร้างการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของกระทรวงฯ
แนวทางการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ในการป้องกันฯ ระดับจังหวัด
ถาม-ตอบ เรื่องไข้หวัดนก
บทบาท อสม. และกระบวนวิธีการขับเคลื่อนแผนที่ยุทธศาสตร์ การควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ โดยเครือข่ายสุขภาพประชาชน
กองสนับสนุนสุขภาพประชาชน
การควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในชุมชน
เป็นส่วนหนึ่งของงานเมืองไทยแข็งแรง
ซึ่งการควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกให้บรรลุเป้าหมายผลสำเร็จมีผลงานสูงได้นั้น
จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
ภาคีเครือข่ายหลายฝ่ายที่แข็งแกร่ง การบริหารจัดการที่ดี และรากฐานที่แข็งแรง
อย่างมีจุดหมายปลายทางร่วมกัน
โดยมีแผนที่ยุทธศาสตร์การควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก
ที่ได้พัฒนาโดยใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ งานเมืองไทยแข็งแรงเป็นตัวตั้ง
มาเป็นเครื่องนำทาง ในการเชื่อมโยงเป้าประสงค์กับวิธีการปฏิบัติ
ความตื่นตัว ในการลุกขึ้นมาเคลื่อนไหว
ในการเตรียมความพร้อมของพื้นที่ก่อนการระบาดของโรค
อันเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ระยะยาว ประเด็นสำคัญ
เครือข่ายภาคประชาชนสามารถสร้างแผนที่ยุทธศาสตร์
สำหรับการควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในภาพรวมของประเทศ ขึ้นมาได้
ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ที่ภาคประชาชนมีการแสดงบทบาทในการควบคุมป้องกันโรคมากขนาดนี้
แผนที่ยุทธศาสตร์การควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก
ที่เครือข่ายภาคประชาชนได้ร่วมกันจัดทำขึ้นมา มีเป้าหมายสูงสุด คือ
ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการควบคุมและเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้หวัดนก
โดยกระบวนการสร้างระบบเฝ้าระวังและข้อบังคับของชุมชน
ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในชุมชน
ทั้งนี้เนื่องด้วยชุมชนสามารถตรวจคราได้ทุกบ้าน สำรวจชุมชน
บนพื้นฐานของข้อมูลระดับชุมชน
ติดตามผลการควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกของชุมชนได้ตลอดเวลาและต่อเนื่อง
อันเป็นปัจจัยเอื้อที่สำคัญต่อการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกในพื้นที่
เพื่อให้เกิดการนำไปสู่การปฏิบัติจริง
ในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา
เครือข่ายภาคประชาชน โดยเฉพาะกลุ่ม อสม. (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพประชาชน / งานชมรมสร้างสุขภาพ / งานควบคุมโรค)
จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทและกระบวนวิธีการขับเคลื่อน
แผนที่ยุทธศาสตร์การควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ดังนี้
สร้างความเข้าใจของภาคีเครือข่ายทุกกลุ่มเป้าหมาย
เครือข่าย อสม. สร้างความเข้าใจของภาคีเครือข่ายทุกกลุ่มเป้าหมาย
ในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก
ด้วยการใช้แผนที่ยุทธศาสตร์การควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก เป็นเครื่องมือ โดย
- จัดเวทีปฏิสัมพันธ์ / เวทีประชาคม เพื่อสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วม ในการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์การควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกของพื้นที่ (จังหวัด / อำเภอ / ตำบล / หมู่บ้าน / ชุมชน) โดยมีการเชิญชวนให้มีความครอบคลุมทุกในกลุ่มเป้าหมาย
- ถ่ายทอดความรู้ และทำการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนใน พื้นที่ ทางหอกระจายข่าว เสียงตามสาย วิทยุชุมชน การประชุม การบอกกล่าวตามบ้าน สภากาแฟของหมู่บ้าน กิจกรรมของชุมชน ฯลฯ
- นำเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับในพื้นที่ได้รับทราบข้อมูล ของการสร้าง เครือข่าย เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และภาครัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อสม. ครู สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น ฯลฯ
- จัดกิจกรรมปฏิสัมพันธ์และการเรียนรู้ของชุมชนในการควบคุมและเฝ้าระวัง โรคไข้หวัดนก แก่บุคลากร และแกนนำของชุมชน รวมทั้ง อสม.
- จัดให้มีการฝึกอบรม/เวทีปฏิสัมพันธ์ ในกลุ่มเยาวชนเรื่อง การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก เพื่อให้เด็กและเยาวชนเป็นแกนนำในการสื่อสารของชุมชน ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของชุมชน และเป็นแกนนำในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกในระดับครัวเรือน โดยเชื่อมต่อกับกลุ่มแกนนำของชุมชน และ อสม.
- จัดกิจกรรม / กระบวนการ / จัดวางเครือข่ายสื่อสาร โดยแลกเปลี่ยนข้อมูล กับเจ้าหน้าที่กับแกนนำชุมชนรวมทั้ง อบต.
สร้างการมีส่วนร่วม
เครือข่าย อสม.
ดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการนำไปสู่การปฏิบัติจริง
ในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกของหมู่บ้าน/ชุมชน โดย
- จัดทำแผนงาน/โครงการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกของชุมชน โดย ชุมชน เพื่อชุมชน
- สร้างเครือข่ายและกลไกชาวบ้านในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก ของแต่ละหมู่บ้าน ในการตรวจตราทุกบ้าน สำรวจชุมชน ติดตามและรายงานผล ตลอดจนจัดทำฐานข้อมูล/ปรับปรุงข้อมูลชุมชน เพื่อการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
- สร้างเครือข่ายและกลไกในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก ระหว่าง หมู่บ้าน/ชุมชนกับหมู่บ้าน และระหว่างตำบลกับตำบล อำเภอกับอำเภอ และจังหวัดกับจังหวัด
- สร้างแกนนำในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกระดับครัวเรือน
- ดำเนินการสื่อสารความรู้ที่ถูกต้อง พฤติกรรมสุขภาพ และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ ควรทำ หรือ ไม่ควรทำ ในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ผ่านสื่อชุมชนทุกรูปแบบ
- รายงานความผิดปกติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของไข้หวัดนก ให้ผู้ที่ เกี่ยวข้อง หรือ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชนให้ทราบภายใน 3 ชั่วโมง ภายหลังจากที่ได้รับทราบความผิดปกติที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยผ่านการสื่อสารในทุกรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด รวดเร็ว ทันเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย
- จัดกระบวนการหรือกิจกรรมให้ชุมชนได้ใช้ความรู้ทางวิชาการ สังเคราะห์ และ เรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก ที่ควรทำและไม่ควรทำของชุมชน โดยการประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม ความต้องการและบริบทของแต่ละชุมชน
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนทรัพยากร และผลักดันการ ดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคสู่การปฏิบัติจริง โดยที่ประชาชนมีส่วนร่วมแบบคิดเอง ทำเอง และตัดสินใจเอง