สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้
ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก
มิสเตอร์ไข้หวัดนก
การแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ฯ
ระบาดวิทยาของไข้หวัดนกทั่วโลก
ระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย
แนวทางการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก
และโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ
การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน
ระบบการตรวจวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติการ
ลักษณะทางคลินิกและการวินิจฉัยโรคไข้หวัดนก
แนวทางการรักษาพยาบาลสำหรับโรคไข้หวัดนกและการติดตามผู้ป่วย
ข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไข้หวัดนก
บทบาท อสม. และกระบวนวิธีการขับเคลื่อนแผนที่ยุทธศาสตร์ฯ
โครงสร้างการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของกระทรวงฯ
แนวทางการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ในการป้องกันฯ ระดับจังหวัด
ถาม-ตอบ เรื่องไข้หวัดนก
มิสเตอร์ไข้หวัดนก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้โรคไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เป็นนโยบายสำคัญ
และให้มีการแต่งตั้ง มิสเตอร์ไข้หวัดนก (ด้านการแพทย์และสาธารณสุข)
ประจำจังหวัดขึ้น
มิสเตอร์ไข้หวัดนก (ด้านการแพทย์และสาธารณสุข) คือใคร
ในการนี้
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ขอความร่วมมือให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแต่งตั้งผู้รับผิดชอบหลัก
เรื่องไข้หวัดนก ในด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ที่เรียกว่ามิสเตอร์ไข้หวัดนกประจำจังหวัด อาจได้แก่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน หรือผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมพัฒนา หรือ
ผู้อื่นที่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมอบหมาย มีอำนาจพิจารณา ตัดสินใจ สั่งการ
หน่วยงานสาธารณสุขในระดับจังหวัด เพื่อการป้องกัน ควบคุม แก้ไขปัญหาไข้หวัดนก
รวมทั้งการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (Influenza Pandemic)
โดยประสานความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน
บทบาท/ภารกิจของมิสเตอร์ไข้หวัดนก (ด้านการแพทย์และสาธารณสุข)
บทบาทของมิสเตอร์ไข้หวัดนกคือการบริหารจัดการ เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการ
ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก (รวมทั้งไข้หวัดใหญ่) ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยภารกิจหลักมีดังต่อไปนี้
- จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมไข้หวัดนก (อาจใช้ศูนย์ปฏิบัติการ ของจังหวัดที่มีอยู่ ตามความเหมาะสม) พัฒนาระบบการทำงานของศูนย์ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
- ติดตามสถานการณ์ของโรคทั้งในคนและในสัตว์อย่างใกล้ชิดทุกวัน รวมทั้งสถานการณ์ของปัญหาที่เกี่ยวข้อง และความก้าวหน้าของการปฏิบัติงาน
- ประสานงาน ส่งเสริมการทำงานเป็นเครือข่ายพหุภาคี ระหว่างด้านสาธารณสุข ด้านปศุสัตว์ และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องในภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในชุมชน ทั้งในสัตว์และในคน อย่างทันท่วงที
- จัดหาทรัพยากรที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการป้องกันควบคุมไข้หวัดนก (รวมทั้งไข้หวัดใหญ่) เช่น เวชภัณฑ์ ชุดตรวจ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ รวมทั้งงบประมาณ ให้เพียงพอ โดยรับการสนับสนุนจากส่วนกลาง หรือโดยระดมทรัพยากรในจังหวัดและท้องถิ่นตามความจำเป็น และวางระบบการจัดส่งและกำกับการสนับสนุนให้ชัดเจน
- สนับสนุน ติดตาม ควบคุมกำกับความก้าวหน้าของหน่วยปฏิบัติการ แก้ไขปัญหาและผลักดันการดำเนินแผนงาน โครงการแผนปฏิบัติการระดับจังหวัด ซึ่งสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาไข้หวัดนกและการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และเงื่อนไขเวลา
- สรุปสถานการณ์ ความคืบหน้าของการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง รายงานต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กระทรวงสาธารณสุข และผู้ว่าราชการจังหวัด
กิจกรรมหลักที่สำคัญในแผนปฏิบัติการระดับจังหวัด
1.ด้านการเฝ้าระวังโรค
เสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก
ไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบ
วิเคราะห์สถานการณ์โรคและมีการเตือนภัยเหตุการณ์ผิดปกติทั้งในคนและในสัตว์อย่างต่อเนื่อง
จัดเตรียมทีม SRRT ในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ
ที่มีศักยภาพสามารถสอบสวนและควบคุมโรคได้
จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคในคนและในสัตว์
2.ด้านการเตรียมเวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็น
สำรวจปริมาณขั้นต่ำของเวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็น จัดทำระบบเก็บสำรอง
ตลอดจนการกระจายเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ
ประสานให้มีการจัดเตรียมห้องแยกสำหรับรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลขนาด 90
เตียงขึ้นไป
3.ด้านการเตรียมความพร้อมควบคุมการระบาดฉุกเฉิน
จัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่
ประสานกับโรงพยาบาลในการจัดเตรียมทีมบุคลากรทางการแพทย์สำหรับดูแลผู้ป่วยและการควบคุมโรคในโรงพยาบาล
ซักซ้อมแผนปฏิบัติการก่อนเกิดเหตุการณ์จริงทั้งในส่วนของด้านการแพทย์
สาธารณสุขและชุมชน
4.ด้านการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนและชุมชน
จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และทำความเข้าใจกับสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องโรคไข้หวัดนก
การป้องกันและควบคุมโรค
5.ด้านการบริหารจัดการแบบบูรณาการ
มีระบบนิเทศติดตามประเมินผลการดำเนินงานของเครือข่ายด้านสาธารณสุขทุกระดับ