สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้
ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก
มิสเตอร์ไข้หวัดนก
การแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ฯ
ระบาดวิทยาของไข้หวัดนกทั่วโลก
ระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย
แนวทางการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก
และโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ
การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน
ระบบการตรวจวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติการ
ลักษณะทางคลินิกและการวินิจฉัยโรคไข้หวัดนก
แนวทางการรักษาพยาบาลสำหรับโรคไข้หวัดนกและการติดตามผู้ป่วย
ข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไข้หวัดนก
บทบาท อสม. และกระบวนวิธีการขับเคลื่อนแผนที่ยุทธศาสตร์ฯ
โครงสร้างการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของกระทรวงฯ
แนวทางการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ในการป้องกันฯ ระดับจังหวัด
ถาม-ตอบ เรื่องไข้หวัดนก
เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่
คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก
โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเกิดขึ้นเป็นประจำในทุกประเทศทั่วโลก
โดยจะเกิดระบาดใหญ่ทั่วโลกและสร้างความสูญเสียอย่างมหาศาลเป็นระยะ ๆ ทุกรอบ 10 30
ปี ในภาวการณ์ปัจจุบันหากเกิดการระบาดใหญ่ขึ้น
เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่มีโอกาสแพร่ระบาดไปทั่วโลกได้ในเวลาอันรวดเร็วตามการขยายตัวของการสื่อสารคมนาคม
ซึ่งจะทำให้ประชาชนทั่วโลกเจ็บป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
โดยที่ไม่สามารถทำนายได้อย่างแน่นอนว่าการระบาดใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อใด
องค์การอนามัยโลกจึงได้แจ้งเตือนประเทศสมาชิกให้เร่งเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่
เนื่องจากเชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดใหญ่แต่ละครั้ง
เชื่อว่าเป็นเชื้อที่กลายพันธุ์จากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ เช่นเชื้อไข้หวัดนก
ในขณะเดียวกันกับที่ประเทศไทยประสบปัญหาการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
(โรคซาร์ส) ในปี พ.ศ. 2546 ต่อมาในปี พ.ศ. 2547
ก็พบการระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธ์ H5N1 ในสัตว์ปีก ทั้งยังติดต่อมาสู่คน
ทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่
อาจกล่าวได้ว่าสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน จัดอยู่ในระยะก่อนการระบาดใหญ่
(Inter-pandemic) ซึ่งเป็นสภาวะที่มีความเสี่ยงต่อการพัฒนาไปสู่ระยะการระบาดใหญ่
(Pandemic)
แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมเพื่อรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่โดยมีวัตถุประสงค์
เป้าหมาย และยุทธศาสตร์การดำเนินงานดังนี้
วัตถุประสงค์ของการเตรียมพร้อมเพื่อรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่
- เพื่อป้องกันการเกิดการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่
- เพื่อลดการป่วยและตายด้วยไข้หวัดใหญ่
- เพื่อเตรียมพร้อมในการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่(เมื่อเกิดการระบาดใหญ่)ทั้งในและนอกสถานบริการ
- เพื่อเป็นแนวทางในการประสานการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในยามที่เกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่
- เพื่อให้ระบบบริการสาธารณะของประเทศดำเนินไปอย่างเป็นปกติและลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่
เป้าหมาย
- ประเทศไทยสามารถจัดการในภาวะฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่
- มีระบบการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่เข้มแข็ง ทั้งการเฝ้าระวังผู้ป่วยในชุมชน ในสถานที่ทำงาน สถานศึกษา และในสถานบริการสาธารณสุข ทุกแห่งและการเฝ้าระวังเชื้อทางห้องปฏิบัติการให้ครบ 12 แห่งทั่วประเทศ ภายใน 3 ปี
- มียาต้านไวรัส สำรองเตรียมพร้อมล่วงหน้าในสต็อก ไม่น้อยกว่า 325,000 คน (3,250,000 เม็ด) ภายใน 5 ปี
- สถานพยาบาลมีศักยภาพในการดูแล/รักษา/บริการผู้ป่วยไข้หวัดที่มีอาการหนักได้ไม่น้อยกว่า 100,000 เตียงแต่ในกรณีการระบาดเฉพาะที่ให้เตรียมเตียงโรงพยาบาลสนามไว้สำรอง 5,000 เตียง
ยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่
ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ฉบับนี้
ได้สมมติสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เป็นระยะต่างๆ ตามสถานการณ์พัฒนาการของการระบาด
และเงื่อนไขของประเทศไทย การเตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ประกอบด้วย 5
ยุทธศาสตร์ได้แก่
ยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังโรค
มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบสถานการณ์และประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่เพื่อจะได้กำหนดมาตรการหรือปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน
โดยมีมาตรการดังนี้
- เร่งรัดการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคทั้งในสัตว์และในคน (ตามยุทธศาสตร์ 1 และ2 ตามแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาไข้หวัดนก)
- เชื่อมโยงข้อมูลการเฝ้าระวังโรคในสัตว์และในคนอย่างเป็นระบบ
- เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่
(1)เครือข่ายแพทย์ผู้รายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ และปอดอักเสบให้ครอบคลุม ทั้งโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน
(2)เครือข่ายการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการให้เชื่อมโยงทั้งภายในและต่างประเทศให้ตรวจจับเชื้อสายพันธุ์ใหม่ได้
(3) ขยายเครือข่ายโรงพยาบาลในระบบการเฝ้าระวังเชื้อไข้หวัดใหญ่
(4)ส่งเสริมโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนในพื้นที่เสี่ยงให้ พร้อมในการวินิจฉัยรักษาผู้ป่วย และรายงานโรค ตรวจยืนยันการวินิจฉัยผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคปอดอักเสบเฉียบพลัน
(5) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังในชุมชนให้มีมาตรการเฝ้าระวังโรคเชิงรุก (ตามยุทธศาสตร์ที่ 1 และ 2 ของแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก)
ยุทธศาสตร์การเตรียมเวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็น
- จัดหา เวชภัณฑ์ วัสดุ ชุดตรวจ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อสำหรับบุคลกรไว้ใช้ในยามจำเป็น
- พัฒนาระบบเก็บสำรองและบริหารสต็อก ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งจัดระบบการกระจายเวชภัณฑ์ วัสดุ ชุดตรวจ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อให้เหมาะกับสถานการณ์และความต้องการใช้งาน
- สนับสนุนการวิจัยพัฒนา และผลิตวัคซีน ยาต้านไวรัส ให้สามารถพึ่งตนเองในระยะยาว
- กำหนดหลักเกณฑ์และจัดลำดับความสำคัญของประชากรกลุ่มเป้าหมาย สำหรับกระจาย เวชภัณฑ์ ทั้งยาต้านไวรัส และวัคซีน ซึ่งมีอยู่จำกัดให้เป็นธรรม โดยมีการทบทวนเป็นระยะ ๆ เมื่อสถานการณ์ด้านข้อจำกัดด้านปริมาณของเวชภัณฑ์ที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป
ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมควบคุมการระบาดฉุกเฉิน
- สนับสนุนการจัดทำแนวทางและมาตรฐานในการปฏิบัติ เมื่อเกิดการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ของทุกหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข หน่วยงานด้านการรักษาความสงบภายใน หน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศ รวมถึงหน่วยงานที่ให้บริการสาธารณะ
- พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขตลอดจนอาสาสมัครต่างๆ ให้มีความรู้ ทักษะและความพร้อมในการดูแลผู้ป่วย
- เสริมความพร้อม/ศักยภาพของสถานพยาบาลและเตรียมแผนจัดระบบดูแลผู้ป่วยกรณีเกิดการระบาดใหญ่
- ดำเนินมาตรการทางการเงินสำหรับสนับสนุนกิจกรรม/ความจำเป็นเร่งด่วน รวมทั้งมาตรการจูงใจให้สถานประกอบการปิดการดำเนินงานชั่วคราวหรือให้พนักงานหยุดงานชั่วคราวโดยได้รับค่าจ้างในกรณีเกิดการระบาดใหญ่และมีข้อบ่งชี้ว่าเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่
ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์สร้างความรู้และความเข้าใจแก่ประชาชน และชุมชน
- เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในการป้องกันและวิธีการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนทั่วไป
- ส่งเสริมกิจกรรมรณรงค์ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้รู้จักป้องกันการติดต่อของโรคทางเดินหายใจ
- พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารความเสี่ยง (risk communication) แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานควบคุมโรค
- จัดตั้งคณะทำงานร่วมหลายฝ่าย เพื่อการประชาสัมพันธ์และประสานงานการให้ข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นทางการต่อสาธารณชน
- จัดทำแผนการติดต่อสื่อสาร โดยมอบหมายเจ้าหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจนและฝึกซ้อมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้เกิดคล่องตัว พร้อมทำการประชาสัมพันธ์ในระยะก่อนการระบาด และระยะการระบาดใหญ่
- พัฒนาระบบสื่อสารสาธารณะทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น รวมทั้งสร้างเครือข่ายกับสื่อมวลชนเมื่อมีการระบาดเกิดขึ้น
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแบบบูรณาการ
- พัฒนากลไกการจัดการปัญหาโรคไข้หวัดใหญ่ให้สามารถเตือนภัยการระบาดและจัดการในภาวะวิกฤติ (ดูรายละเอียดในยุทธศาสตร์ที่ 3 และยุทธศาสตร์ที่ 5 ของแผนยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้หวัดนก)
- พัฒนากลไกการจัดการในภาวะที่มีการระบาด โดยจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาครัฐและเอกชน และศูนย์ปฏิบัติการแห่งชาติ โดยมีทีมงานที่เข้มแข็ง ทำงานเต็มเวลา
- พัฒนามาตรการระดมและกระจายทรัพยากรทั้งด้านการเงินและทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับสนับสนุนการดำเนินงานในภาวะวิกฤติ