สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้

ไข้หวัดนก

ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก
มิสเตอร์ไข้หวัดนก
การแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ฯ
ระบาดวิทยาของไข้หวัดนกทั่วโลก
ระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย
แนวทางการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก และโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ
การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน
ระบบการตรวจวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติการ
ลักษณะทางคลินิกและการวินิจฉัยโรคไข้หวัดนก
แนวทางการรักษาพยาบาลสำหรับโรคไข้หวัดนกและการติดตามผู้ป่วย
ข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไข้หวัดนก
บทบาท อสม. และกระบวนวิธีการขับเคลื่อนแผนที่ยุทธศาสตร์ฯ
โครงสร้างการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของกระทรวงฯ
แนวทางการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ในการป้องกันฯ ระดับจังหวัด
ถาม-ตอบ เรื่องไข้หวัดนก

ลักษณะทางคลินิกและการวินิจฉัยโรคไข้หวัดนก

 (Avian Influenza)

คณะทำงานด้านการแพทย์ไข้หวัดนกเป็นโรคที่เกิดขึ้นในสัตว์ปีก เกิดจากเชื้อ influenza A virus การระบาดในนกได้มีการบันทึกไว้ครั้งแรกเมื่อประมาณร้อยปีที่แล้วที่ประเทศอิตาลี สัตว์ปีกทุกชนิดมีโอกาสติดเชื้อไข้หวัดนก แต่โอกาสการเกิดโรคอาจแตกต่างกันบ้างในนกแต่ละชนิด อาการในนกอาจไม่รุนแรงจนถึงรุนแรงมากจนเสียชีวิตและติดต่อกันง่าย (highly contagious) ทำให้เกิดการระบาดรุนแรง

ในประเทศไทย เริ่มมีการระบาดมาสู่คนตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 เป็นผู้ป่วยเด็กจากสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ต่อมามีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสิ้นเดือนพฤศจิกายน มีรายงานผู้ป่วยทั้งสิ้น 17 ราย เสียชีวิต 12 ราย จาก ARDS และ multiple organ dysfunction syndrome (MODS) อายุเฉลี่ยของผู้ป่วย 10 ปี (2-58 ปี) ผู้ป่วยมีประวัติเชือดไก่ที่ป่วย ประวัติชำแหละไก่ที่ป่วย ประวัติสัมผัสไก่ที่มีอาการป่วย สัมผัสไก่ที่ตาย และอาศัยในบริเวณที่มีการป่วยของสัตว์ปีก

อาการและอาการแสดง

  • ระยะฟักตัว 2-8 วัน (เฉลี่ย 4 วัน)
  • อาการนำคล้ายไข้หวัดใหญ่โดยส่วนใหญ่มีไข้สูง (100%), ไอ (83.3%) , ปวดเมื่อย, ปวดศีรษะ, หนาวสั่น, น้ำมูกไหล

  อาการทางระบบทางเดินหายใจ

ผู้ป่วยอาจมีอาการปอดอักเสบตามมาซึ่งมักเกิดในวันที่ 3-5 ของการดำเนินโรค โดยผู้ป่วยยังมีอาการหายใจ หอบเหนื่อย ชายโครงบุ๋ม ในรายที่มีอาการรุนแรง โรคจะดำเนินสู่ภาวะ ARDS ซึ่งมักจะเกิดอย่างรวดเร็วหลังเริ่มอาการปอดอักเสบ 2-3 วัน โดยมีลักษณะภาพรังสีทรวงอก แบบ White-out lungs ผู้ป่วยอาจมีการหายใจล้มเหลวจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

อาการทางระบบอื่นๆ ที่พบได้ คือ คลื่นไส้ อาเจียน, อุจจาระร่วง, อ่อนเพลีย, เบื่ออาหาร, อาจมีตับโต ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง พบภาวะช็อคได้ (Septic shock) ซึ่งอาจพบได้ ตั้งแต่เมื่อเริ่มมีอาการ ARDS

ภาพรังสีทรวงอก
ภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยไข้หวัดนกที่มี ปอดอักเสบร่วมด้วย อาจเริ่มต้นด้วยลักษณะของ Interstitial infiltration, Patchy infiltration หรือ Lobar infiltration แล้วอาจลุกลามไปเป็นแบบ Diffuse alveolar infiltration ลักษณะของ White-out lungs ในผู้ป่วยที่มีภาวะ ARDS

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  • CBC ในระยะแรกพบ Leukopenia, Lymphopenia อาจพบ Thrombocytopenia และ/หรือPancytopenia ได้ในปลายสัปดาห์แรก
  • Liver enzyme พบมีระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย เมื่อเข้าสู่ระยะ ARDS
  • Rapid test สำหรับ Influenza A หรือ A และ B antigen detection จาก Nasopharyngeal swab หรือ Aspiration ใช้หลักการของ Immunochromatography หรือ Enzyme immuno assay (EIA) การทดสอบดังกล่าวได้ผลรวดเร็วภายใน 15-30 นาที หากมีผลบวก จะแสดงว่าป่วยจาก Influenza A หรือ Influenza A หรือ B ซึ่งหากรวมกับประวัติการสัมผัสสัตว์ปีกตายจะช่วยให้ สามารถให้การรักษา ด้วย Oseltamivir ได้ ในระยะแรกของโรค
  • การตรวจยืนยันการวินิจฉัย Influenza A /H5 ในผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัดใหญ่ในช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนก สามารถใช้ผลการตรวจที่เป็นบวกได้จากวิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้
    -Reverse transcriptase-Polymerase chain reaction (RT-PCR) สำหรับ influeuza A/H5 ให้ผลบวก โดยการตรวจจากเสมหะ, Nasopharyngeal swab หรือ Aspiration ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถรายงานผลได้ภายใน 48 ชั่วโมง
    -Immunofluorescence antibody (IFA) ต่อ H5 antigen โดยการใช้ H5 monoclonal antibody ให้ผลบวกจากการตรวจจากเสมหะ
    -Serology โดยมี 4-fold rise ของ H5 specific antibody titre ในการตรวจเลือด paired serum ห่างกัน 2 สัปดาห์ วิธีที่แนะนำคือ microneutralization test
    -Viral culture สำหรับ influenza A/H5 ให้ผลบวก โดยการตรวจจากเสมหะ วิธีนี้ใช้เวลาในการตรวจ 5-10 วัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย