สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้
ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก
มิสเตอร์ไข้หวัดนก
การแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ฯ
ระบาดวิทยาของไข้หวัดนกทั่วโลก
ระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย
แนวทางการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก
และโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ
การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน
ระบบการตรวจวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติการ
ลักษณะทางคลินิกและการวินิจฉัยโรคไข้หวัดนก
แนวทางการรักษาพยาบาลสำหรับโรคไข้หวัดนกและการติดตามผู้ป่วย
ข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไข้หวัดนก
บทบาท อสม. และกระบวนวิธีการขับเคลื่อนแผนที่ยุทธศาสตร์ฯ
โครงสร้างการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของกระทรวงฯ
แนวทางการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ในการป้องกันฯ ระดับจังหวัด
ถาม-ตอบ เรื่องไข้หวัดนก
โครงสร้างการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2547
คณะทำงานเลขานุการกิจ
กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมสูงสุด (Maximum preparedness) เพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศด้วยการแสวงหาความร่วมมือระหว่างองค์กร ความร่วมมือพหุภาคี และความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของประเทศในการตอบสนองต่อโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติภัยต่าง ๆ ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันและแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการอย่างเข้มแข็งและเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการควบคุมโรคในคน โดยมีการประสานข้อมูลและร่วมมือกับองค์กรเครือข่าย ได้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัย กระทรวงกลาโหม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น โดยมียุทธศาสตร์หลัก คือ
- เฝ้าระวังและสอบสวนโรคถี่ถ้วนว่องไว
- ดูแลผู้ป่วยและควบคุมการติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
- ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์เชิงรุก
ยุทธศาสตร์เสริม คือ
- ตรวจห้องชันสูตรทางห้องปฏิบัติการอย่างแม่นยำ
- จัดหาและสนับสนุนเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้ออย่างเพียงพอ
- สื่อสารข้อมูลอย่างรวดเร็ว
- ประสานรอบด้าน มีเครือข่ายและสั่งการชัดเจน
กระทรวงสาธารณสุขมีโครงสร้างในรูปคณะกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันและ ควบคุมโรคไข้หวัดนก ดังนี้
- คณะที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Strategic Advisory Committee ) : ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์การบริหารเชิงวิชาการทั้งปัญหาเฉพาะหน้า และในระยะยาว
- คณะทำงานวิชาการร่วมเพื่อการควบคุมโรคไข้หวัดนก ( MOPH - WHO Technical Working Group on Avain Influenza ) : ให้คำปรึกษาและเสนอแนะด้านวิชาการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
- คณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก กระทรวงสาธารณสุข : กำหนดแนวทางการประสานงาน อำนวยการ สนับสนุน และติดตามกำกับการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
- คณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก 9 คณะ ประกอบด้วย
คณะทำงานประสานวิชาการ
- คณะทำงานด้านการแพทย์
- คณะทำงานด้านเฝ้าระวังและสอบสวนโรค
- คณะทำงานด้านห้องปฏิบัติการ
- คณะทำงานด้านสนับสนุนปฏิบัติการ
- คณะทำงานพัฒนาศักยภาพประชาชนและชุมชน
- คณะทำงานสารสนเทศ
- คณะทำงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
- คณะทำงานเลขานุการกิจ
มีการจัดประชุม war room
เพื่อเป็นเวทีเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานต่างๆทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุขในการเตรียมความพร้อม
และติดตามผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก ดังนี้
การเฝ้าระวัง สอบสวนโรค
มีทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT : Surveillance and Rapid Response
Team) ทั่วประเทศทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่
นอกจากนั้นยังได้ให้ทุกโรงพยาบาลรายงานเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคปอดบวม
และมีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดนกเป็น Zero-report
ถึงแม้จะไม่พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกต้องรายงาน
- จัดอบรมทีม SRRT เพื่อฝึกและซักซ้อมการปฏิบัติงานแก่พื้นที่
- ตรวจสอบค้นหาแหล่งโรคโดยอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เพื่อแจ้งเหตุได้รวดเร็ว
ดูแลผู้ป่วยและควบคุมการติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
- ใช้มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยและควบคุมการติดเชื้อเช่นเดียวกับโรค SARS
- มีแนวทางการรักษา (guideline) ที่ชัดเจน
- มีทีมปรึกษาด้านการแพทย์อยู่เวรให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง
- อบรมแพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติงานการดูแลรักษาผู้ป่วยด้านโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป
- มีการนิเทศและให้คำปรึกษาด้านการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
- ปรับปรุงระบบการคัดกรองผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่โรคตั้งแต่ขั้นตอนรับผู้ป่วยนอก (O.PD)
- ปรับปรุงและพัฒนาให้โรงพยาบาลมีห้องแยกผู้ป่วยโรคติดเชื้อ
ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์เชิงรุก
จัดทำคำแนะนำการป้องกันตัวเผยแพร่ด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ การออกอากาศทางโทรทัศน์ วิทยุ
โดยเน้นการป้องกันด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่
และรณรงค์ให้ประชาชนคุ้นเคยกับการใส่หน้ากากอนามัย (mask) เมื่อเป็นโรคทางเดินหายใจ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่รวดเร็ว แม่นยำ ปลอดภัย
มีการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับการตรวจวินิจฉัยให้รวดเร็ว
แม่นยำทั้งในส่วนกลางที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต ให้มีศักยภาพในการตรวจวินิจฉัยในระดับที่สามารถตรวจ
PCR และมีเครือข่ายห้องปฏิบัติการ เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
ศูนย์วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์ ศูนย์เอกชน เป็นต้น
การจัดหาและสนับสนุนเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้ออย่างเพียงพอ
สำรวจและสนับสนุนชุดทดสอบเชื้อ (Rapid Test) ยาต้านไวรัส (Tamiflu)
และอุปกรณ์ป้องกันสำหรับบุคลากรด้านการแพทย์อย่างเพียงพอฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แก่บุคลากรกลุ่มเสี่ยงได้แก่ผู้ทำหน้าที่ฆ่า
ทำลายสัตว์ปีก และบุคลากรด้านการแพทย์
เพื่อป้องกันการกลายพันธ์ของเชื้อโรคไข้หวัดนก
การสื่อสารข้อมูลอย่างรวดเร็ว
- มีการแถลงข่าวรายวันในช่วงที่สถานการณ์รุนแรง
- จัดทำข่าวแจกเพื่อการรายงานสถานการณ์โรค และความก้าวหน้าในการดำเนินงานที่ถูกต้องตรงกัน และลดความตระหนก
- เปิดให้บริการสอบถามและแจ้งเหตุทางโทรศัพท์สายด่วน หมายเลข 0-2590-3333 จำนวน 20 คู่สาย ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ประสานรอบด้าน มีเครือข่ายและสั่งการชัดเจน
พัฒนาองค์ความรู้โดยอาศัยเครือข่ายทั้งส่วนราชการ องค์กรเอกชนทั้งภายใน/ต่างประเทศ
และในเวทีต่าง ๆ เช่น WHO CDC (IEIP) และ ASEAN+3 forum
เพื่อนำมาพัฒนาแนวทางการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
มีคณะที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ให้คำแนะนำด้านยุทธศาสตร์ต่อกระทรวงสาธารณสุข
และมีคณะทำงานวิชาการร่วมเพื่อการควบคุมโรคไข้หวัดนกเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับองค์การอนามัยโลก
และศูนย์ความร่วมมือไทย - สหรัฐด้านสาธารณสุข
ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและความถูกต้องทางวิชาการ
และให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการแก่กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวข้างต้นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2546
เป็นต้นมา ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก (พ.ศ.2548-2550)
ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2548