ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

พระสูตรของท่านเว่ยหลาง

กิเลสคือโพธิ

ชีวิตของมนุษย์ปุถุชนเสมือนลอยคออยู่ในมหาสมุทรซึ่งเต็มไปด้วยสายน้ำ โลภ โกรธ หลง คนที่ได้อาบดื่มกินน้ำเช่นนี้ล้วนติดใจและติดตรึงอยู่จนยากที่จะตัดความยากนั้นลงไปได้ง่ายๆ สองฝั่งของมหาสมุทรนี้มีสภาพแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ฝั่งขวาเป็นโลกโลกีย์ มี กิน กาม เกียรติ เป็นรสอร่อยใครได้ลิ้มรสจึงอยากตัดใจล้วนแต่เพิ่มความอยากให้มากยิ่งขึ้นไปอีกจึงมีภาวะเกิด-ดับไม่สิ้นสุด ส่วนฝั่งซ้ายพ้นโลกีย์ไม่มี กิน กาม เกียรติ เป็นความว่างเปล่า ไม่มี เกิด-ดับ เป็นวิมุติสุขอันแท้จริง หาคนขึ้นฝั่งทางนี้ยากนักหนา ผู้ที่ลอยคอในมหาสมุทรนี้ก็ถูกกระแสความโลภ โกรธ หลง พัดเข้าสู่ฝั่งขวาต่างแสวงหาการกิน หลงอยู่ในกามรสและติดเกียรติยศชื่อเสียงจนหมดลมหายใจแล้วก็ถูกเหวี่ยงลงไปสู่มหาสมุทรแห่งโลภ โกรธ หลง และไหลพัดเข้าสู่ฝั่งขวาต่อไป ปุถุชนเหล่านี้ตกอยู่ในอาการดีใจเสียใจไม่สิ้นสุดวนเวียนเช่นนี้โดยไม่รู้ตัวจึงเป็นความหลงอันร้ายกาจ พระอาจารย์ฮุ่ยเหนิง กล่าวถึงการพ้นไปจากฝั่งแห่งการเกิด-ดับด้วยการตัดอุปาทานเสียให้เด็ดขาดอันหมายถึงการยึดถือในขันธ์ทั้งปวง ถ้าตัดได้ขาดสิ้นจึงพ้นจากภาวะเกิด-ดับ สงบเงียบเหมือนน้ำไหลนิ่ง อาการเช่นนี้แหละจึงทำให้ปัญญานี้ได้นามว่า "ปารมิตา" ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต การว่ายทวนกระแสโลภ โกรธ หลง จึงต้องใช้ปัญญาอย่างแท้จริงจึงสามารถข้ามสู่ฝั่งซ้ายอันเป็นวิมุติสุข แต่คนเป็นอันมากที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความหลงจึงท่องบ่น "มหาปรัชญาปารมิตา" ด้วยลิ้น แม้ขณะที่กำลังท่องอยู่ควรคิดงมงายอันเป็นกรรมชั่วก็เกิดแก่เขา แต่ถ้าสามารถปฏิบัติได้ด้วยจิตโดยไม่หยุดหย่อนย่อมรู้ชัดถึง "ตัวจริง" ของมหาปรัชญาปารมิตา การรู้ธรรมะเช่นนี้จึงเป็นความรู้ธรรมชาติของปัญญา เพราะฉะนั้นผู้ที่ใช้ปัญญาอันแท้จริงจึงได้ชื่อว่า พุทธะ แต่ผู้ที่มิได้ประพฤติด้วยปัญญาจึงเป็น ปุถุชน พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า "คนสามัญธรรมดาคือพระพุทธเจ้าและกิเลสก็คือ โพธิ" ความหมายที่ท่านกล่าวเช่นนี้ ก็คือ คนทุกคนล้วนมีพุทธจิตธรรมญาณ เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นทุกคนจึงมีโอกาสสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน หากเขาเหล่านั้นสามารถตัดกิเลสหมดสิ้น ก็จักเกิดความสว่างไสวเช่นเดียวกับความรู้แจ้งของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย กิเลส กิน กาม เกียรติ ที่ผ่านเข้าออกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ล้วนมีอิทธิพลทำให้เป็น ปุถุชนธรรมดาสามัญ แต่เมื่อใดความคิดที่ทำลายความโง่เขลาเหล่านี้หมดสิ้นไป จึงทำให้คนเป็นพระพุทธเจ้า ความคิดที่ผ่านเข้าออกทำให้จิตคิดในอารมณ์นั้น คือ กิเลส แต่ความคิดที่มาเปลื้องธรรมญาณมิให้ติดอยู่ในอารมณ์เหล่านั้นซึ่งเกิดทีหลังคือ โพธิ อันเป็นปัญญาแห่งการตรัสรู้นั่นเอง ถ้าไม่มีกิเลสย่อมไม่เกิดปัญญา ถ้าไม่มีปุถุชนไหนเลยจักมีพระพุทธเจ้า ตัวอย่างของ องคุลิมาล ผู้เป็นบุตรของนางมันตานี พราหมณีถูกอาจารย์แห่งตักกสิลาหลอกลวงให้ฆ่าคนให้ครบพันคนจึงมอบวิชาวิเศษให้ ในครั้งนั้น องคุลิมาล ซึ่งเดิมมีนามว่าอหิงสกะ มีความหมายว่า ไม่เบียดเบียนใครได้กลายเป็นมหาโจรชั่วร้ายฆ่าผู้คนตัดเอานิ้วมือมาร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องคอจนชื่อเสียงเลื่องระบือทั่วกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล วันนั้นพระพุทธองค์เสด็จไปโปรด องคุลิมาล ดีใจเพราะขาดเพียงนิ้วเดียวก็ครบพันตามคำบัญชาของอาจารย์ แต่ออกแรงเดินตามพระพุทธองค์อย่างไรก็ไม่ทัน จึงร้องเรียกว่า "สมณะหยุดก่อน" "เราหยุดแล้ว ท่านซิยังไม่หยุด" พระพุทธองค์ตรัสตอบ "เอ๊ะ เราหยุดเดินแล้ว แต่ท่านยังเดินอยู่ไหนเลยบอกว่าหยุด" องคุลิมาล สงสัยจึงถามออกไป "เราหยุดเบียดเบียนชีวิตสัตว์ วางอาวุธแล้วตลอดไป ส่วนท่านยังไม่หยุดเบียนเบียนชีวิตสัตว์ ถืออาวุธล้างผลาญชีวิตผู้อื่น เราจึงได้ชื่อว่าผู้หยุด และท่านได้ชื่อว่ายังไม่หยุด" องคุลิมาล มีรากฐานแห่งปัญญา พอได้สดับพระพุทธวจนะเช่นนี้ จึงได้เกิดสติปัญญา ความสำนึกชั่วตีกลับมาครอบครองจิตอีกครั้งหนึ่ง จึงวางอาวุธติดตามพระพุทธองค์มายังวัดพระเชตวัน และอุปสมบทเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา อันหมายถึงพระพุทธเจ้าบวชให้เอง และในที่สุดก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ตัวอย่างเช่นนี้จึงเป็นหลักฐานสนับสนุน วจนะของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงที่กล่าวว่า คนธรรมดาเป็น พระพุทธะได้ ในชั่วขณะจิตเดียวที่สำนึกจึงเกิด "มหาปัญญา" พาให้ชีวิตจริงคือ "ธรรมญาณ" ขององคุลิมาล พ้นไปจากมหาสมุทรแห่งการเวียนว่ายตายเกิดตลอดไป

» เว่ยหล่าง หรือ ฮุ่ยเหนิง

» วิปัสสนาปัญญา

» จิตเดิมแท้

» อนุตตรสัมมาสัมโพธิ

» ต้นโพธิ์กับกระจกเงา

» โศลกอันลือเลื่อง

» ต้นธาตุ ต้นธรรม

» ศูนย์กลางจักรวาล

» ดวงตาเห็นธรรม

» สัจธรรมแห่งการกินเจ

» เอกธรรมมรรค

» บรรลุอย่างฉับพลัน

» มหาปรัชญาปารมิตา

» ความว่างที่ไม่รู้จักเต็ม

» สัมมาปัญญา

» กิเลสคือโพธิ

» มหาปัญญา

» เหมือนที่ต่าง

» ครูที่แท้จริง

» วิมุติปัญญา

» ความไม่ต้องคิด

» พ้นโง่-พ้นฉลาด

» มองหาความผิดตนเอง

» ทางที่ถูกต้อง

» มหาธรรมนาวา

» ติดบุญ-บาปพัวพัน

» อหังการ

» ดินแดนแห่งอมิตาภะ

» มนุษย์นคร

» แสงแห่งพระพุทธะ

» บำเพ็ญในครัวเรือน

» ถือศีลแต่ตกนรก

» ไหว้พระในบ้าน

» ความเป็นธรรม

» บัวสีแดงเหนือตมสีดำ

» เงินบังโพธิปัญญา

» นั่งเฝ้าก้อนเนื้อ

» หลงสุขจึงไม่เห็นทุกข์

» สมาธิที่ถูกวิธี

» หลอกตัวเอง

» หลงข้ามภพข้ามชาติ

» ไม่ช้า-ไม่เร็ว

» หนึ่งเป็นสองต้องมีทุกข์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย