ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

พระสูตรของท่านเว่ยหลาง

                พระสูตรทางพระพุทธศาสนานิกายเซ็นที่โด่งดัง และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เห็นจะไม่มีพระสูตรใดเกิน "สูตรของท่านเว่ยหล่าง" เพราะได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ หลายภาษาและได้รับความสนใจจากประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ของปัญญาชนเนื่องด้วยสูตรของท่านเว่ยหล่างล้วนแต่เป็นเรื่องของการใช้ปัญญาเพื่อค้นหาหนทางแห่งความเป็นพุทธะ และเพื่อความหลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงในโลกนี้ สูตรของท่านเว่ยหล่างได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดยท่านพุทธทาสภิกขุ ตั้งแต่หมวด 1 ถึง 7 ส่วนหมวด 8 ถึง 9 คุณประวิทย์ รัตนเรืองศรี เป็นผู้แปล ทำไมจึงต้องศึกษาสูตรของท่านเว่ยหล่าง คำตอบก็คือ พระสูตรนี้ใครได้ศึกษาแล้วก็เป็นการเปิดสติปัญญาของตนให้สว่างไสวและมมีทัศนคติต่อพุทธศาสนาได้อย่างแจ่มชัดว่า แท้ที่จริงแล้วศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา โดยแท้จริง สำเนียงที่เรียกพระสังฆปรินายกองค์นี้ว่า "เว่ยหล่าง" ก็ดีหรือชื่อของท่านผู้บำเพ็ญอื่นใดในพระสูตรนี้ ล้วนแต่ใช้ทับศัพท์ อ่านออกเสียง เป็นภาษาจีน "กวางตุ้ง" ส่วนภาษาจีนกลางเรียกว่า "ฮุ่ยเหนิง" ท่านฮุ่ยเหนิงมีแซ่สกุลว่า "หรู" เป็นชาวมณฑลกว่างตง บิดาเป็นชาวเมือง ฟั่นหยาง ถูกถอดออกจากราชการและได้รับโทษเนรเทศไปอยู่เมืองซินโจวและถึงแก่กรรมขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงยังเล็กๆ อยู่ สองแม่ลูกพากันโยกย้ายไปอยู่กว่างโจว ท่านฮุ่ยเหนิงประกอบอาชีพตัดฟืนไปขายเพื่อเลี้ยงดูมารดา วันหนึ่งขณะที่นำฟืนไปส่งให้แก่เจ้าจำนำรายหนึ่งในตลาดพลันก็ได้ยินเสียงสวดมนต์ของชายคนหนึ่งอยู่ที่หน้าร้าน ซึ่งท่านฮุ่ยเหนิงเอาฟืนไปส่งนั่นเอง ชายคนนั้นสาธยายมนต์มาถึงถ้อยคำที่ว่า "พึงทำจิตมิให้มีความยึดถือผูกพันในทุกสภาวะ" เมื่อได้ยินถ้อยคำเช่นนี้จิตใจของท่านฮุ่ยเหนิงก็สว่างโพลงในพุทธธรรม จึงถามชายคนนั้นว่า "ท่านกำลังสวดอะไร" "เรากำลังสวดวัชรสูตร" "ท่านไปเรียนมาจากที่ไหน" "เราเรียนมาจากท่านอาาจารย์หงเหย่น แห่งวัดตงฉัน ตำบลหวงเหมย เมืองฉีโจว ท่านมีศิษย์อยู่เป็นพันๆ คน โดยสั่งสอนให้ศิษย์ทั้งหลายบริกรรมพระสูตรนี้ เพื่อจักได้ค้นพบธรรมญาณแห่งตนและเข้าถึงความป็นพุทธะ" ขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงกำลังซักไซร้ เรื่องราวด้วยความสนใจและแสดงความประสงค์ที่จะเดินทางไปเฝ้าพระอาจารย์หงเหย่น เพื่อเรียนพรระสูตรนี้ท่านมีความตั้งใจแน่วแน่มากจนชายใจบุญผู้อารีอยากสนับสนุนจึงให้เงินท่านฮุ่ยเหนิง 10 ตำลึงเพื่อนำไปให้มารดาไว้ใช้สอย ขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงไม่อยู่ และหลังจากที่ได้จัดแจงให้มีผู้ดูแลมารดาแล้วท่านก็มุ่งหน้าเดินทางไปยังวัดตงฉัน ตำบลหวงเหมยทันที ใช้เวลาเกือบสามสิบวันจึงถึงจุดหมาย เมื่อเข้าไปนมัสการพระอาจารย์หงเหย่น ท่านก็ถามว่า "เจ้ามาจากไหนหรือ และต้องการอะไร" "กระผมเป็นคนเมืองซินโจว มณฑลกว่างตง กระผมต้องการมากราบท่านอาจารย์และต้องการหาหนทางความเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเท่านั้น นอกจากนี้แล้วกระผมไม่ต้องการอะไรเลย" "เธอเป็นชาวกว่างตงหรือ เป็นคนป่าคนดงยังจะหวังเป็นพุทธะได้ยังไงกัน" "ทิศเหนือทิศใต้เป็นเพียงแบ่งทิศทาง แต่หาได้แบ่งแยกความเป็นพุทธะไม่กระผมแตกต่างไปจากท่านอาจารย์ก็ตรงที่ร่างกายเท่านั้นแต่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะไม่แตกต่างกันเลย" คำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงได้ให้คำตอบในตัวเสร็จสรรพ โดยชี้ให้เห็นสัจธรรมอย่างหนึ่งว่า มนุษย์ในโลกนี้ล้วนมีความเป็นพุทธะอยู่ในตัวเองทุกชาติทุกภาษา เพียงแต่ว่าเขารู้หรือยอมรับความเป็นพุทธะในตัวเองหรือไม่เท่านั้น คนจีน ไทย ฝรั่ง แขก นิโกร เสียงแต่ความดีใจและตกใจล้วนเปล่งออกมาเหมือนกัน นั่นแหละ เสียงของพุทธะในตัวเอง ซึ่งเป็นสากลไม่แตกต่างกันเลย

» เว่ยหล่าง หรือ ฮุ่ยเหนิง

» วิปัสสนาปัญญา

» จิตเดิมแท้

» อนุตตรสัมมาสัมโพธิ

» ต้นโพธิ์กับกระจกเงา

» โศลกอันลือเลื่อง

» ต้นธาตุ ต้นธรรม

» ศูนย์กลางจักรวาล

» ดวงตาเห็นธรรม

» สัจธรรมแห่งการกินเจ

» เอกธรรมมรรค

» บรรลุอย่างฉับพลัน

» มหาปรัชญาปารมิตา

» ความว่างที่ไม่รู้จักเต็ม

» สัมมาปัญญา

» กิเลสคือโพธิ

» มหาปัญญา

» เหมือนที่ต่าง

» ครูที่แท้จริง

» วิมุติปัญญา

» ความไม่ต้องคิด

» พ้นโง่-พ้นฉลาด

» มองหาความผิดตนเอง

» ทางที่ถูกต้อง

» มหาธรรมนาวา

» ติดบุญ-บาปพัวพัน

» อหังการ

» ดินแดนแห่งอมิตาภะ

» มนุษย์นคร

» แสงแห่งพระพุทธะ

» บำเพ็ญในครัวเรือน

» ถือศีลแต่ตกนรก

» ไหว้พระในบ้าน

» ความเป็นธรรม

» บัวสีแดงเหนือตมสีดำ

» เงินบังโพธิปัญญา

» นั่งเฝ้าก้อนเนื้อ

» หลงสุขจึงไม่เห็นทุกข์

» สมาธิที่ถูกวิธี

» หลอกตัวเอง

» หลงข้ามภพข้ามชาติ

» ไม่ช้า-ไม่เร็ว

» หนึ่งเป็นสองต้องมีทุกข์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย