ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๕

เล่มที่ ๓๘

๑. มูลยมก

ธรรมที่เป็นคู่อันเป็นมูล

ในหมวดนี้มี ๒ ส่วน คือเป็นบทตั้ง เรียก อุทเทส อย่างหนึ่ง เป็นบทอธิบาย เรียก นิทเทสอีกอย่างหนึ่ง

บทตั้ง กล่าวถึง กุศลธรรมธรรมอันเป็นฝ่ายดี ), อกุศลธรรม ( ธรรมอันเป็นฝ่ายชั่ว ), อัพยากตธรรม ( ธรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว และ นามธรรม(ธรรมที่เกี่ยวกับจิตใจ ) แล้วแจกไปตามหลัก ๑๐ ประการ คือ

๑. มูล (รากเหง้า)
๒. เหตุ
๓. นิทาน (ต้นเหตุ)
๔. สมภพ (การเกิด)
๕. ปภพ (แดนเกิด)
๖. สมุฏฐาน (ที่ตั้ง)
๗. อาหาร
๘. อามรมณ์
๙. ปัจจัย (เครื่องสนับสนุน)
๑๐. สมุทัย (เหตุให้เกิด).

บทอธิบายขอยกตัวอย่างคำอธิบายเรื่องกุศลธรรมดังกล่าวต่อไปนี้

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งปวง ชื่อว่ากุศลมูลใช่หรือไม่? กุศลมูลมี ๓ ธรรมที่เหลือมิใช่กุศลมูล .

ธรรมเหล่าใดมีกุศลเป็นมูล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่ากุศลใช่หรือไม่ ? ใช่

ธรรมเหล่าใดที่เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่ามีมูลอันเดียวกับกุศลมูลใช่หรือไม่ ? ใช่

ธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับกุศลมูล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่ากุศลใช่หรือไม่ ?

รูปที่มีกุศลเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่ามีมูลอันเดียวกับกุศลมูล แต่ไม่ชื่อว่ากุศล กุศลชื่อว่ามีมูลอันเดียวกับกุศลมูลด้วย เป็นกุศลด้วยฯลฯ

หมายเหตุ

เมื่อพิจารณาดูคำอธิบายแล้ว จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องต้องใช้ตรรกวิทยาในการเข้าใจความหมาย เช่น คำว่า รูป เรากล่าวว่า รูปเป็นกุศลไม่ได้ แต่กล่าวว่า รูปมีมูลอันเดียวกับกุศลมูลได้ ถ้ารูปนั้น มีกุศลเป็นสมฏฐาน แต่คำว่า กุศลเป็นไปได้ทั้งสองอย่าง คือเป็นกุศลด้วย เป็นธรรมที่มีมูลอันเดียวกับกุศลมูลด้วย.

มีข้อที่ควรทราบ

คือ กุศลมูล ๓ ได้แก่ อโลภะ , อโทสะ , อโมหะ อกุศลมูล ๓ ได้แก่ โลภะ , โทสะ , โมหะ อัพยากตมูล ( มูลหรือรากของธรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว) ได้แก่ อโลภะ , อโทสะ , อโมหะ นามมูล ( มูลหรือรากของนาม) มี ๙ อย่าง ได้แก่ กุศลมูล ๓ , อกุศลมูล ๓ และ อัพยากตมูล ๓ รวมกัน.

ข้อสังเกตเรื่องธรรมอันเป็นคู่

หัวเรื่องของพระไตรปิฎกเล่มนี้ คือ ยมก ไดแก่ธรรมที่เป็นคู่ ทำให้น่าค้นหาว่า เป็นคู่อย่างไร อยู่ที่ไหน ก็จะเห็นได้ว่า ในบทตั้งก็ตาม ในบทอธิบายก็ตาม จะกล่าวว่า ธรรมที่เป็นอย่างนี้ จะเป็นอย่างนั้น หรือธรรมที่เป็นอย่างนั้น ชื่อว่าเป็นอย่างนี้ด้วย มีลักษณะเข้าคู่เสมอ ).

<< ย้อนกลับ  ||  หน้าถัดไป  >>

- มูลยมก
- ขันธยมก
- อายตนยมก
- ธาตุนยมก
- สัจจยมก
- สังขารยมก
- อนุสยมก


» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๔

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๕

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๖

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๘

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๙

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๐

» พระะอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๒

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย