ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗

เล่มที่ ๔๐

ชื่อยมก ภาคที่ ๑

เป็นอภิธัมมปิฎก ( เล่ม ๗ )

คำว่า ปัฏฐาน เป็นชื่อของคัมภีร์ที่ ๗ แห่งอภิธัมมปิฎก โปรดย้อนไปดูคำอธิบายอีกครั้งหนึ่ง ( ในข้อ ๗ แห่งอภิธัมมปิฎก )

คัมภีร์ปัฏฐานที่พิมพ์ในฉบับไทยมี ๖ ตั้งแต่เล่มที่ ๔๐ ถึงเล่มที่ ๔๕ คือ

เล่มที่ ๔๐ ว่าด้วยอนุโลมติกปัฏฐาน ได้แก่ปัจจัยอันเกี่ยวกับธรรม ๓ อย่าง คือ กุศลธรรม ๓ อย่าง , เวทนา ๓ อย่าง , วิบาก ๓ อย่าง , อุปาทินนะ ๓ อย่าง , สังกิลิฏฐะ ๓ อย่าง ( คือพูดถึงปัฏฐานแห่งธรรมใน คัมภีร์ธัมมสังคณี ( ดูข้อ(๑) ธรรมที่เป็นกุศล ถึง (๕) ธรรมที่เศร้าหมอง )

เล่มที่ ๔๑ เป็นตอนที่ ๒ วาระว่าด้วยอนุโมติกปัฏฐานต่อมาจากเล่มที่ ๔๐ คืออธิบายถึงปัจจัยแห่งหัวข้อธรรม ๓ อย่างในคัมภีร์ธัมมสังคณี ตั้งแต่ข้อ ๖ ถึงข้อ ๒๒ . ( ดูข้อ(๖) ธรรมที่มีวิตก ถึง (๒๒) ธรรมที่เห็นได้และถูกต้องได้ )

เล่มที่ ๔๒ เป็นตอนที่ ๓ วาระว่าด้วยอนุโมติกปัฏฐานตอนต้นอธิบายถึงปัจจัยแห่งหัวข้อธรรม ๒ อย่างในคัมภีร์ธัมมสังคณี ตั้งแต่แม่บทที่ ๒ เหตุโคจฉกะ ถึงแม่บทที่ ๑๐ ปรามาสโคสฉกะ. ( ดูข้อ ๒. แม่บท ถึง ๑๐. แม่บท )

เล่มที่ ๔๓ เป็นตอนที่ ๔ วาระว่าด้วยอนุโมติกปัฏฐานตอนปลาย อธิบายถึงปัจจัยแห่งหัวข้อธรรม ๒ อย่างในคัมภีร์ธัมมสังคณี ตั้งแต่แม่บทที่ ๑๑ มหันตรทุกะ ถึงแม่บทที่ ๑๔ ปิฏฐิทุกะ ( ดูข้อ ๑๑. แม่บท ถึง ๑๔. แม่บท )

เล่มที่ ๔๔ เป็นตอนที่ ๕ วาระว่าด้วยธรรมหมวด ๒ หมวด ๓ ผสมกัน , ธรรมหมวด ๓ หมวด ๒ ผสมกัน , ธรรมหมวด ๓ หมวด ๓ ผสมกัน , ธรรมหมวด ๒ หมวด ๒ ผสมกัน แต่ก็คงใช้ข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณีเป็นบทตั้งเช่นเดิม.

เล่มที่ ๔๕ เป็นตอนที่ ๖ วาระว่าด้วยหัวข้อสำคัญ ๓ ประการ คือ

๑.ปัจจนียปัฏฐาน ว่าด้วยธรรมที่เป็นปัจจัยโดยปฏิเสธข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี คือนำข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณีมาตั้งแล้วปฏิเสธงว่า อาศัยธรรมที่มิใช่ข้อนั้น ๆ ธรรมที่มิใช่ข้อนั้น ๆ ก็เกิดขึ้น

๒. อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ว่าด้วยธรรมที่เป็นปัจจัย โดยอาศัยข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี แต่ธรรมที่เกิดขึ้นเป็นธรรมมิใช่ข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี เช่น อาศัยธรรมเกิดธรรมที่มิใช่กุศล

๓. ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน ว่าด้วยธรรมที่เป็นปัจจัย โดยอาศัยธรรมที่มิใช่ข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี แต่เกิดธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี เช่น อาศัยธรรมอันมิใช่กุศล เกิดอกุศลธรรม , อาศัยธรรมอันมิใช่กุศล เกิดอัพยากตธรรม. ข้อสังเกตง่าย ๆ คือ ปัจจนียปัฏฐาน ปฏิเสธทั้งสองฝ่ายที่ถูกอาศัย ทั้งฝ่ายที่เกิดขึ้น , อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ปฏิเสธเฉพาะธรรมที่เกิด , ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน ปฏิเสธเฉพาะธรรมที่ถูกอาศัย.

เมื่อพิจารณาดูโดยสังเขปเช่นนี้แล้ว ก็พอเข้าใจได้ว่า คัมภีร์ปัฏฐานแสดงถึงปัจจัย ๒๔ ชนิด ตามเนื้อหาว่าเป็นปัจจัยในลักษณะไหน ครั้นแล้วจึงนำข้อธรรมหมวด ๓ หมวด ๒ ในคัมภีร์ธัมมสังคณีมาเป็นบทตั้ง เอาปัจจัย ๒๔ มากล่าวถึงว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร หลายแง่หลายมุม ถ้าจะเทียบด้วยการทอผ้า ข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณีเท่ากับเป็นเส้นด้ายยืน ส่วนปัจจัย ๒๔ เหมือนด้ายในกระสวย ที่พุ่งไปมาระหว่างด้ายยืน ให้สำเร็จเป็นลวดลายต่าง ๆ ).

บัดนี้จะเริ่มต้นด้วยข้อธรรมในเล่ม ๔๐ ต่อไป

มากานิเขปวาร

( วาระแห่งการตั้งแม่บท )

๑. เหตุปัจจัย ( ปัจจัย หรือเครื่องสนับสนุน ที่เป็นเหตุ )
๒. อารัมมณปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นอารมณ์ )
๓. อธิปติปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นใหญ่)
๔. อนันตรปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของไม่มีอะไรคั่นในระหว่าง )
๕. สมนันตรปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของกระชั้นชิด )
๖. สหชาตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของเกิดพร้อมกัน)
๗. อัญญมัญญปัจจัย( ปัจจัยที่เป็นของอิงอาศัยกันและกัน )
๘. นิสสยปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นที่อาศัยโดยตรง )
๑๐. ปุเรชาตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของเกิดก่อน )
๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของเกิดทีหลัง )
๑๒. อาเสวาปัจจัย ( ปัจจัยโดยการส้องเสพ )
๑๓. กัมมปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นกรรม คือการกระทำ )
๑๔. วิปากปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นผลของกรรม)
๑๕. อาหารปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นผลอาหาร )
๑๖. อินทริยปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นอินทรีย์ )
๑๗. ฌานปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นฌาน คือสมาธิแน่วแน่ )
๑๘. มัคคปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นมรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับกิเลสและดับทุกข์ )
๑๙. สัมปยุตตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของประกอบกัน คือเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน )
๒๐. วิปปยุตตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของไม่ประกอบกัน)
๒๑. อัตถิ ( ปัจจัยที่เป็นของมีอยู่)
๒๒. นัตตถิปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของไม่มี )
๒๓. วิตตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของไปปราศ คือพ้นไป หมดไป )
๒๔. อวิคตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของไม่ปราศ คือไม่พ้นไป ไม่หมดไป)

<< ย้อนกลับ  ||  หน้าถัดไป  >>

- ปัจจยวิภังควาร
- อนุโลมติกปัฏฐาน


» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๔

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๕

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๖

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๘

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๙

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๐

» พระะอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๒

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย