ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๙
เล่มที่ ๔๒
ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๓
(เป็นอภิธัมมปิฎก)
อนุโลมทุกปัฏฐาน ปัจจัยแห่งธรรมะหมวด ๒ ตามลำดับ
ตอนต้น
(พระไตรปิฎกเล่มนี้ คู่กับเล่มที่ ๔๓ กล่าวคือเล่มที่ ๔๐ กับเล่มที่ ๔๑ คู่กันในการอธิบาย ธรรมะ หมวด ๓ จบ ๒๒ หมวด แต่เล่มที่ ๔๒ กับเล่มที่ ๔๓ คู่กันในการอธิบายธรรมะ หมวด ๒ รวม ๑๔ หมวด โดย เล่มที่ ๔๒ อธิบายได้ ๑๐ หมวด เล่มที่ ๔๓ อธิบายต่ออีก ๔ หมวด อันเป็นตอนจบของธรรมะหมวด
การตั้งวาระในแต่ ละหัวข้อ คงตั้งได้ ๗ วาระ เช่น ที่ผ่านมาแล้วในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๐ ).
๑. เหตุทุกะ
หมวด ๒ แห่งเหตุ
๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย
อาศัยธรรมที่เป็นเหตุ ธรรมที่เป็นเหตุย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุเป็นปัจจัย คือ
อาศัยความไม่ โลภ เกิดความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่หลง
อาศัยความไม่คิดประทุษร้าย เกิดความไม่โลภ ความไม่หลง
อาศัยความไม่หลง เกิดความไม่โลภ ไม่คิดประทุษร้าย
อาศัยความโลภ เกิดความหลง
อาศัยความ หลง เกิดความโลภ
อาศัยความคิดประทุษร้าย
เกิดความหลง
อาศัยความหลง เกิดความคิด ประทุษร้าย ฯ ล ฯ
วาระในระหว่างนี้ ตั้งแต่ ๒ ถึง ๖ เป็นเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว.
๒. ปัญหาวาร วาระว่าด้วยคำถาม
ธรรมเป็นเหตุ เป็นปัจจัยของธรรมที่เป็นเหตุ โดยฐานะเป็นปัจจัยคือเหคุ ได้แก่ความไม่โลภ เป็นปัจจัยของความไม่คิดประทุษร้าย ของความไม่หลง โดยฐานะเป็นปัจจัยคือเหตุ ฯ ล ฯ
๒. สเหตุทุกะ
หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีเหตุ
๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย
อาศัยธรรมที่มีเหตุ ธรรมที่มีเหตุย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุเป็นปัจจัย คืออาศัยขันธ์ ๑ ที่มีเหตุ เกิดขันธ์ ๓, อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขันธ์ ๒ ฯ ล ฯ
วาระอื่น ๆ อนุโลมตามที่กล่าวมาแล้ว.
๓. เหตุสัมปยุตตทุกะ
หมวด ๒ แห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ
๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย
อาศัยธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ ( เกิดดับพร้อมกับเหตุ ) ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุเป็นปัจจัย ฯ ล ฯ
วาระอื่น ๆ อนุโลมตามที่กล่าวมาแล้ว.
๔. เหตุสเหตุกทุกะ
หมวด ๒ แห่งเหตุและธรรมที่มีเหตุ
๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย
อาศัยเหตุและธรรมที่มีเหตุ เหตุและธรรมที่มีเหตุย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุเป็นปัจจัย คืออาศัย ความไม่โลภ เกิดความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่หลง ฯ ล ฯ
วาระอื่น ๆ อนุโลมตามที่กล่าวมาแล้ว.
๕. เหตุเหตุสัมปยุตตทุกะ
หมวด ๒ แห่งเหตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ
๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย
อาศัยเหตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ เหตุและธรรมที่สัมปยุตเหตุย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุเป็นปัจจัย คืออาศัยความไม่โลภ เกิดความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่หลง ฯ ล ฯ
วาระอื่น ๆ อนุโลมตามที่กล่าวมาแล้ว.
๖. เหตุสเหตุกทุกะ
หมวด ๒ แห่งธรรมที่มิใช่เหตุ แต่มีเหตุ
๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย
อาศัยธรรมที่มิใช่เหตุ ธรรมที่มิใช่เหตุย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุเป็นปัจจัย ฯ ล ฯ
วาระอื่น ๆ อนุโลมตามที่กล่าวมาแล้ว.
(หมายเหตุ : ถ้าท่านผู้อ่านย้อนไปอ่านข้อความในหน้าพระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ในบท ก. แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายอภิธรรม ) ๒. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มเหตุ ( เหตุโคจฉกะ ) แล้ว จะรู้สึกว่าพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๒ นี้ นำกลุ่มเหตุ ซึ่งแยกออกเป็น ๖ หัวข้อนั้น มาตั้งเป็นบทยืน แล้วนำข้อความเรื่องปัจจัย มาเป็นบทสอดผสมให้กลมกลืนกัน. ต่อจากนั้นก็ได้นำกลุ่มธรรมะอื่น ๆ ที่ถัดกันไป มาเป็นบทยืนอีกจนจบชุด ต่อไปจะแสดง เฉพาะหัวข้อให้เห็น จะไม่ตั้งวาระอีก พึงทราบว่าวิธีจัดวาระเช่นเดียวกันกับที่แล้ว ๆ มา ).
รายการบทตั้ง จัดเป็นหมวด
( โปรดดูข้อความในหน้าพระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ในบท ก. แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายอภิธรรม ตั้งแต่ ข้อ ๒. ถึงข้อ ๑๐ ประกอบด้วย และเพื่อให้เห็นง่าย จะเริ่ม ย้อนกล่าวกลุ่มเหตุที่กล่าวมาแล้วด้วย จะถือว่าข้อความต่อไปนี้เป็นการช่วยขยายรายละเอียดในหน้าพระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ในบท ก. แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายอภิธรรม นั้นก็ได้).
ธรรมหมวด ๒
๑. กลุ่มเหตุ หรือเหตุโคจฉกะ ๖ คู่
๑. หมวด ๒ แห่งเหตุ คือธรรมที่เป็นเหตุ ( น เหตุ ).
๒. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีเหตุ คือธรรมที่มีเหตุ ( สเหตถกะ) คู่กับธรรม ที่ไม่มีเหตุ ( อเหตุกะ ).
๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ คือธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ ( เหตุสัมปยุต ) คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยเหตุ ( เหตุวิปปยุต).
๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ คือธรรมที่เป็นเหตุและมี เหตุ คู่กับธรรมที่มีเหตุ แต่มิใช่เหตุ.
๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ คือธรรมที่เป็น เหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ คู่กับธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ แต่มิใช่เหตุ.
๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มิใช่เหตุ แต่มีเหตุ คือธรรมที่มิใช่เหตุ แต่มีเหตุ คู่กับธรรมที่มิใช่เหตุ และไม่มีเหตุ.
๒. กลุ่มธรรม ๒ ข้อที่ไม่สัมพันธ์กัน คู่น้อย หรือจูฬันตรทุกะ ๗ คู่
๑. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีปัจจัย คือธรรมที่มีปัจจัย ( สัปปัจจยะ ) คู่กับ ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ( อัปปัจจยะ ).
๒. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง คือธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง ( สังขตะ) คู่กับธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ( อสังขตะ).
๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เห็นได้ คือธรรมที่เห็นได้ ( สนิทัสสนะ ) คู่กับ ธรรมที่เห็นไม่ได้ ( อนิทัสสนะ).
๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ถูกต้อง คือธรรมที่ถูกต้องได้ ( สัปปฏิฆะ) คู่ กับธรรมที่ถูกต้องไม่ได้ ( อัปปฏิฆะ).
๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีรูป คือธรรมที่มีรูป ( รูปี ) คู่กับธรรมที่ไม่มี รูป ( อรูปี ).
๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นโลกิยะ คือธรรมที่เป็นโลกิยะ คู่กับธรรมที่ เป็นโลกุตตระ.
๗. หมวด ๒ แห่งธรรมที่บางคนพึงรู้ได้ คือธรรมที่บางคนพึงรู้ได้ ( เกนจิ วิญเญยยะ ) คู่กับธรรมที่บางคนไม่พึงรู้ได้ ( เกนจิ น วิญเญยยะ ).
๓. กลุ่มอาสวะ คือกิเลสที่ดองสันดาน หรืออาสวโคจฉกะ ๖ คู่
๑. หมวด ๒ แห่งอาสวะ คือธรรมที่เป็นอาสวะ คู่กับธรรมที่มิใช่อาสวะ.
๒. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีอาสวะ คือธรรมที่มีอาสวะ ( สาสวะ ) คู่กับ ธรรมที่ไม่มีอาสวะ ( อนาสวะ).
๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ คือธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะ ( อาสวสัมปบุต ) คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยอาสวะ ( อาสววิปปยุต ).
๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นอาสวะ แต่ไม่มีอาสวะ คือธรรมที่เป็น อาสวะ แต่ไม่มีอาสวะ คู่กับธรรมที่มีอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะ.
๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ คือธรรม ที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยอาสวะ และไม่มีอาสวะ.
๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยอาสวะ แต่มีอาสวะ คือธรรม ที่ไม่สัมปยุตด้วยอาสวะ แต่มีอาสวะ คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยอาสวะ และไม่มีอาสวะ.
๔. กลุ่มสัญโญชน์ คือกิเลสที่ผูกมัด หรือสัญโญชนโคจฉกะ ๖ คู่
๑. หมวด ๒ แห่งสัญโญชน์ คือธรรมที่เป็นสัญโญชน์ คู่กับธรรมที่มิใช่ สัญโญชน์.
๒. หมวด ๒ แห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์ ( สัญโญชนียะ ) คู่กับธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ( อสัญโญชนียะ ).
๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ คือธรรมที่สัมปยุตด้วย สัญโญชน์ ( สัญโญชนสัปยุต ) คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ( สัญโญชนวิปปยุต ).
๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นสัญโญชน์ และเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ คือธรรมที่เป็นสัญโญชน์และเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ คู่กับธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ แต่มิใช่สัญโญชน์.
๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ คือธรรมที่เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ คู่กับธรรมที่สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่มิใช่สัญโญชน์.
๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ คือธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ และไม่เป็น ที่ตั้แห่งสัญโญชน์.
๕. กลุ่มคันถะ คือกิเลสที่ร้อยรัด หรือคันถโคจฉกะ ๖ คู่
มีวิธีจัดประเภทอย่างเดียวกันกับข้อ ๔ กลุ่มสัญโญชน์ ต่างแต่เปลี่ยนคำว่า สัญโญชน์ เป็นคันถะ เท่านั้น.
๖. กลุ่มโอฆะ คือกิเลสที่ทำสัตว์ให้จมลงในวัฏฏะ คือความเวียนว่ายตายเกิด หรือ โอฆโคจฉกะ มี ๖ คู่
มีวิธีจัดประเภทอย่างเดียวกับสัญโญชน์.
๗. กลุ่มโยคะ คือกิเลสเครื่องประกอบหรือผูกสัตว์ไว้ในวัฏฏะ หรือโยคโคจฉกะ มี ๖ คู่
มีวิธีจัดประเภทอย่างเดียวกับสัญโญชน์.
๘. กลุ่มนีวรณ์ คือกิเลสอันกั้นจิต หรือนีวรณโคจฉกะ มี ๖ คู่
มีวิธีจัดประเภทอย่างเดียวกับสัญโญชน์.
๙. กลุ่มปรามาส คือกิเลสเครื่องจับต้องในทางที่ผิดความจริง มี ๕ คู่
๑. หมวด ๒ แห่งปรามาส คือธรรมที่เป็นปรามาส คู่กับธรรมที่มิใช่ ปรามาส.
๒. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ถูกจับต้อง คือธรรมที่ถูกจับต้อง ( ปรามัฏฐะ ) คู่กับธรรมที่ไม่ถูกจับต้อง ( อปรามัฏฐะ ).
๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาส คือธรรมที่สัมปยุตด้วย ปรามาส ( ปรามาสสัมปยุต ) คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยปรามาส ( ปรามาสวิปปยุต ).
๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นปรามาสและถูกจับต้อง คือธรรมที่เป็น ปรามาสและถูกจับต้อง คู่กับธรรมที่ถูกจับต้อง แต่ไม่เป็นปรามาส.
๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยปรามาส แต่ถูกจับต้อง คือ ธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยปรามาส แต่ถูกจับต้อง คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยรามาส และไม่ถูกจับต้อง.
จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๒