ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓
เล่มที่ ๓๖
ชื่อธาตุกถาและปุคคลบัญญัตติ
( เป็นอภิธัมมปิฎก )
พระไตรปิฎกเล่มนี้ แบ่งหัวข้อใหญ่ออกเป็น ๒ ส่วน คือธาตุกถาและปุคคลปัญญัตติ ดังจะกล่าวต่อไป.
การแยกกลุ่มหรืออธิบายแจกรายละเอียดของธรรมะต่าง ๆ ออกไปในเล่มที่ ๓๕ นี้ มี ๑๘ หมวด คือ
ธาตุกถา ถ้อยคำว่าด้วยธาตุ เนื้อหาสำคัญของเรื่องนี้คือคำที่เป็นบทในภิวังค์ ๑๓ หัวข้อ ตั้งแต่ขันธ์จนถึงอัปปมัญญาตามลำดับ กับหัวข้อธรรมในธัมมสังคณี จะนำมาสงเคราะห์เข้ากันได้หรือไม่ได้กับธรรม ๓ ประการ คือ ขันธ์, อายตนะ, ธาตุ, ด้วยเหตุนี้พระนยานติโลกะพระเถระชาวเยอรมัน ผู้เรียบเรียงเรื่องนำทาง อภิธัมมปิฎก ( Guide Through the Abhidhamma-Pitaka ) จึงสันนิษฐานว่าชื่อเดิมของเรื่องนี้น่าจะเป็น ขันธ-อายตนะ-ธาตุกถา เพราะนำเอา ธรรมต่าง ๆ มาสงเคราะห์หรือไม่สงเคราะห์กับธรรม ๓ อย่างนี้เท่านั้น แต่เรียกย่อยเป็นธาตุกถา แต่ข้าพเจ้าผู้จัดทำหนังสือนี้มี ความเห็นไปอีกอย่างหนึ่ง คือที่เรียกว่าธาตุกถานั้น พิจารณาดูเนื้อหาแล้ว ถ้าจะเทียบกับความรู้สมัยเก่า ตือการเล่นแร่ แปลธาตุฉลาดรู้ว่านำสิ่งนี้ไปผสมกับสิ่งนั้นจะเป็นอะไร อะไรผสมกับอะไรไม่ได้ ถ้าจะเทียบกับความรู้สมัยใหม่ ก็คือความรู้ทั้ง ทางฟิสิคส์และเคมี คือรู้คุณสมบัติของสารว่าอะไรเป็นอะไร เข้ากันไม่ได้ ในทางฟิสิคส์ และเคมีอย่างไร เป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย ยุ่งยากสำหรับผู้ไม่สนใจ แต่วิชาก็ต้องเป็นวิชา เพราะฉะนั้น จึงมีผู้เรียนรู้และหาประโยชน์ได้ เมื่อวิธีการเป็นเช่นนี้ จึงตั้งชื่อรวม ว่า ธาตุกถา ถ้อยคำว่าด้วยธาตุ ( รู้จักแยกธาตุ ผสมธาตุ ).
ปุคคลปัญญัตติ บัญญัติบุคคลเป็นการกล่าวถึงการบัญญัติ (ทำให้รู้ทั่ว ๆ กัน ) ว่า บุคคลประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างไร มีชื่อเรียกว่าอย่างไร.
ในการย่อความขยายความต่อไปนี้ จะนำมากล่าวพอให้เห็นเค้าโครงหน้าตาของแต่ละเรื่อง ส่วนรายละเอียด ปลีกย่อยจะผ่านไป.
ขยายความ
- ธาตุกถา
- ปุคคลบัญญัติ