ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๐

เล่มที่ ๔๓

ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๔

(เป็นอภิธัมมปิฎก)

เล่มนี้ยังว่าด้วยปัจจัยแห่งธรรมะหมวด ๒ ตามลำดับ ( อนุโลมทุกปัฏฐาน ) ต่อมาจากเล่มที่ ๔๒ เป็นแต่ได้นำข้อธรรมในหมวด ๒ ตอนต่อไปมาตั้งเป็นบทยืน อธิบายให้ผสมกลมกลืนกับเรื่องปัจจัย ฉะนั้นในที่นี้จะแสดง หัวข้อต่อมาจากเล่มที่ ๔๒.

๑๐. กลุ่มธรรม ๒ ข้อที่ไม่สัมพันธ์กัน คู่ใหญ่ หรือมหันตรทุกะ ๑๔ คู่

๑. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีอารมณ์ คือธรรมที่มีอารมณ์ ( สารัมมณะ ) คู่กับ ธรรมที่ไม่มีอารมณ์ ( อนารัมมณะ ).

๒. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นจิต คือธรรมที่เป็นจิต คู่กับธรรมที่มิใช่จิต ( โน จิตตะ ).

๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นเจตสิก คือธรรมที่เป็นเจตสิก คู่กับธรรมที่ มิใช่เจตสิก.

๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต คือธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต (จิตตสัมปยุต ) คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยจิต ( จิตตวิปปยุต ).

๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ระคนด้วยจิต คือธรรมที่ระคนด้วยจิต (จิตตสัง สัฏฐะ ) คู่กับธรรมที่ไม่ระคนด้วยจิต ( จิตตวิสังสัฏฐะ ).

๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน คือธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน คู่กับธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ( โน จิตตสมุฏฐานะ ).

๗. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต คือธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต ( จิตตสหภู ) คู่กับธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต.

๘. หมวด ๒ แห่งธรรมที่หมุนไปตามจิต คือธรรมที่หมุนไปตามจิต ( จิตตานุปริวัตตี ) คู่กับธรรมที่ไม่หมุนไปตามจิต.

๙. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีธรรมอันระคนด้วยจิตเป็นสมุฏฐาน คือธรรม ที่มีธรรมอันระคนด้วยจิตเป็นสมุฏฐาน ( จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ) คู่กับธรรมที่ไม่มีธรรมอันระคนด้วยจิตเป็นสมุฏฐาน.

๑๐. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เกิดพร้อมกัน มีธรรมที่ระคนด้วยจิตเป็นสมุฏฐาน คือธรรมที่เกิดพร้อมกันมีธรรมที่ระคนด้วยจิตเป็นสมุฏฐาน ( จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู ) คู่กับธรรมที่ไม่เป็นเช่นนั้น.

๑๑. หมวด ๒ แห่งธรรมที่หมุนไปตาม มีธรรมที่ระคนด้วยจิตเป็นสมุฏฐาน คือธรรมที่หมุนไปตามมีธรรมที่ระคนด้วยจิตเป็นสมุฏฐาน ( จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตตี ) คู่กับธรรมที่ไม่เป็นเช่นนั้น.

๑๒. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นภายใน คือธรรมที่เป็นภายใน (อัชฌัตติกะ) คู่กับธรรมที่เป็นภายนอก ( พาหิระ ).

๑๓. หมวด ๒ แห่งธรรมคือความยึดถือ คือธรรมคือความยึดถือ (อุปาทา ) คู่กับธรรมคือความไม่ยึดถือ ( อนุปาทา ).

๑๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ถูกยึดถือ คือธรรมที่ถูกยึดถือ (อุปาทินนะ ) คู่กับธรรมที่ไม่ถูกยึดถือ ( อนุปาทินนะ ).

๑๑. กลุ่มอุปาทาน หรืออุปาทานโคจฉกะ มี ๖ คู่ กลุ่มนี้ว่าด้วยอุปาทาน คือกิเลสเป็นสิ่งยึดถือ แบ่งออกเป็น ๖ คู่ มีวิธีจัดประเภทเหมือนกลุ่ม สัญโญชน์.

๑๒. กลุ่มกิเลส หรือกิเลสโคจฉกะ มี ๘ คู่

๑. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นกิเลส คือธรรมที่เป็นกิเลส คู่กับธรรมที่ไม่ เป็นกิเลส.

๒. หมวด ๒ แห่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง คือธรรมอัน เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง ( สังกิเลสิกะ ) คู่กับธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง ( อสังกิเลสิกะ ).

๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เศร้าหมอง คือธรรมที่เศร้าหมอง ( สังกิลิฏฐะ ) คู่กับธรรมที่ไม่เศร้าหมอง ( อสังกิลิฏฐะ ).

๔. หมวด ๒ แห่งธรรมอันสัมปยุตด้วยกิเลส คือธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลส ( กิเลสสัมปยุต ) คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยกิเลส ( กิเลสวิปปยุต ).

๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง คือธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง คู่กับธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง แต่มิใช่กิเลส.

๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นกิเลสและเศร้าหมอง คือธรรมที่ป็นกิเลส และที่เศร้าหมอง คู่กับธรรมที่เศร้าหมอง แต่มิใช่กิเลส.

๗. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส คือธรรมที่ป็น กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส คู่กับธรรมที่สัมปยุตด้วยกิ้ลส แต่มิใช่กิเลส.

๘. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยกิเลส แต่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง คือธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยกิเลส แต่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยกิเลส และไม่เป็นที่ตั้ง แห่งความเศร้าหมอง.

๑๓. กลุ่มธรรม ๒ ข้อรั้งท้าย หรือปิฏฐิทุกะ มี ๑๘ คู่

๑. หมวด ๒ แห่งทัสสนะ คือธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะ ( ความเห็น ) คู่กับ ธรรมที่ไม่พึงละด้วยทัสสนะ.

๒. หมวด ๒ แห่งภาวนา คือธรรมที่พึงละด้วยภาวนา ( การเจริญ ) คู่กับ ธรรมที่ไม่พึงละด้วยภาวนา.

๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีเหตุอันพึงละด้วยทัสสนะ คือธรรมที่มีเหตุ อันพึงละด้วยทัสสนะ ( ความเห็น ) คู่กับธรรมที่ไม่เป็นเช่นนั้น.

๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีเหตุอันพึงละด้วยภาวนา คือธรรมที่มีเหตุ อันพึงละด้วยภาวนา ( การเจริญ ) คู่กับธรรมที่ไม่เป็นเช่นนั้น.

๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีวิตก คือธรรมที่มีวิตก ( ความตรึก ) คู่กับธรรม ที่ไม่วิตก.

๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีวิจาร คือธรรมที่มีวิจาร ( ความจรอง ) คู่กับ ธรรมที่ไม่มีวิจาร.

๗. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีปีติ คือธรรมที่มีปีติ ( ความอิ่มใจ ) คู่กับธรรม ที่ไม่มีปีติ ( อัปปีติกะ ).

๘. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ไปกับปีติ คือธรรมที่ไปกับปีติ ( ปีติสหคตะ) คู่ กับธรรมที่ไม่ไปกับปีติ ( น ปีติสหคตะ ).

๙. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ไปกับความสุข คือธรรมที่ไปกับความสุข ( สุขสหคตะ ) คู่กับธรรมที่ไม่ไปกับความสุข ( น สุขสหคตะ).

๑๐. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ไปกับอุเบกขา คือธรรมที่ไปกับอุเบกขา ( ความวางเฉย ) คู่กับธรรมที่ไม่ไปกับอุเบกขา ( น อุเปกขาสหคตะ).

๑๑. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นกามาวจร คือธรรมที่เป็นกามาวจร ( ท่องเที่ยวไปในกาม ) คู่กับธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร.

๑๒. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นรูปาวจร คือธรรมที่เป็นรูปาวจร ( ท่องเที่ยวไปในรูป ) คู่กับธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร.

๑๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นอรูปาวจร คือธรรมที่เป็นอรูปาวจร ( ท่องเที่ยวไปในอรูป ) คู่กับธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร.

๑๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นปริยาปันนะ คือธรรมที่เป็นปริยาปันนะ ( โลกิยะ ) คู่กับธรรมที่เป็นอปริยาปันนะ ( โลกุตตระ ).

๑๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นนิยยานิกะ คือธรรมที่เป็นนิยยานิกะ ( นำออกจากทุกข์ ) คู่กับธรรมที่เป็นอนิยยานิกะ ( ไม่นำออกจากทุกข์ ).

๑๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นนิยตะ คือธรรมที่เป็นนิยตะ ( แน่นอน ) คู่ กับธรรมที่เป็นอนิยตะ ( ไม่แน่นอน ).

๑๗. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นสอุตตระ คือธรรมที่เป็นสอุตตระ ( มี ธรรมอื่นยิ่งกว่า ) คู่กับธรรมที่เป็นอนุตตระ ( ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ).

๑๘. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นสรณะ คือธรรมที่เป็นสรณะ ( มีข้าศึก ) คู่กับธรรมที่เป็นอรณะ ( ไม่มีข้าศึก ).

เพี่อความเข้าใจยิ่งขึ้น เฉพาะบางคำโปรดย้อนไปดูข้อความในหน้าข้อความน่ารู้จากพระ ไตรปิฎก หมายเลข๘๖-๙๔

จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓

<< ย้อนกลับ  ||  หน้าถัดไป  >>


» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๔

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๕

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๖

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๘

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๙

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๐

» พระะอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๒

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย