ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระะอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๑
เล่มที่ ๔๔
ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๕
( เป็นอภิธัมมปิฎก )
(ได้กล่าวไว้แล้วในเล่มที่ ๔๐ปัฏฐาน ภาคที่ ๑ ว่า พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๔ ว่าด้วยธรรม หมวด ๒ กับหมวด ๓ ผสมกัน ; ธรรมหมวด ๓ กับหมวด ๒ ผสมกัน ; ธรรมหมวด ๓ กับหมวด ๓ ผสมกัน ; ธรรมหมวด ๒ กับหมวด ๒ ผสมกัน โดยใช้ธรรมะในคัมภีร์ธัมมสังคณีเป็นบทตั้งเช่นเดิม ในที่นี้จะแสดงตัวอย่างให้เห็นหมวด ๒ ข้อ ดังต่อไปนี้ ).
๑. ธรรมหมวด ๒ กับหมวด ๓ ผสมกัน ( อนุโลมทุกติกปัฏฐาน )
เพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุ อันเป็นกุศล จึงเกิดธรรมอันเป็นเหตุ อันเป็นกุศล เพราะเหตุ เป็นปัจจัย ฯ ล ฯ
( พึงสังเกตุว่า ธรรมอันเป็นเหตุ เป็นธรรมในหมวด ๒, ธรรมอันเป็นกุศล เป็นธรรมในหมวด ๓, ในที่นี้กล่าวถึงธรรมที่เป็นทั้งเหตุ เป็นทั้งกุศลผสมกัน เช่น อาศัย อโลภะ ซึ่งเป็นทั้งเหตุทั้งกุศล เกิด อโทสะ หรือ อโมหะ ซึ่งเป็นทั้งเหตุทั้งกุศล ).
๒. ธรรมหมวด ๓ กับหมวด ๒ ผสมกัน ( อนุโลมติกทุกปัฏฐาน )
เพราะอาศัยธรรมอันเป็นกุศล อันเป็นเหตุ จึงเกิดธรรมอันเป็นกุศล อันเป็นเหตุ เพราะเหตุ เป็นปัจจัย ฯ ล ฯ
( พึงสังเกตุว่า ธรรมอันเป็นกุศล เป็นธรรมในหมวด ๓, ธรรมอันเป็นเหตุ เป็นธรรมในหมวด ๒, เป็นแต่ในที่นี้นำธรรมในหมวด ๓ มาเรียงไว้ก่อน เนื้อหาก็คงเป็นเช่นเดียวกับข้อ ๑ ).
๓. ธรรมหมวด ๓ กับหมวด ๓ ผสมกัน ( อนุโลมติกติกปัฏฐาน )
เพราะอาศัยธรรมอันเป็นกุศล อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนา จึงเกิดธรรมอันเป็นกุศล อันสัมปยุต ด้วยสุขเวทนา เพราะเหตุเป็นปัจจัย ฯ ล ฯ
( พึงสังเกตุว่า ธรรมอันเป็นกุศล เป็นธรรมในหมวด ๓, ธรรมอันสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ก็ เป็นธรรมในหมวด ๓ ).
๔. ธรรมหมวด ๒ กับหมวด ๒ ผสมกัน ( อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน )
( เพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุ อันมีเหตุ จึงเกิดธรรมอันเป็นเหตุ อันมีเหตุ เพราะเหตุเป็น ปัจจัย ฯ ล ฯ
( พึงสังเกตุว่า ธรรมอันเป็นเหตุ เป็นธรรมในหมวด ๒, ธรรมอันมีเหตุ ก็เป็นธรรมในหมวด ๒ ).
จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๔