ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗

เล่มที่ ๔๐

อนุโลมติกปัฏฐาน

ปัจจัยแห่งธรรมะหมวด ๓ กล่าวไปตามลำดับ

กุสลติกะ หมวด ๓ แห่งกุศล

๑. ปฏิจจาร วาระว่าด้วยการอาศัย

ก. อุทเทส บทตั้ง เพราะอาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมพึงเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุก็มี. กุศลธรรม อัพยากตธรรมพึงเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุก็มี เพราะอาศัยกุศลธรรม ทั้งกุศลธรรมและอัพยากตธรรมพึงเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุก็มี ฯ ล ฯ

ข. นิทเทส บทอธิบาย เพราะอาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ คือเพราะอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ขันธ์ ๓ ย่อมเกิดขึ้น ( คือในขันธ์หรือส่วนที่เป็นนาม อันได้แก่ เวทนา , สัญญา , สังขาร , และ วิญญาณ ถ้าอาศัยขันธ์ใดขันธ์หนึ่งใน ๔ ขันธ์นี้ อีก ๓ ข้อที่เหลือก็เกิดขึ้น ). เพราะอาศัยขันธ์ ๓ ขันธ์ ๑ ย่อมเกิดขึ้น ( โดยทำนองเดียวกัน ถ้าอาศัยขันธ์ ๓ ข้อใด ๆ ก็ตาม ขันธ์อีกข้อหนึ่งใน ๔ ข้อที่ไม่พ้องกับขันธ์ ๓ ย่อมเกิดขึ้น ). เพราะอาศัยขันธ์ ๒ ขันธ์ ๒ ย่อมเกิดขึ้น ( อาศัยขันธ์ ๒ ข้อ ใน ๔ ข้อ อีก ๒ ข้อที่ไม่พ้องกันย่อมเกิดขึ้น ).

เพราะอาศัยกุศลธรรม อัพยากติธรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ คือเพราะอาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้น .

เพราะอาศัยกุศลธรรม ทั้งกุศลธรรมและอัพยากติธรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ คือเพราะอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ขันธ์ ๓ และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้น. เพราะอาศัยขันธ์ ๓ คือ ขันธ์ ๑ และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้น . เพราะอาศัยขันธ์ ๒ ขันธ์ ๒ และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้น.

(หมายเหตุ? ทั้งบทตั้งและบทอธิบายได้นำมาแสดงพอเป็นตัวอย่าง . ในอุทเทสหรือบทตั้งนั้น ถอดไว้อย่างข้างบนนี้ก็ได้ อย่างเป็นคำถามก็ได้ เช่น ถามว่า เพราะอาศัย ....ก็มี ใช่หรือไม่ ? ครั้นถึงนิทเทสหรือบทอธิบาน ก็เท่ากับเป็นคำตอบไปในตัว แต่จะสังเกตุว่า ได้มีการไม่ตอบอยู่ข้อหนึ่ง คือข้อที่ว่า อาศัยกุศลธรรม เกิดอกุศลธณรมก็มีนั้น คืออย่างไร ? เมื่อไม่มีคำตอบ จึงทำให้บางท่านสันนิษฐานว่า สภาพเช่นนั้นไม่มี. แต่ก็น่าจะไม่มี โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย คงอยู่ในฐานะเป็นปัจจัยอย่างอื่น เช่น อุปนิสสยปัจจัย เพราะในอุปนิสสยปัจจัยนั้น มีคำอธิบายไว้บางตอนว่า “ กุศลธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยแห่งอกุศลธรรมหลัง ๆ บางชนิด โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย ” ซึ่งอรรถกถายกตัวอย่างว่า อาศัยความดี เช่น ทาน , ศีล , สุตะ, ปัญญา แล้วเกิด มานะ ความถือตัว และทิฏฐิ ความเห็นผิด หรือเกิด ราคะ , โทสะ, โมหะ เป็นต้นได้. บางตอนมีคำอธิบายอุปนิสสยปัจจัยไว้ว่า “ อกุศลธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยแห่งกุศลธรรมหลัง ๆ บางชนิด โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย ” ซึ่งอรรถกถายกตัวอย่างว่า อาศัย ราคะ ก็มีการ ให้ทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถ ทำฌาน ทำวิปัสสนา ทำมรรค ทำอภิญญา ทำสมาบัติ ให้เกิดขึ้น. ตกลงว่า ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และ ปัตถนา ( ความปรารถนา ) เป็นปัจจัย โดยฐานะอุปนิสสยปัจจัยแห่งศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาก็มี หรือบางคนฆ่าสัตว์แล้วพยายามให้ทานแก้ตัวก็มี . แต่คำอธิบายและตัวอย่างดังกล่าวมานี้ พบเฉพาะในอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้น ).

๒. สหชาตวาร วาระว่าด้วยธรรมที่เกิดร่วมกัน

เพราะอาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมที่เกิดร่วมกันย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ. ( คำอธิบายเรื่องอาศัยขันธ์ ๑ เกิดขึ้น ๓ เป็นต้น เหมือนปฏิจจวารข้างต้น ).

๓. ปัจจยวาร วาระว่าด้วยปัจจัยคือเครื่องสนับสนุน

เพราะกุศลธรรมเป็นปัจจัย กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ. คำอธิบายเรื่องอาศัยขันธ์ ๑ เกิดขันธ์ ๓ เป็นต้น เหมือนปฏิจจวารข้างต้น ).

๔. นิสสยวาร วาระว่าด้วยธรรมเป็นที่อาศัย

เพราะอาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ . ( คำอธิบายเหมือนข้างต้น).

๕. สังสัฏฐวารวาระว่าด้วยธรรมที่ระคนกัน

เพราะอาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมที่ระคนกันย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ ( คำอธิบายเหมือนข้างต้น ).

๖. สัมปยุตตวาร วาระว่าด้วยธรรมที่ประกอบกัน

เพราะอาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมที่ประกอบกัน ( เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์และวัตถุอันเดียวกัน ) ย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ . ( คำอธิบายเหมือนข้างต้น ).

๗. ปัญหาวาร วาระว่าด้วยคำถาม

หัวข้อวาระนี้น่าจะใช้คำว่า วาระว่าด้วยการตอบปัญหา กล่าวคือไม่มีคำถามปรากฏ มีแต่คำตอบอรรถกถาอธิบาย คำตอบบ่งถึงคำถามอยู่แล้ว ).

กุศลธรรมเป็นปัจจัยแห่งกุศลธรรม โดยฐานะเหตุปัจจัย คือเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ คือเหตุที่เป็นกุศล , เป็นปัจจัยแห่งขันธ์ที่ประกอบกัน ( สัมปยุตตขันธ์ ขันธ์ที่เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน ) โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย .

กุศลธรรมเป็นปัจจัยแห่งอัพยากตธรรม โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย คือเหตุที่เป็นกุศล คือเหตุที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย.

กุศลธรรมเป็นปัจจัยที้งของกุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย คือเหตุที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแห่งสัมปยุตตขันธ์ และแห่งรูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐานในฐานะเป็นเหตุปัจจัย ฯ ล ฯ

เวทนาติกะ หมวด ๓ แห่งเวทนา

๑. ปฏิจจาร วาระว่าด้วยการอาศัย

อาศัยธรรมที่สัมปยุตตด้วยสุขเวทนา เกิดธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เพราะเหตุปัจจัย คือเพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ. อาศัยขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เกิดขันธ์ ๒ , อาศัยขันธ์ ๒ , เกิดขันธ์ ๑ , ในขณะแห่งปฏิสนธิอาศัยขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เกิดขันธ์ ๒ , อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขันธ์ ๑ .

( ข้อนี้อรรถกถามิได้อธิบายไว้ ผู้เขียนขออธิบายตามความเห็นส่วนตัว คือในเรื่องนี้ เมื่อกันเวทนาออกมา ในฐานะที่ถูกสัมปยุต จึงเหลือขันธ์ อยู่เพียง ๓ คือ สัญญา , สังขาร , และ วิญญาณ. คำว่าอาศัยขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยเวทนา เช่น อาศัยวิญญาณขันธ์ เกิดขันธ์ ๒ คือเกิดสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์. คำว่า อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ๑ เช่น อาศัยสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ เกิดวิญญาณขันธ์ ).

๒. สัมปยุตตวาร วาระว่าด้วยธรรมที่ประกอบกัน

ความจริงแบ่งวาระได้เช่นเดียวกับ กุสสติกะ คือ ๗ วาระ แต่ลีลาในการอธิบายคล้าย ๆ กัน ท่านจึงรวบรัดด้วยเครื่องหมายเปยยาล หรือ ฯ เป ฯ อันเท่ากับ ฯลฯ แล้วกล่าวถึงสัมปยุตตวารอย่างย่อ ๆ ).

อาศัยธรรมที่สัมปยุต ( เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน ) ด้วยสุขเวทนา เกิดสัมปยุตตธรรม คือสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เพราะเหตุปัจจัย คือเพราะอาศัยขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เกิดขันธ์ ๒ ที่สัมปยุต , อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขันธ์ ๑ ที่สัมปยุต.

๓. ปัญหาวาร วาระว่าด้วยคำถาม

ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ คือเหตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแห่งสัมปยุตตขันธ์โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย. ในขณะแห่งปฏิสนธิ เหตุที่สัมปยุตด้วยสุขเสทนา ย่อมเป็นปัจจัยแห่งสัมปยุตตขันธ์โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย ฯล ฯ

วิปากติกะ หมวด ๓ แห่งวิบาก

๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย

อาศัยธรรมที่เป็นวิบาก ธรรมที่เป็นวิบากย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยเหตุปัจจัย คือเพราะเครื่องสนับสนุนเป็นเหตุ ( ต่อจากนั้นพูดถึงเรื่องขันธ์ ๑ ขันธ์ ๓ ทำนองเดียวกับ กุสสติกะ ).

วาระอื่น ๆ เช่น สหชาตวาร , ปัจจยวาร , นิสสยวาร เป็นต้น ก็แบบเดียวกับ กุสสติกะ ที่กล่าวมาแล้ว ).

อุปาทินนติกะ หมวด ๓ แห่งธรรมที่ถูกยึดถือ

๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย

อาศัยธรรมที่ถูกยึดถือ และเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ เกิดธรรมที่ถูกยึดถือ และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ เพราะเหตุปัจจัย คือเพราะเครื่องสนับสนุนเป็นเหตุ . ( ต่อจากนั้นพูดถึงเรื่องขันธ์ ๑ ขันธ์ ๓ ทำนองเดียวกับ กุสสติกะ )

วาระอื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้ว).

สังกิลิฏฐติกะ หมวด ๓ แห่งธรรมที่เศร้าหมอง

๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย

อาศัยธรรมที่เศร้าหมอง และเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง เกิดธรรมที่เศร้าหมอง และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง เพราะเหตุปัจจัย คือเพราะเครื่องสนับสนุนเป็นเหตุ ( ต่อจากนั้นพูดถึงเรื่องขันธ์ ๑ ขันธ์ ๓ ทำนองเดียวกับ กุสสติกะ ).

วาระอื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้ว ).

จบพระไตรปิฏก เล่มที่ ๔๐

<< ย้อนกลับ  ||  หน้าถัดไป  >>

- ปัจจยวิภังควาร
- อนุโลมติกปัฏฐาน


» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๔

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๕

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๖

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๘

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๙

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๐

» พระะอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๒

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย