ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗

เล่มที่ ๔๐

ปัจจยวิภังควาร

วาระว่าด้วยการแจก คือการอธิบายปัจัยทีละข้อ

๑.เหตุปัจจัย คือเหตุที่เป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ประกอบกับเหตุ และแห่งรูปที่มีธรรมอันประกอบกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะ เป็นฐานะเป็นเหตุปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ ( เหตุเทียบด้วยรากไม้ต้นไม้จะมีผลเจริญงอกงามก็เพราะได้อาศัยรากดูดน้ำและโอชะอื่น ๆ มาหล่อเลี้ยง ).

๒.อารัมมณปัจจัยอายตนะหรืออารมณ์ คือ รูป , เสียง , กลิ่น , รส , โผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย ) , ธัมมะ ( สิ่งที่รู้ด้วยใจ ) เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณธาตุ คือความรู้แจ้งอารมณ์ทาง ตา หู เป็นต้น และแห่งธรรมที่ประกอบกับวิญญาณธาตุนั้น ๆ โดยฐานะเป็นอารัมณปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอารมณ์ ( อารมณ์คือสิ่งที่จิตเจตสิกยึดถือเหมือนยึดเกาะท่อนไม้ ).

๓.อธิปติปัจจัย ธรรมที่เป็นใหญ่ คือ ฉันทะ ( ความพอใจ ) วิริยะ ( ความเพียร ) จิตตะ ( ความเอาใจฝักใฝ่ ) วิมังสา ( ความพิจารณาสอบสวน ) เป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ประกอบกับฉันทะ เป็นต้นแต่ละข้อ และแห่งรูปที่มีธรรมที่ประกอบกับฉันทะ เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นอธิปติปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นใหญ่. อนันตรปัจจัย

๔. อนันตรปัจจัย จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุ และแห่งธรรมที่ประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น. โดยนัยนี้ โสตวิญญาณธาตุ จนถึง มโนวิญญาณธาตุ และธรรมที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุ เป็นต้น เป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุ และแห่งธรรมที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น โดยฐานะเป็นปัจจัย คือเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั้น. ธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นปัจจัย คือเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น . ธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอัพาหฤตหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น. ธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอันตรปัจจัย คืเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น. ธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอัพยากฤตหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น. ธรรมที่เป็นอัพยากฤตก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอัพยากฤตหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น. ธรรมที่เป็นอัพยากฤตก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น. ธรรมที่เป็นอัพยากฤตก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัยคือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น.

๕. สมนันตรปัจจัย มีอธิบายอย่างเดียวกับข้อ ๔ คืออนันตรปัจจัย ต่างแต่สิ่งที่เป็นปัจจัยในข้อนี้เป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นสมนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนอย่างกระชั้นชิด. ( มติของอาจารย์ในชั้นหลังมีอยู่ต่าง ๆ กัน บางท่านว่า อนันตรปัจจัย ( ปัจจัยโดยความเป็นของไม่มีอะไรคั้นในระหว่าง ) กับ สมนันตรปัจจัย ( ปัจจัยโดยความเป็ของกระชั้นชิด ) ต่างมีพยัญชนะ แต่เนื้อความเป็นอันเดียวกัน . บางอาจารย์กล่าวว่าต่างกัน คือ อนันตรปัจจัย เป็นของไม่มีอรรถะ คือเนื้อความอย่างอื่นคั่น . ส่วน สมนันตรปัจจัย เป็นของไม่กาละคั่น

๖. สหชาตปัจจัย ธรรม ๔ อย่างที่ไม่มีรูป ( คือรูป เวทนา , สังขาร , และ วิญญาณ ) เป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน . มหาภูตรูป ๔ ( ดิน , น้ำ , ไฟ , ลม ) เป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน . ในขณะที่ก้าวลง ( สู่ครรภ์มารดา คือขณะปฏิสนธิ ) นามและรูปเป็นปัจจัยของกันแลกัน โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน. ธรรมที่เป็น จิต และ เจสิก เป็นปัจจัยแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน. มหาภูตรูป ( รูปใหญ่คือ ดิน , น้ำ , ไฟ , ลม ) เป็นปัจจัยแห่ง อุปาทารูป ( รูปอาศัย คือรูปที่ปรากฏเพราะอาศัยมหาภูตรูป เช่น ความเป็นหญิง ความเป็นชาย ) โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน. ธรรมที่มีรูปเป็นปัจจัยของธรรมที่ไม่มีรูปในกาลบางครั้ง โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือมิใช่เป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน. แต่ในกาลบางครั้งก็เป็นปัจจัย มิใช่โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือมิใช่เป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน.

๗. อัญญมัญญปัจจัย ขันธ์ ๔ ที่ไม่มีรูป ( ได้แก่ เวทนา , สัญญา , สังขาร , และ วิญญาณ ) เป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นอัญญมัญญปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่อิงอาศัยกันและกัน . มหาภูตรูป ๔ ( ดิน , น้ำ , ไฟ , ลม ) เป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นอัญญมัญญปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่อิงอาศัยกันและกัน ในขณะก้าวลง ( ขณะปฏิสนธิ ) นามและรูปเป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นอัญญมัญญปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่อิงอาศัยกันและกัน .

๘. นิสสยปัจจัย ขันธ์ ๔ ที่ไม่มีรูป ( ได้แก่ เวทนา , สัญญา , สังขาร , และ วิญญาณ ) เป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนเป็นที่อาศัย . มหาภูตรูป ๔ ( ดิน , น้ำ , ไฟ , ลม ) เป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัย. ในขณะที่ก้าวลง ( ขณะปฏิสนธิ ) นามและรูปเป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัย . ธรรมคือจิตและเจตสิกเป็นปัจจัยของรูปที่มีจิตเป็น สมุฏฐาน โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย คือเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัย อายตนะ คือ ตา , หู , ลิ้น , กาย เป็นปัจจัยแห่ง ธาตุ คือ ความรู้แจ้ง ( วิญญาณธาตุ ) ทางตา , หู , ลิ้น , กาย และธรรมที่ประกอบวิญญาณธาตุชนิดนั้น ๆ. มโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) มโนสิญญาณธาตุ ( ธาตุคือความรู้แจ้งทางใจ ) อาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นเป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุและแห่งธรรมที่ประกอบกับมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัย.

๙. อุปนิสสยปัจจัย ธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัยโดยสืบต่อกันมา. ต่อจากนี้มีข้อความคล้ายกับข้อ ๔ ต่างแต่เป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย . แม้บุคคลก็เป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัยสืบต่อกันมา . แม้เสนาสนะก็เป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัยสืบต่อกันมา . คำว่า นิสสยปัจจัย กับ อุปนิสสยปัจจัย มีคำใกล้กัน นิสสย แปลว่า เป็นที่อาศัย อุปนิสสยะ แปลว่า ใกล้จะเป็นที่อาศัย แต่แปลหักตามเนื้อหาว่า เป็นที่อาศัยสืบต่อกันมา คืออาศัยพอเป็นเค้า เป็นเชื้อ มีความหนักแน่นน้อยกว่า นิสสยะ ).

๑๐. ปเรชาตปัจจัย อานตนะคือ ตา , หู , ลิ้น , กาย เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณธาตุทางตา , หู , ลิ้น , กาย ตามประภทของตน และแห่งธรรมที่ประกอบด้วยวิญญาณธาตุนั้น ๆ โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อน . อายตนะคือ รูป , เสียง , กลิ่น , รส , โผฏฐัพพะ เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณธาตุนั้น โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อน. อายตนะคือ รูป , เสียง , กลิ่น , รส , โผฏฐัพพะ เป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุ และธรรมะที่ประกอบด้วยมโนธาตุ โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัยคือเครื่องสนับสนุนเกิดก่อน. มโนธรรมและมโนซิญญาณธาตุอาศัยรูแใดเป็นไป รูปนั้นเป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุและแห่งธรรมที่ประกอบด้วยมโนธาตุ โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อน. รูปนั้นเป็นปัจจัยแห่งมโนวิญญาณธาตุในกาลบางครั้ง โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อนในกาลบางครั้งก็เป็นปัจจัย โดยมิใช่ฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย คือมิใช่เป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อน.

๑๑.ปัจฉาชาตปัจจัยธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ย่อมเป็นปัจจัยแห่งกายนี้ซึ่งเกิดก่อน โดยฐานะเป็นปัจฉาชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดภายหลัง.

๑๒. อาเสวนปัจจัยธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอาเสวนปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนโดยการส้องเสพ. ธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอาเสวนปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนโดยการส้องเสพ . ธรรมที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอาเสวนปัจจัย เป็นเครืองสนับสนุนโดยการส้องเสพ. ( ธรรมประเภทเดียวกันเมื่อส้องเสพหรือประพฤติบ่อย ๆ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมประเภทเดียวกันนั้นต่อไปอีก ).

๑๓. กัมมปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลย่อมเป็นปัจจัยแห่งขันธ์ที่เป็นวิบาก และแห่ง กฏัตตารูป ( รูปที่เกิดเพราะทำกรรมไว้ เรียกว่า กัมมชรูป ก็ได้ ) โดยฐานะเป็นกัมมปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นกรรมคือการกระทำ. กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ประกอบด้วยเจตนา และแห่งรูปที่มีธรรมอันประกอบด้วยเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นกัมมปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นกรรมคือการกระทำ.

๑๔. วิปากปัจจัย ขันธ์ ๔ ที่ไม่มีรูปซึ่งเป็นผลของกรรมย่อมเป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นวิปากปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นผลของกรรม.

๑๕. อาหารปัจจัยอาหารเป็นคำ ๆ ( อาหารที่กลืนกิน ) เป็นปัจจัยของกายนี้ โดยฐานะเป็นอาหารปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอาหาร อาหารที่ไม่มีรูป เป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ประกอบกัน ( สัมปยุตตธรรม ) . และแห่งรูปที่มีสัมปยุตตธรรมนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นอาหารปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอาหาร.

๑๖. อินทริยปัจจัยอินทรีย์คือ ตา , หู , ลิ้น , กาย เป็นปัจจัยแห่ง วิญญาณธาตุ ทางตา , หู , จมูก , ลิ้น , กาย และธรรมที่สัมปยุตด้วยวิญญาณธาตุชนิดนั้น ๆ โดยฐานะเป็นอินทรีย์ปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอินทรีย์ ( คือธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ). อินทรีย์คือรูปชีวิต เป็นปัจจัยแห่ง กฏัตตารูป รูปซึ่งเกิดแต่กรรม ) โดยฐานะเป็นอินทรีย์ปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอินทรีย์. อินทรีย์ที่ไม่มีรูป เป็นปัจจัยแห่งสัมปยุตตธรรม และรูปที่มีสัมปยุตตธรรมนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นอินทริยปัจจัยคือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอินทีรย์.

๑๗. ฌาณปัจจัย องค์แห่งฌานย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่สัมปยุต ( ประกอบ ) ด้วยฌาน และรูปที่มีธรรมที่สัมปยุตด้วยฌานนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นฌานปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นฌาน.

๑๘. มัคคปัจจัย องค์แห่งมรรคย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรค และแห่งรูปที่มีธรรมอันสัมปยุตด้วยมรรคนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นมัคคปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นมรรค.

๑๙. สัมปยุตตปัจจัยขันธ์ ๔ ที่ไม่มีรูป ( ได้แก่ เวทนา , สัญญา , สังขาร, และ วิญญาณ ) เป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นสัมปยุตตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นของประกอบกัน ( คือเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน ).

๒๐. วิปปยุตตปัจจัยธรรมที่เป็นรูปย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ไม่มีรูป. ธรรมที่ไม่มีรูปย่อมย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่มีรูป โดยฐานะเป็นวิปปยุตตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่ประกอบกัน ( ไม่เกิดพร้อมกันไม่ดับพร้อมกัน ).

๒๑. อัตถิปัจจัย ขันธ์ ๔ ที่ไม่มีรูป เป็นปัจจัยของกันและกัน. มหาภูตรูป ๔ ( ดิน , น้ำ , ไฟ , ลม ) เป็นปัจจัยของกันและกัน , ธรรมที่เป็น จิต และ เจตสิก เป็นปัจจัยแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน , อายตนะคือตา , หู , จมูก , ลิ้น , กาย เป็นปัจจัยแห่ง จักขุวิญญาณธาตุ เป็นต้น และแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วย จักขุวิญญาณธาตุ เป็นต้นนั้น ๆ , อายตนะคือรูป , เสียง , กลิ่น , รส , โผฏฐัพพะ เป็นปัจจัยแห่ง จักขุวิญญาณธาตุ เป็นต้น และแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วย จักขุวิญญาณธาตุ นั้น ๆ, โดยความเป็นอัตถิปัจจัยคือความเป็นเครื่องสนับสนุนที่มีอยู่. มโนธาตุ , และ มโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นย่อมเป็นปัจจัยแห่ง มโนธาตุ แห่ง มโนวิญญาณธาตุ และแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วย มโนธาตุ , และ มโนวิญญาณธาตุ นั้น โดยฐานะเป็น อัตถิปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่มีอยู่.

๒๒. นัตถิปัจจัย ธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่ดับไปในขณะกระชั้นชิด ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า โดยฐานะเป็น นัตถิปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มี

๒๓. วิตตปัจจัย ธรรมที่เป็น จิต และ เจตสิก ที่ไปปราศ คือพ้นไป หมดไปในขณะกระชั้นชิด ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า โดยฐานะเป็น วิตตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นไปปราศ คือพ้นไป หมดไป

๒๔. อวิตตปัจจัย มีคำอธิบายเหมือน อัตตถิปัจจัย.

(หมายเหตุ? ปัจจัยข้อที่ ๒ – ๓- ๔- ๕ มีข้อความตอนท้ายพ้องกันมิได้กล่าวไว้ ขอถือโอกาสนำมากล่าวรวมไว้ ในหมายเหตุนี้ คือกล่าวถึงธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้น เพราะปรารภธรรมใด ๆ หรือเกี่ยวเนื่องกับธรรมใด ๆ ธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมนั้น ๆ โดยฐานะเป็นอารัมมณปัจจัยบ้าง , อธิปติปัจจัยบ้าง , อนันตรปัจจัยบ้าง , สมนะนตรปัจจัยบ้าง ).

เล่มที่ ๔๐ ชื่อยมก ภาคที่ ๑ เป็นอภิธัมมปิฎก ( เล่ม ๗ )

<< ย้อนกลับ  ||  หน้าถัดไป  >>

- ปัจจยวิภังควาร
- อนุโลมติกปัฏฐาน


» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๔

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๕

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๖

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๘

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๙

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๐

» พระะอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๒

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย