วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ข้าว (Rice) Oryza sativa L.
ข้าวโพด (corn, maize) Zea mays L.
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.
ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.
ข้าวไรน์ (Rye) Secale cereale L.
เอกสารอ้างอิง
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
วงศ์ GRAMINAE, POACEAE
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวฟ่างที่เป็นพันธุ์ป่าและพันธุ์ปลูก
พบมากที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา
มีการสันนิษฐานว่าประเทศเอธิโอเปียมีการปลูกข้าวฟ่างเป็นพืชอาหารหลักเมื่อประมาณ
5,000-7,000 ปี มาแล้ว โดยมีการคัดเลือกพันธุ์จากข้าวฟ่างป่า
ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า S. bicolor (L.) Moench subsp. verticilliflorum (Steud.)
มีชื่อพ้องว่า S. arundinaceum (Desv.) Stapf. ซึ่งมีการแพร่กระจายมายังประเทศต่างๆ
ในตะวันออกกลางจนถึงอินเดีย โดยเส้นทางการเดินเรือและการติดต่อค้าขายอย่างน้อยเมื่อ
3,000 ปีที่แล้ว จากนั้นมีการแพร่หลายไปยังประเทศจีนโดยผ่านไปตามเส้นทางสายไหม
และแพร่กระจายมายังพม่าและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามบริเวณแนวชายฝั่งทะเลโดยเส้นทางการเดินเรือจากประเทศจีน
ข้าวฟ่างถูกนำเข้าสู่ทวีปอเมริกาโดยทาสผิวดำจากทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา
และได้มีการนำข้าวฟ่างเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยการติดต่อซื้อขายจากแอฟริกาเหนือ
แอฟริกาใต้ และอินเดีย ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
มีการนำพันธุ์ข้าวฟ่างเข้าไปปลูกอย่างแพร่หลายในทวีปอเมริกาใต้และออสเตรเลีย(CGIAR
online, 2001) เพื่อผลิตเมล็ดข้าวฟ่างเป็นอาหารคนและใช้เลี้ยงสัตว์
ในปัจจุบันมีการปลูกข้าวฟ่างอย่างแพร่หลายในทวีปแอฟริกา เอเชีย อเมริกาเหนือ
อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย
ข้าวฟ่างที่ปลูกในประเทศจีน
มีลักษณะที่แตกต่างไปจากข้าวฟ่างซึ่งปลูกในประเทศอินเดีย พม่า
บริเวณชายฝั่งทะเลของเกาหลีและจีน และพบว่าข้าวฟ่างที่นิยมปลูกในประเทศไทย พม่า
และพื้นที่บางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแป้งที่มีลักษณะเหนียว
ซึ่งถูกคัดเลือกพันธุ์ปลูกโดยเกษตรกรในท้องถิ่น
ข้าวฟ่างเป็นธัญพืชที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 5 รองจากข้าวสาลี ข้าว
ข้าวโพด และข้าวบาร์เลย์
สามารถปลูกได้บนพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงที่ระดับความสูง 2,200 เมตร
จากระดับน้ำทะเล และที่เส้นรุ้ง 50 องศาเหนือในสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย จนถึง 40
องศาใต้ ในประเทศอาร์เจนตินา (จุฬี, 2540 ; Stenhouse and Tippayaruk, 1996)
ภาพข้าวฟ่าง (Sorghum bicolor (L.) Moench)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกข้าวฟ่าง
การใช้ประโยชน์
คุณค่าทางอาหาร
การขยายพันธุ์
นิเวศวิทยา
การเก็บเกี่ยว-การส่งออก