วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

ธัญพืช
(Cereals)

ข้าว (Rice) Oryza sativa L.
ข้าวโพด (corn, maize) Zea mays L.
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.
ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.
ข้าวไรน์ (Rye) Secale cereale L.
เอกสารอ้างอิง

ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench

การใช้ประโยชน์

เมล็ดข้าวฟ่างถูกนำมาใช้เป็นอาหารมนุษย์โดยการหุงต้มแบบเดียวกับข้าว การนำมาอบ ปิ้ง หรือคั่วให้พองแล้วแตกออกเหมือนข้าวโพด เมื่อนำเมล็ดมากระเทาะให้ผนังผลที่มีสีสันหลุดออกไป แป้งที่อยู่ภายในจะถูกนำมาใช้ต้มเป็นข้าวเปียก นำมาทำขนมปังแผ่น ขนมปังก้อน เส้นก๋วยเตี๋ยว และเส้นหมี่ เมล็ดข้าวฟ่างที่มีรสขมถูกนำมาใช้ในการผลิตเบียร์ โดยการนำเมล็ดข้าวฟ่างมาเพาะให้งอกก่อนนำไปหมักด้วยยีสต์ ในการหมักเมล็ดข้าวฟ่างเป็นเบียร์นั้นพบว่ามีระดับแอลกอฮอล์ที่สูงขึ้นและมีปริมาณโปรตีนสูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าทางอาหาร ในทวีปแอฟริกานิยมนำเมล็ดข้าวฟ่างมาหมักเป็นโยเกิร์ตที่มีรสเปรี้ยวและกลิ่นหอม (Stenhouse and Tippayaruk, 1996)

แป้งจากเมล็ดข้าวฟ่างถูกนำมาใช้ผลิตกาวสำหรับกระดาษปิดผนังและไม้อัด (Nebraska Agriculture In the Classroom, 2004)

เมล็ดข้าวฟ่างยังถูกนำไปใช้ในการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ โดยตรง เช่น วัว ควาย หมู เป็ด ไก่ และนก รวมทั้งการนำไปผสมอาหารสัตว์ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ซึ่งมีการใช้ข้าวฟ่างเป็นอันดับสองรองจากข้าวโพด ลำต้นข้าวฟ่างที่มีน้ำตาลมากถูกนำมาผลิตน้ำตาล น้ำเชื่อม และหมักเป็นเอธิลแอลกอฮอล์ได้ โดยสามารถวัดความหวานของน้ำตาลในลำต้นได้ถึง 14 องศาบริกซ์ และเมื่อนำมาเคี่ยวเป็นน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมจะมีความหวานสูงถึง 70-75 องศาบริกซ์ (Rajvanshi et al, 2004) กากที่เหลือจากการหีบน้ำตาลออกจากลำต้นถูกนำไปใช้เลี้ยงสัตว์และทำเชื้อเพลิง



นอกจากนี้ข้าวฟ่างบางพันธุ์ยังถูกปรับปรุงพันธุ์มาพื่อใช้ส่วนของลำต้นและใบเป็นอาหารสัตว์โดยตรง เช่น หญ้าซูดาน หญ้าจอนสัน ก้านช่อดอกของข้าวฟ่างไม้กวาด ถูกนำมาใช้ในการทำไม้กวาด แปรงทาสี และพู่กัน (จุฬี, 2540 ; Stenhouse and Tippayaruk, 1996)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกข้าวฟ่าง
การใช้ประโยชน์
คุณค่าทางอาหาร
การขยายพันธุ์
นิเวศวิทยา
การเก็บเกี่ยว-การส่งออก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย