วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

ธัญพืช
(Cereals)

ข้าว (Rice) Oryza sativa L.
ข้าวโพด (corn, maize) Zea mays L.
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.
ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.
ข้าวไรน์ (Rye) Secale cereale L.
เอกสารอ้างอิง

ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench

คุณค่าทางอาหาร

เมล็ดข้าวฟ่างแห้งหนัก 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 8-16 กรัม โปรตีน 8-15 กรัม ไขมัน 2-6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 70-80 กรัม เส้นใย 1-3 กรัม เถ้า 1-2 กรัม พลังงาน 1,300-1,600 กิโลกรัม/100 กรัม ของส่วนที่รับประทานได้ เมล็ดข้าวฟ่าง 1,000 เมล็ด หนัก 13-40 กรัม สารแทนนินในเมล็ดข้าวฟ่างเป็นตัวกำหนดคุณค่าทางโภชนาการ เนื่องจากสารแทนนินสามารถยึดจับกับโปรตีน และทำให้มีการย่อยโปรตีนได้น้อยลง โปรตีนส่วนใหญ่ คือ โปรลามีน (prolamine) ซึ่งไม่ค่อยมีคุณค่าทางโภชนาการนัก นอกจากนี้สารแทนนินที่อยู่บนส่วนต่างๆ ของเมล็ดยังทำให้เมล็ดมีรสขมด้วย โดยพบว่าเมล็ดข้าวฟ่างที่มีสีแดง ชมพู และน้ำตาลมักมีรสขมกว่าเมล็ดข้าวฟ่างสีขาวและเหลือง ซึ่งสารแทนนินสามารถถูกกำจัดออกได้โดยการขัดสีผนังผลและเปลือกเมล็ด แต่ถ้าสารแทนนินอยู่ในเอนโดสเปิร์มซึ่งเต็มไปด้วยแป้ง ก็ถูกกำจัดออกยาก

 

ลำต้นสดของข้าวฟ่างมีปริมาณสารอาหารแตกต่างกันตามพันธุ์และอายุของลำต้น โดยทั่วไปพบว่า ลำต้นสดหนัก 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 78-86 กรัม ลำต้นแห้งหนัก 100 กรัม ประกอบด้วยโปรตีน 12 กรัม คาร์โบไฮเดรต 40-50 กรัม เส้นใย 20-30 กรัม ในการใช้ลำต้นและใบสดของข้าวฟ่างเลี้ยงสัตว์ ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับปริมาณของกรดไฮโดรไซยานิก (hydrocyanic acid) ที่มีอยู่ในปริมาณที่แตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ด้วย เนื่องจากในสภาพที่แห้งแล้งมากนั้น จะมีการสร้างและสะสมสารนี้สูงในส่วนของใบอ่อนและกิ่งแขนง ถ้าสัตว์ได้รับสารนี้ในปริมาณมากอาจทำให้สัตว์ป่วยและตายได้ แต่ถ้านำส่วนลำต้นและใบไปทำหญ้าแห้งเลี้ยงสัตว์สารนี้ก็จะสลายไป (กฤษฎา, 2537 ; Stenhouse and Tippayaruk, 1996)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกข้าวฟ่าง
การใช้ประโยชน์
คุณค่าทางอาหาร
การขยายพันธุ์
นิเวศวิทยา
การเก็บเกี่ยว-การส่งออก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย