วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ข้าว (Rice) Oryza sativa L.
ข้าวโพด (corn, maize) Zea mays L.
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.
ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.
ข้าวไรน์ (Rye) Secale cereale L.
เอกสารอ้างอิง
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชปีเดียว ลำต้นแข็งตั้งตรง มีความสูงตั้งแต่ 0.5-5.0 เมตร
อาจมีการแตกกอหรือไม่มีการแตกกอจากข้อที่โคนลำต้น
มีรากพิเศษเจริญจากข้อล่างสุดของลำต้นช่วยในการหยั่งลงพื้นดิน
รากหยั่งลึกลงดินได้ตั้งแต่ 90-180 เซนติเมตร ระบบรากแผ่กว้างได้ถึง 1.5 เมตร
ข้าวฟ่างบางพันธุ์ลำต้นมีน้ำในเนื้อเยื่อมากและอาจมีรสหวาน
ไส้กลางของลำต้นเป็นเนื้อเยื่อไส้ไม้ที่มีช่องว่างระหว่างเซลล์มาก
มีลักษณะนุ่มคล้ายฟองน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยวมีจำนวน 7-24 ใบขึ้นกับสายพันธุ์
การเรียงใบแบบสลับ โคนใบตั้งตรง ปลายใบโค้งลง กาบใบยาว 15-35 เซนติเมตร
ห่อหุ้มส่วนของลำต้นและมีการซ้อนกันระหว่างกาบใบที่เจริญออกมาจากข้อที่อยู่ติดกัน
แผ่นใบมีไขสีขาวหุ้ม มีแถบขนเล็กๆ สีขาวบริเวณโคนใบ
แผ่นใบรูปหอกจนถึงรูปแถบผสมรูปใบหอก ยาว 30-135 เซนติเมตร กว้าง 1.5-13 เซนติเมตร
ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น เส้นกลางใบสีขาว เหลืองหรือเขียว มีลิ้นใบซึ่งมีขนเล็ก ๆ
ที่ขอบด้านบนมีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร เขี้ยวใบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือรูปใบหอก
ช่อดอกเป็นแบบช่อแยกแขนง
ก้านช่อดอกตั้งตรงหรือโค้งลงมีการแตกแขนงของช่อดอกออกเป็นสองชั้น สามชั้น
หรือสี่ชั้นขึ้นกับสายพันธุ์ ช่อดอกย่อยเป็นแบบช่อกระจะ ช่อดอกแยกกระจายออกจากกัน
ความยาวของช่อดอกขึ้นกับสายพันธุ์
ช่อดอกย่อยประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศที่ไม่มีก้านดอกย่อยจำนวน 1 ดอก ส่วนดอกอื่นๆ
เป็นดอกเพศผู้หรือดอกที่เป็นหมันซึ่งมีก้านดอกย่อย
ช่อดอกย่อยพบว่ามีก้านช่อดอกย่อยและไม่มีก้านช่อดอกย่อย มีกาบช่อย่อย 2
กาบยาวเท่ากันลักษณะเป็นแผ่นแห้ง รูปไข่ รูปรี หรือรูปไข่กลับ ห่อหุ้มดอกย่อย 2
ดอกที่ประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศที่ไม่มีก้านดอกย่อยและดอกที่เป็นหมัน
ดอกสมบูรณ์เพศยาวประมาณ 3-10 มิลลิเมตร มีกาบล่าง และกาบบนห่อหุ้ม
อาจพบว่ามีหางเจริญออกมาจากกาบล่าง มีกลีบเกล็ด 2 อัน มีเกสรเพศผู้ 3 อัน
เกสรเพศเมีย 1 อัน มีก้านเกสรเพศเมียยาวและแยกเป็นสองแฉก
โดยส่วนปลายยอดเกสรเพศเมียมีลักษณะเป็นพู่คล้ายขนนก
ดอกที่เป็นหมันมีเฉพาะกาบบนเป็นส่วนประกอบของดอก ผลเป็นแบบผลธัญพืช
ถูกห่อหุ้มด้วยกาบช่อย่อยที่มีลักษณะกลม หรือมีปลายทู่เป็นบางส่วน
มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-8 มิลลิเมตร โดยมีขนาด รูปร่าง
และสีสันของผลที่นิยมเรียกว่าเมล็ดแตกต่างกันไปตามพันธุ์ (Stenhouse and
Tippayaruk, 1996)
ภาพข้าวฟ่างในกลุ่มที่มีเมล็ดสีขาว
(สุรชัย, 2535)
ภาพข้าวฟ่างในกลุ่มที่มีเมล็ดสีเหลือง
(สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2535)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกข้าวฟ่าง
การใช้ประโยชน์
คุณค่าทางอาหาร
การขยายพันธุ์
นิเวศวิทยา
การเก็บเกี่ยว-การส่งออก