ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

พุทธศาสนสุภาษิต

หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป

  • ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
  • ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
  • สังขารที่ยั่งยืน ไม่มี
  • ภาวะของหญิง รู้ได้ยาก
  • พึงเพิ่มพูนความสละออกให้มากไว้
  • ศรี เป็นที่อาศัยแห่งโภคทรัพย์
  • ความหิว เป็นโรคอย่างยิ่ง
  • ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่
  • เมตตา เป็นเครื่องค้ำจุนโลก
  • พึงศึกษาความสงบนั้นแล
  • ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง
  • ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก
  • ความเป็นอยู่ของสัตว์ เป็นการยาก
  • ความได้เป็นมนุษย์ เป็นการยาก
  • การได้ฟังธรรมจากสัตบุรุษ เป็นการยาก
  • วัยย่อมผ่านพ้นไปทุกขณะทีเดียว
  • มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
  • เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทิน
  • กำลังใจ พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย
  • ได้ยศแล้ว ไม่ควรเมา
  • ผู้อื่นพึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
  • โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
  • ความถึงพร้อมแห่งขณะ หาได้ยาก
  • สิ่งใดไม่ผิด พึงถือเอาสิ่งนั้น
  • เมื่อยังไม่ถึง ไม่ควรพูดอวด
  • ผู้เพ่งสันติ พึงละอามิสในโลกเสีย
  • ในเวลามีข้าวน้ำ ย่อมต้องการคนที่รัก
  • อำนาจ เป็นใหญ่ในโลก
  • ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
  • พรตของผู้บริสุทธิ์ มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ
  • ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้
  • กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
  • ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่ม ผู้ทอดทิ้งการงาน
  • ท่านทั้งหลายจงมีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
  • ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก
  • ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ มีเฉพาะตัว
  • สัตบุรุษ ไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา
  • สิ่งใดที่เข้าไปยึดถืออยู่จะพึงหาโทษมิได้ สิ่งนั้นไม่มีในโลก
  • สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ย่อมเป็นไปตามปัจจัย
  • ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่ ผู้มัวถือฤกษ์อยู่
  • พึงปรารถนาความไม่มีโรค ซึ่งเป็นลาภอย่างยิ่ง
  • การเห็นพระพุทธเจ้าเนือง ๆ เป็นการหาได้ยาก
  • ในบรรดาที่ปรึกษา ย่อมต้องการคนไม่พูดพล่าม
  • หิริและโอตตัปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
  • ต่อหน้าประพฤติเช่นใด ถึงลับหลังก็ให้ประพฤติเช่นนั้น
  • ความเป็นไปของคนไร้ศิลปะ ย่อมฝืดเคือง
  • ความริษยา เป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
  • ขณะเวลา อย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
  • ในเมื่อเรื่องราวเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต
  • ความเกียจคร้าน เป็นมลทินแห่งผิวพรรณ
  • สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ
  • สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย
  • ในเวลาคับขัน ย่อมต้องการคนกล้า
  • ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
  • บรรดาทางทั้งหลาย ทางที่มีองค์ (มรรค) เป็นทางเกษมให้ถึงอมตธรรม
  • ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับจากทุกข์
  • โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้น
  • ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก
  • รูปโฉม พอลวงคนโง่ให้หลงได้ แต่ลวงคนแสวงหาพระนิพพานไม่ได้เลย
  • ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ
  • ร่างกายของสัตว์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ
  • ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้เช่นใดเช่นหนึ่ง ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
  • อัชฌาสัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณา เป็นลักษณะของมหาบุรุษ
  • สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
  • บุคคลไม่เพลินเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอก มีสติดำเนินอยู่อย่างนี้ วิญญาณย่อมดับ
  • พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมณพราหมณ์ และ ฝั่งทะเล ต่างก็มีกำลัง, แต่สตรีมีกำลังยิ่งกว่ากำลัง (เหล่านั้น)
  • ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้
  • กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี ผู้ใดส้องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก
  • พระตถาคตเจ้าย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือเพื่อสตรี และ บุรุษผู้ทำตามคำสอน
  • ภิกษุรื่นรมย์ยินดีในธรรม ใคร่ครวญธรรม และระลึกถึงธรรมอยู่เนือง ๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม
  • ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน ไม่พึงลุอำนาจของโลภะ พึงกำจัดใจที่ละโมภเสีย
  • โลกถูกมฤตยูกำจัด ถูกชราล้อมไว้ไม่มีผู้ต้านทาน ย่อมเดือนร้อยเป็นนิตย์ ดุจคนต้องโทษ ต้องทำตามอาชญาฉะนั้น
  • กามคุณ ในโลก มีใจเป็นที่ อันท่านชี้แจงไว้แล้ว, บุคคลคลายความพอใจในกามคุณนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้
  • ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
  • ผู้ใด ต้องการสุขเพื่อตน ด้วยการก่อทุกข์แก่ผู้อื่น, ผู้นั้นชื่อว่าพัวพันไปด้วยเวร ย่อมไม่พ้นจากเวร
  • พึงศึกษาวิเวก ซึ่งเป็นคุณอันสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย, ไม่ถือตัวว่าเป็นผู้ประเสริฐเพราะวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่าปฏิบัติใกล้พระนิพพาน
  • สัตว์โลกหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และ ธรรมารมณ์นั้น ล้วนเป็นโลกามิสอันร้ายกาจ
  • คนรู้จักขนบธรรมเนียม ย่อมยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่ ในชาตินี้ก็มีผู้สรรเสริญ ชาติหน้าก็ไปดี
  • สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้, สิ่งที่คิดไว้ ก็เสียหายได้, โภคะของสตรีหรือบุรุษ ที่สำเร็จได้ด้วยนึกเอาไม่มีเลย
  • คนใด จักทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว คนนั้นจักถึงฝั่งที่สวัสดี เหมือนพ่อค้าถึงฝั่งที่สวัสดีเพราะม้าวลาหก
  • ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่, ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้
  • ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำความชั่วไม่มีในโลก, คนทั้งหลายเห็นเป็นป่า แต่คนเขลาสำคัญที่นั้นว่าเป็นที่ลับ
  • พระราชาดี ที่ทรงยินดีในธรรม, คนดี ที่มีปัญญา, เพื่อนดีที่ไม่ประทุษรายมิตร, สุข อยู่ที่ไม่ทำบาป
  • ควรระแวงภัยที่ควรระแวง พึงระวังภัยที่ยังไม่มาถึง ผู้ฉลาดย่อมมองดูโลกทั้ง เพราะกลัวต่ออนาคต
  • เมื่อพ้นเพราะรู้ชอบ สงบคงที่แล้ว ใจคอของเขาก็สงบ คำพูดและการกระทำก็สงบ
  • ผู้ใดไม่มีกามอยู่ ผู้ใดไม่มีตัณหา และผู้ใดข้ามความสงสัยได้, ผู้นั้นย่อมมีความพ้น ที่ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่นอีก
  • ผู้ใดผูกอาฆาตว่า เขาได้ด่าเรา เขาได้ฆ่าเรา เขาได้ชนะเรา เขาได้ลักของของเรา ดังนี้ เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับ
  • คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ , ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย
  • ถ้าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติภพนี้เป็นทุกข์ สัตว์ก็ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก
  • ผู้เห็นความประมาทเป็นภัย และเห็นควมไม่ประมาทเป็นความปลอดภัยแล้ว พึงเจริญมรรคมีองค์ นี้เป็นพุทธาศาสนี
  • พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และพึงกล่าวแต่คำสัตย์อย่างนี้ ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
  • แม้มีปัญญารุ่งโรจน์อย่างไฟ เมื่ออยู่ในต่างประเทศ ก็ควรอดทนคำขู่เข็ญแม้ของทาส
  • ผู้สงบ เว้นบาป ฉลาดพูด ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมขจัดบาปธรรมเสียได้ เหมือนลมกำจัดใบไม้ฉะนั้น
  • คนทำกรรมใดด้วยทาน ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยความสำรวม และ ด้วยการฝึกตน ย่อมมีความสุข เพราะกรรมนั้นย่อมไม่ตามเผาผลาญในภายหลัง
  • คนใดมักหลับ มักคุย และไม่ขยัน เกียจคร้าน มีความมุทะลุ ข้อนั้น เป็นเหตุของผู้ฉิบหาย
  • การไม่เห็นสิ่งที่รักเป็นทุกข์ และการเห็นสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์ เหตุนั้น จึงไม่ควรทำอะไรให้เป็นที่รัก เพราะความพรากจากสิ่งที่รัก เป็นสิ่งที่ไม่ดีเลย
  • ธงเป็นเครื่องปรากฎของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฎของไฟ พระราชาเป็นเครื่องปรากฎของแว้นแคว้น สามีเป็นเครื่องปรากฎของสตรี
  • ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น ไม่ควรมองดูการงานของคนอื่น ที่เขาทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ, ควรพิจารณาดู แต่การงาน ของตนที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำเท่านั้น
  • คนเขลา มีกำลัง หาทรัพย์อย่างผลุนผลัน ไม่ดี, นายนิรยบาล ย่อมฉุดคนโง่มีปัญญาทราม ผู้คร่ำครวญอยู่ ไปสู่นรกอันร้ายกาจ
  • เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เห็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร ผู้มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข
  • บุคคลไม่ความเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง, ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณย่อมผ่องใส
  • บุคคลได้สิ่งใด ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น, ปรารถนาสิ่งใด ดูหมิ่นสิ่งที่ได้แล้วนั้น, เพราะความต้องการไม่มีที่สุด, พวกเราจงทำความนอบน้อมผู้ปราศจากความต้องการเถิด
  • ในโลกนี้ พวกที่ชอบถือตัว ย่อมไม่มีการฝึกตน, คนมีใจไม่มั่นคง ย่อมไม่มีความรู้, ผู้ประมาทแม้อยู่ในป่าคนเดียว ก็ข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยูไม่ได้
  • ชีวิตคืออายุอันน้อยนี้ ถูกชรานำเข้าไป เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น มุ่งความสงบ พึงละโลกามินเสีย

    » หมวดเบื้องต้น

    » หมวดบุคคล

    » หมวดการศึกษา

    » หมวดวาจา

    » หมวดอดทน

    » หมวดความเพียร

    » หมวดความโกรธ

    » หมวดการชนะ

    » หมวดความประมาท

    » หมวดความไม่ประมาท

    » หมวดตน- ฝึกตน

    » หมวดมิตร

    » หมวดคบหา

    » หมวดสร้างตัว

    » หมวดการปกครอง

    » หมวดสามัคคี

    » หมวดเกื้อกูลสังคม

    » หมวดพบสุข

    » หมวดทาน

    » หมวดศีล

    » หมวดจิต

    » หมวดปัญญา

    » หมวดศรัทธา

    » หมวดบุญ

    » หมวดความสุข

    » หมวดธรรม

    » หมวดกรรม

    » หมวดกิเลส

    » หมวดบาป-เวร

    » หมวดทุกข์-พ้นทุกข์

    » หมวดชีวิต-ความตาย

    » หมวดพิเศษ

    *** คัดลอกมาจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์

    แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย