ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย
พิธีกรรม >>
หอพระไตร
พุทธศาสนสุภาษิต
หมวดธรรม
ธรรม เหมือนห้วงน้ำไม่มีตม
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ธรรมของสัตบุรุษ ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า
ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ
ธรรมแล เป็นธงชัยของพวกฤษี
ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยาก
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต
สัจจะ เป็นรสดียิ่งกว่าประดารสทั้งหลาย
บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว
ศีล เป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย
เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง มีหวังไปสุคติ
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต
การระมัดระวังกาย เป็นความดี
การระมัดระวังใจ เป็นความดี
ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ปราชญ์ พึงรักษาศีล
คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์
ทำได้แล้วค่อยพูด
ถึงพูดดี ก็ไม่ควรพูดเกินเวลา
โลก ถูกจิตนำไป
การฝึกจิต เป็นการดี
เมื่อจิตเศร้าหมอง มีหวังไปทุคติ
ศีล ยอดเยี่ยมในโลก
พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น
ความกตัญญูกตเวที เป็นพื้นฐานของคนดี
ศีล พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งจิต ย่อมเดือดร้อน
ธรรมะ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมของสัตบุรุษ อันสัตบุรุษควรรักษา
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้
ควรเคารพสัทธรรม
ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
ทำไม่ได้ อย่าพูด
ศรัทธา เป็นเพื่อนแท้ของคน
ความสะอาด รู้ได้ด้วยคำพูด
คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำโชคอยู่ตลอดเวลา
ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี
พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป
ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
ผู้มีปิติในธรรม อยู่เป็นสุข
ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
ผู้ตั้งมั่นอยู่ในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง
เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม
คนมีสติ ย่อมดีขึ้นทุกวัน
สติ คือความตื่นในโลก
ผู้มีจิตใจตั้งมั่น ย่อมไม่เบียดเบียนคนอื่น และ แม้ตนเอง
ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้งอาศัย เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั่วไป ฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดเพ้อ มีปรีชา ไม่หยิ่ง มีใจมั่นคงนั้นแล ย่อมงดงามในธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
สัจจะ ธรรมะ อหิงสะ สัญญมะ และ ทมะ มีอยู่ในผู้ใด อารยชนย่อมคบผู้นั้น
นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก
ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว
ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง
ชนเหล่าใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนเหล่านั้น
จักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก
ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี, ผู้นั้นย่อมห่างจากประสัทธรรม
เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น
ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ ไม่เยื่อใยในกาม
ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ
โสรัจจะ และ อวิหิงสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง สติ และ สัมปชัญญะนั้น
เป็นช้างเท้าหน้า
ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ดารดาษด้วยดอกไม้คือวิมุติติ
หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน
ผู้มีปัญญาทราม มีจิตใจกระด้าง ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ก็ยังห่างไกลจากพระสัทธรรม เหมือนดินกับฟ้า
ผู้ใดสอนธรรมแก่คนที่ปฏิบัติไม่ถูก ถ้าเขาทำตามคำของผู้นั้น จะไม่ไปสู่ทุคติ
เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก,
พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้
นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด ปัญญา สติ และนามรูปนี้ย่อมดับในที่นั้น
เพราะวิญญาณดับ
กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม คนสามัญไม่อาศัยธรรม ชนทั้ง นั้นละโลกแล้ว
ย่อมเข้าถึงทุคติ
ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย พากเพียรละ
ความเกิดความตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน
กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร จัณฑาล และ คนงานชั้นต่ำ ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว
ย่อมเป็นผู้เสมอกันในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์
พึงเป็นผู้พอใจ และ ประทับใจ ในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม
ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน
คนมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวอยู่ช้านาน ไม่ล่วงพ้นสงสารที่กลับกลอกไปได้
ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง
ละกิเลศเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน
ผู้ถูกราคะย้อม ถูกกองมืด (อวิชชา) ห่อหุ้มแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม
สำหรับฝืนใจอันละเอียดลออ ลึกซึ้ง ซึ่งเห็นได้ยาก
บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และ ป้องกันจากคนไม่ดี
เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี
ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ
ไม่ควรเป็นคนรกโลก
พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และ ไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะเป็นรากแห่งพรหมจรรย์
เพราะฉะนั้นควรเป็นผู้ทรงธรรม
ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
เราตถาคต ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา ความเพียร
ความระวังตัว และ การสละสิ่งทั้งปวง
พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม
เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ
มหาราช ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม) ส่วนอธรรม นอกลู่นอกทาง (ไม่ควรดำเนินตาม)
อธรรมนำไปนรก ธรรมให้ถึงสุคติ
เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว มีรากขาดตั้งอยู่ ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว
ก็ไม่มีภพต่อไปอีก
ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ
พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มีความหวั่นไหว
กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกันกระแสเหล่านั้น
เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส
กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา
ผู้ละปัญจธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรม ที่ไม่มีสิ่งทำให้เนิ่นช้า
ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย ผู้ใดไม่ประมาทธรรม ผู้นั้นแล
ชื่อว่าผู้ทรงธรรม
ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์, ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย
แล้วประพฤติสุจริตธรรม อย่าง
บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว, ถึงความเป็นเทวดา
ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง, ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ประเสริฐสุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ประเสริฐสุด,
บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรม ประเสริฐสุด, และ บรรดาสัตว์ เท้าทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ประเสริฐสุด
ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา
ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษ
กับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้
จงเด็ดเยื่อใยของตนเองเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง จงเพิ่มพูนทางสงบ
(ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว
พึงขจัดปัญหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ท่ามกลาง, เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป
เพราะสิ่งนั้น ๆ
สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์, แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว
(บกพร่อง), เขาย่อมทะเลาะวิวาทกัน แม้ด้วยเหตุนี้
เพราะต่างก็กล่าวข้อสมมุติของตน ๆ ว่าเป็นจริง
เขากล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน และ ฝั่งทะเลก็ไกลกัน แต่ธรรมของสัตบุรุษ
กับของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น
ท่านผู้ดับไป (คือปรินิพพาน) แล้ว ไม่มีประมาณ,
จะพึงกล่าวถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี, เมื่อธรรมทั้งปวง
(มีขันธ์เป็นต้น) ถูกเพิกถอนแล้ว แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง
ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด
»
หมวดเบื้องต้น
»
หมวดบุคคล
»
หมวดการศึกษา
»
หมวดวาจา
»
หมวดอดทน
»
หมวดความเพียร
»
หมวดความโกรธ
»
หมวดการชนะ
»
หมวดความประมาท
»
หมวดความไม่ประมาท
»
หมวดตน- ฝึกตน
»
หมวดมิตร
»
หมวดคบหา
»
หมวดสร้างตัว
»
หมวดการปกครอง
»
หมวดสามัคคี
»
หมวดเกื้อกูลสังคม
»
หมวดพบสุข
»
หมวดทาน
»
หมวดศีล
»
หมวดจิต
»
หมวดปัญญา
»
หมวดศรัทธา
»
หมวดบุญ
»
หมวดความสุข
»
หมวดธรรม
»
หมวดกรรม
»
หมวดกิเลส
»
หมวดบาป-เวร
»
หมวดทุกข์-พ้นทุกข์
»
หมวดชีวิต-ความตาย
»
หมวดพิเศษ
*** คัดลอกมาจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์