ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

พุทธศาสนสุภาษิต

หมวดคบหา

  • คบคนเช่นใด ย่อมเป็นคนเช่นนั้น
  • ควรคบมิตรที่ดี
  • แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ
  • อยู่ร่วมกันนานเกินไป ที่เคยรักก็มักหน่าย
  • เป็นเพื่อนเพียงเพื่อดื่มเหล้าก็มี
  • ผู้คบคนเลว ย่อมพลอยเลวไปด้วย
  • เมื่อเขาไม่มีเยื่อใย ป่วยการอยู่กินด้วย
  • อย่าสมาคมกับคนพาลซึ่งเป็นดังศัตรูทุกเมื่อ
  • โจรพาลอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่ในที่นั้น
  • ผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลว
  • คบคนดี ก็พลอยมีส่วนดีด้วย
  • ควรระแวงในศัตรู
  • ปราชญ์ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ
  • เมื่อคบคนที่ดีกว่า ตัวเองก็ดีขึ้นมาฉับพลัน
  • ผู้เที่ยวสมาคมกับคนพาล ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
  • คนเป็นมิตรแต่ปากก็มี
  • นักปราชญ์มีการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นสุข
  • ไม่ควรไว้ใจคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
  • มิตรชั่วไม่ควรคบ
  • ไม่ควรไว้ใจคนที่แสร้งทำสงบเสงี่ยม
  • ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง
  • ผู้ไม่คบหาคนชั่ว ย่อมได้รับสุขแต่ส่วนเดียว
  • อยู่ในพวกข้าศึกศัตรูเพียงคืนเดียวหรือสองคืน ก็เป็นทุกข์
  • คนที่ทำดีแต่ภายนอก ภายในมักไม่บริสุทธิ์
  • มีศัตรูเป็นบัณฑิต ดีกว่ามีมิตรเป็นคนพาล
  • ไม่ควรไว้ใจคนพูดพล่อยๆ
  • ไม่ควรไว้ใจในคนไม่คุ้นเคย แม้ในคนคุ้นเคยก็ไม่ควรไว้ใจ
  • คนพาล คบเป็นเพื่อนไม่ได้
  • ไม่ควรสนิทสนมกับคนชั่ว
  • ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป
  • เมื่อคบหาคนพาล ย่อมมีแต่ความฉิบหาย
  • เพียงเห็นกันชั่วครู่ชั่วยาม ไม่พึงไว้วางใจ
  • สมาคมกับสัตบุรุษย่อมนำสุขมาให้
  • คบคนเช่นใด ก็เป็นคนเช่นนั้น
  • สมาคมกับคนพาลย่อมนำทุกข์มาให้
  • เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา
  • ศัตรูจำนวนมาก คบหาแฝงมาในรูปมิตร
  • สมาคมกับคนชั่ว ไม่ดีเลย
  • ถึงคนคุ้นเคย ก็ไม่ควรวางใจ
  • เมื่อเกิดเรื่องราวขึ้น สหายช่วยให้เกิดสุข
  • การอยู่ร่วมกับคนชั่ว เป็นทุกข์
  • คบคนดี มีแต่ความเจริญ
  • ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว
  • ไม่ควรไว้ใจ ในคนไม่คุ้นเคย
  • ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ
  • ไม่ควรคบคนเลวทราม นอกจากเพื่อให้ความช่วยเหลือ
  • คนเป็นเพื่อนแต่เวลาดื่มเหล้า ก็มี เป็นเพื่อนแต่ปากว่า ก็มี
  • อยู่ร่วมกับปราชญ์นำสุขมาให้ เหมือนสมาคมกับญาติ
  • ส่วนผู้ใดเป็นสหายในเมื่อเกิดเรื่องต้องการ ผู้นั้นแล คือเพื่อนแท้
  • คนพาล ถึงอยู่ใกล้บัณฑิต จนตลอดชีวิต ก็ไม่รู้แจ้งธรรม เสมือนทัพพี ที่ไม่รู้รสแกง
  • การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรูตลอดเวลา
  • คนจำพวกที่งามแต่ภายนอก ภายในไม่สะอาด มีบริวารกำบังตัวไว้ ก็ยังแสดงบทบาทอยู่ในโลก
  • ถ้าไม่ได้สหายที่มีปัญญาปกครองตน พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่พึงทำความชั่ว
  • ถ้าได้สหายผู้มีปัญญาปกครองตน พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา
  • คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ก็หอมไปด้วยฉันนั้น
  • ภิกษุผู้ฟุ้งซ่าน คลอนแคลน อาศัยมิตรชั่ว ถูกคลื่นท่วมทับ (อดทนต่อคำสั่งสอนไม่ได้) ย่อมจมลงในห้วงน้ำใหญ่
  • บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบแต่สัตบุรุษ เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมนำไปสู่สุคติ
  • ควรคบกับคนที่คบตน ไม่ควรคบคนที่ไม่คบตน ผู้ใดไม่คบคนที่คบตน ผู้นั้นชื่อว่าไม่มีธรรมของสัตบุรุษ
  • ผู้คบคนชั่ว ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้ เขาย่อมยังตนให้ประสบโทษ เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น
  • ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย คบแต่บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน
  • ปราชญ์มีการอยู่ร่วมเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งชาติ
  • พึงสมาคมกับสัตบุรุษ พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ ผู้นั้นรู้ทั่วถึงสัทธรรมของสัตบุรุษแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
  • บุคคลควรคบผู้เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นผู้ไม่เลื่อมใส ควรเข้าไปนั่งใกล้ผู้เลื่อมใส เหมือนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหาห้วงน้ำฉะนั้น
  • คบคนเช่นใดเป็นมิตร เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น
  • พึงเป็นผู้ใคร่ธรรม ทรงไว้ซึ่งสุตะเป็นผู้สอบถาม เข้าไปนั่งใกล้ท่านผู้มีศีล และเป็นพหุสูตโดยเคารพ
  • จิตจอดอยู่กับใคร ถึงไกลกัน ก็เหมือนอยู่ชิดใกล้ ใจหมางเมินใคร ถึงใกล้กัน ก็เหมือนอยู่แสนไกล
  • วิญญูชน หากเข้าใกล้บัณฑิตแม้เพียงครู่เดียว ก็รู้ธรรมได้ฉับพลัน เสมือนลิ้นที่รู้รสแกง
  • คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบกับคนพาลก็เป็นคนพาลฉันนั้น
  • ไม่ควรไว้ใจคนที่ทำชั่วมาแล้ว ไม่ควรไว้ใจคนที่พูดพล่อยๆ ไม่ควรไว้ใจคนที่เห็นแก่ตัว (คนที่มีปัญญาแต่เพื่อประโยชน์ของตัว) ถึงคนที่ทำสงบเสงี่ยมเกินไป ก็ไม่ควรไว้ใจ
  • พึงแนะนำตักเตือนเถิด พึงพร่ำสอนเถิด พึงห้ามปรามจากความชั่วเถิด คนที่ทำเช่นนั้น ย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษ และไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษ
  • ผู้ใด แม้หากมิได้กระทำความชั่ว แต่คบหาเกลือกกลั้วกับผู้กระทำบาป ผู้นั้นย่อมพลอยถูกระแวงในกรรมชั่ว อีกทั้งเสียงเสื่อมเสียย่อมเกิดขึ้นแก่เขา
  • พึงมองเห็นคนมีปัญญาที่ชอบชี้โทษ พูดจาข่มขี่ เสมือนเป็นผู้บอกขุมทรัพย์ พึงคบคนที่เป็นบัณฑิตเช่นนั้นแหละ เมื่อคบคนเช่นนั้นย่อมมีแต่ดี ไม่มีเสียเลย
  • ในกาลไหนๆผู้คบคนเลว ย่อมเลว คบคนเสมอกันไม่พึงเสื่อม คบหาคนประเสริฐย่อมพลันเด่นขึ้น เหตุนั้นควรคบคนที่สูงกว่าตน
  • บัณฑิตพึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดีเป็นความเจริญ
  • บัณฑิตไม่ควรทำความเป็นเพื่อนกับคนส่อเสียด คนมักโกรธ คนตระหนี่ และคนเพลิดเพลินในสมบัติ เพราะการสมาคมกับคนชั่ว เป็นความเลวทราม
  • ปราชญ์ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ ไม่ชวนทำสิ่งที่มิใช่ธุระ การแนะนำดี เป็นความดีของปราชญ์ ปราชญ์ถูกกล่าวว่าโดยชอบก็ไม่โกรธ ปราชญ์ย่อมรู้วินัย การสมาคมกับปราชญ์จึงเป็นการดี
  • ถ้าใจรักแล้ว ถึงอยู่ห่างคนละฝั่งฟากสมุทร ก็เหมือนอยู่สุดแสนใกล้ ถ้าใจชังแล้ว ถึงอยู่สุดแสนใกล้ ก็เหมือนอยู่ไกลคนละฟากมหาสมุทร

    » หมวดเบื้องต้น

    » หมวดบุคคล

    » หมวดการศึกษา

    » หมวดวาจา

    » หมวดอดทน

    » หมวดความเพียร

    » หมวดความโกรธ

    » หมวดการชนะ

    » หมวดความประมาท

    » หมวดความไม่ประมาท

    » หมวดตน- ฝึกตน

    » หมวดมิตร

    » หมวดคบหา

    » หมวดสร้างตัว

    » หมวดการปกครอง

    » หมวดสามัคคี

    » หมวดเกื้อกูลสังคม

    » หมวดพบสุข

    » หมวดทาน

    » หมวดศีล

    » หมวดจิต

    » หมวดปัญญา

    » หมวดศรัทธา

    » หมวดบุญ

    » หมวดความสุข

    » หมวดธรรม

    » หมวดกรรม

    » หมวดกิเลส

    » หมวดบาป-เวร

    » หมวดทุกข์-พ้นทุกข์

    » หมวดชีวิต-ความตาย

    » หมวดพิเศษ

    *** คัดลอกมาจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์

    แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย