ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย
พิธีกรรม >>
หอพระไตร
พุทธศาสนสุภาษิต
หมวดปัญญา
ผู้มีปัญญา พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา
ปัญญาย่อมเกิดเพราะความประกอบด้วยหลายประการ
ปัญญาเป็นรัตนะแห่งนรชน
ผู้ไม่ประมาท พินิจพิจารณา ตั้งใจฟัง ย่อมได้ปัญญา
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจพิจารณา
คนเราจะมองเห็นอรรถชัดแจ้งได้ด้วยปัญญา
ผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนมาก
ปัญญาเป็นเครื่องปกครองตัว
รู้จักฟัง ย่อมได้ปัญญา
พึงวิจัยเรื่องราวตลอดสายให้ถึงต้นตอ
ความสิ้นปัญญาย่อมเกิดเพราะความไม่ประกอบ
คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา
ปัญญา ย่อมเกิดเพราะใช้การ
ไม่พึงละเลยการใช้ปัญญา
ปราชญ์ว่า ชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ประเสริฐสุด
คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา
ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ได้เล่าเรียน
ปัญญาแล ประเสริฐกว่าทรัพย์
ปัญญา เป็นดวงแก้วของคน
ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก
คนมีปัญญา ถึงแม้ตกทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ
ความพินิจ ไม่มีแก่คนไร้ปัญญา
คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐสูงสุด
คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา
เมื่อขาดปัญญา ถึงจะมีทรัพย์ ก็เป็นอยู่ไม่ได้
ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์
ปัญญาย่อมปกครองบุรุษนั้น
ผู้มีปัญญา รู้เนื้อความแห่งภาษิตคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า
ปัญญาย่อมเจริญด้วยประการใด ควรตั้งตนไว้ด้วยประการนั้น
ราคะ โทสะ ความมัวเมา และ โมหะ เข้าที่ไหน ปัญญาย่อมเข้าไม่ถึงที่นั้น
ขาดตาปัญญาเสียแล้ว ก็เหมือนคนตาบอด เหยียบลงไปได้ แม้กระทั่งไฟที่ส่องทาง
คนมีปัญญา ถึงสิ้นทรัพย์ ก็ยังเป็นอยู่ได้
คนมีปัญญาประเสริฐกว่า คนโง่ถึงจะมียศก็หาประเสริฐไม่
คนที่อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาจะครอบงำเอาไว้ในอำนาจไม่ได้
ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญา ว่า ประเสริฐสุด
คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติ
เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น
ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้, แต่อับปัญญา
แม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้
ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงาน รู้กาลและรู้สมัย
เขาพึงอยู่ในราชการได้
ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย
ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ฟังแล้ว ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติ
และชื่อเสียง คนผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้ แม้ในความทุกข์ก็หาความสุขได้
บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ,
ผู้อิ่มด้วยปัญญานั้นย่อมไม่เดือนร้อนด้วยกาม, ตัณหาครอบงำ
ผู้อิ่มด้วยปัญญาไว้ในอำนาจไม่ได้
คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ
คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย
แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษย่อมไปตามผู้มีปัญญา
ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา พูดจริง ตั้งมั่นในศีล ประกอบความสงบใจนั่นแล
คนโง่ถึงมียศ ก็กลายเป็นทาสของคนมีปัญญา เมื่อมีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น
บัณฑิตจัดการเรื่องใดอันเป็นเรื่องละเอียดก่อน
คนโง่ย่อมถึงความหลงใหลในเรื่องนั้น
ในเวลาที่ควรลุกขึ้นทำงาน ไม่ลุกขึ้นทำ ทั้งที่ยังหนุ่มแน่น มีกำลัง
กลับเฉื่อยชา ปล่อยความคิดให้จมปลัก เกียจคร้าน มัวซึมเซาอยู่
ย่อมไม่ประสบทางแห่งปัญญา
เมื่อน้ำใส กระจ่างแจ๋ว ย่อมมองเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และ ฝูงปลาได้
ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว ย่อมมองเห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น
คนโง่เขลามาประชุมกันแม้ตั้งกว่าพันคน พวกเขาไม่มีปญญา
ถึงจะพร่ำคร่ำครวญอยู่ตลอดร้อยปี ก็หามีประโยชน์ไม่
คนมีปัญญารู้เนื้อความแห่งภาษิต คนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า
สัตบุรุษสรรเสริญปัญญาแน่แท้ คนทั้งหลายชอบทรัพย์สมบัติ จึงใคร่ได้สิริ (ยศ)
ก็ความรู้ของท่านผู้รู้ทั้งหลายชั่งไม่ได้ ทรัพย์จึงเกินกว่าปัญญาไปไม่ได้
ไม่ว่ากาลไหน ๆ
คนเขลามียศศักดิ์ ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา, เมื่อเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น
คนฉลาดจัดการข้อได้แนบเนียน คนเขลาถึงความงมงายในข้อนั้น
ผู้ขบคิดปัญหาอันลึกซึ้งด้วยใจ ไม่ทำกรรมชั่วอันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเลย,
ไม่ละทางแห่งประโยชน์ที่มาถึงตามเวลา, บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนอย่างนั้นว่า
ผู้มีปัญญา
»
หมวดเบื้องต้น
»
หมวดบุคคล
»
หมวดการศึกษา
»
หมวดวาจา
»
หมวดอดทน
»
หมวดความเพียร
»
หมวดความโกรธ
»
หมวดการชนะ
»
หมวดความประมาท
»
หมวดความไม่ประมาท
»
หมวดตน- ฝึกตน
»
หมวดมิตร
»
หมวดคบหา
»
หมวดสร้างตัว
»
หมวดการปกครอง
»
หมวดสามัคคี
»
หมวดเกื้อกูลสังคม
»
หมวดพบสุข
»
หมวดทาน
»
หมวดศีล
»
หมวดจิต
»
หมวดปัญญา
»
หมวดศรัทธา
»
หมวดบุญ
»
หมวดความสุข
»
หมวดธรรม
»
หมวดกรรม
»
หมวดกิเลส
»
หมวดบาป-เวร
»
หมวดทุกข์-พ้นทุกข์
»
หมวดชีวิต-ความตาย
»
หมวดพิเศษ
*** คัดลอกมาจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์