ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

พุทธศาสนสุภาษิต

หมวดกรรม

  • ทำดี ได้ดี
  • ทำชั่ว ได้ชั่ว
  • ความดี อันคนดีทำง่าย
  • ความดี อันคนชั่วทำยาก
  • ความชั่ว ย่อมเผาผลาญในภายหลัง
  • ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู
  • ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า
  • คนเราจะเลวเพราะการกระทำ
  • ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ
  • คนเราจะดีเพราะการกระทำ
  • สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้
  • ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น (จริง ๆ)
  • กรรมชั่วของตน นำตนไปสู่ทุคติ
  • พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ
  • กรรมที่เป็นประโยชน์และดี ทำได้ยากยิ่ง
  • กรรมจำแนกสัตว์ให้ดีเลวแตกต่างกัน
  • ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
  • คนชั่ว ย่อมเดือนร้อนเพราะกรรมชั่วของตน
  • พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว
  • ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
  • สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย
  • การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย
  • อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย
  • การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก
  • พึงรักษาความดีของคนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม
  • รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำการนั้นเทียว
  • คนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นในตนเอง
  • ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
  • บัณฑิตไม่ทำชั่ว เพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว
  • ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการสั่งสมบาปนำทุกข์มาให้
  • ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย, จึงควรอยู่ในราชการ
  • เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือนร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
  • ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว
  • บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
  • ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น
  • ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ
  • ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนแต่ไม่รู้สึก (คุณของเขา) ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย
  • สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข
  • สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข
  • ผู้ใดปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือนร้อนในภายหลัง ดุจมานพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่มฉะนั้น
  • อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ
  • คนพาลทรามปัญญา ย่อมดำเนินชีวิตโดยมีตนเองนั้นแหละเป็นศัตรู
  • กรรมใด ทำไว้ ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือ ด้วยใจ กรรมนั้นแหละเป็นสมบัติของเขา ซึ่งเขาจะพาเอาไป
  • การงาน วิชา ธรรม ศีล ชีวิตอันอุดม คนบริสุทธิ์ด้วยสิ่งทั้ง นี้ หาใช่ด้วยตระกูลหรือ ด้วยทรัพย์ไม่
  • ธัญญาหาร ทรัพย์สิน เงินทอง หรือสมบัติที่ครอบครอง ไม่ว่าอย่างใดที่มีอยู่ คนรับใช้ คนงาน คนอาศัยทั้งหลาย ทุกอย่างล้วนพาเอาไปไม่ได้ ต้องทิ้งไว้ทั้งหมด
  • » หมวดเบื้องต้น

    » หมวดบุคคล

    » หมวดการศึกษา

    » หมวดวาจา

    » หมวดอดทน

    » หมวดความเพียร

    » หมวดความโกรธ

    » หมวดการชนะ

    » หมวดความประมาท

    » หมวดความไม่ประมาท

    » หมวดตน- ฝึกตน

    » หมวดมิตร

    » หมวดคบหา

    » หมวดสร้างตัว

    » หมวดการปกครอง

    » หมวดสามัคคี

    » หมวดเกื้อกูลสังคม

    » หมวดพบสุข

    » หมวดทาน

    » หมวดศีล

    » หมวดจิต

    » หมวดปัญญา

    » หมวดศรัทธา

    » หมวดบุญ

    » หมวดความสุข

    » หมวดธรรม

    » หมวดกรรม

    » หมวดกิเลส

    » หมวดบาป-เวร

    » หมวดทุกข์-พ้นทุกข์

    » หมวดชีวิต-ความตาย

    » หมวดพิเศษ

    *** คัดลอกมาจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์

    แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย