ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

พุทธศาสนสุภาษิต

หมวดการศึกษา

  • ความมีปัญญา ย่อมรู้ได้จากการสนทนา
  • บิดามารดาพึงให้บุตรเรียนศิลปวิทยา
  • สรรพวิทยา ควรเรียนรู้ให้หมด
  • ปัญญา ย่อมเกิดเพราะการฝึกฝน
  • ปัญญานั่นแหละ ประเสริฐกว่าทรัพย์
  • ผู้ตั้งใจศึกษา ย่อมได้ปัญญา
  • ปัญญา เปรียบเสมือนเครื่องประดับแห่งตน
  • ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก
  • คนโง่ มักตกอยู่ในอำนาจแห่งมาร
  • คนไม่พินิจพิจารณา เป็นคนไม่มีปัญญา
  • แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา นั้นไม่มี
  • คนย่อมเห็นแจ้งเนื้อความอย่างเด่นชัดด้วยปัญญา
  • คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา
  • คนไร้ปัญญา ไม่มีความพินิจพิจารณา
  • ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยา ดีทั้งนั้น
  • คนมีปัญญา เมื่อถึงคราวตกทุกข์ ก็ยังหาสุขได้
  • คนเรียนน้อย เจริญแต่เนื้อหนังมังสา
  • มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ปราชญ์กล่าวว่าประเสริฐสุด
  • คนเรียนน้อย แก่เปล่า เหมือนโคถึก
  • คนเรียนน้อย ปัญญาย่อมไม่พัฒนา
  • ปัญญาเป็นเครื่องปกครองคน
  • พึงพินิจพิจารณาเรื่องราวโดยรอบคอบ
  • ผู้รู้จักประโยชน์แล้ว ย่อมนำสุขมาให้
  • คนมีปัญญาประเสริฐกว่า คนโง่ที่มียศ
  • ในหมู่มนุษย์ คนที่ประเสริฐ คือคนที่ฝึกแล้ว
  • ความไม่รู้ เป็นมลทินร้ายที่สุด
  • เมื่ออ่อนปัญญา ช่องทางวิบัติก็เกิดได้มหันต์
  • บัณฑิตไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ
  • คนไม่มีศิลปวิทยา เป็นอยู่ยาก
  • สักวันหนึ่ง ความรู้ที่เรียนมาจะให้ประโยชน์
  • คนมีปัญญา ถึงไร้ทรัพย์ ก็ยังดำรงอยู่ได้
  • ปราชญ์กล่าวว่าปัญญา ประเสริฐสุด
  • บรรดาความอิ่มทั้งหลาย อิ่มปัญญาประเสริฐสุด
  • ปัญญาเป็นเครื่องตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนมา
  • คนเกียจคร้าน ย่อมไม่พบทางแห่งปัญญา
  • สิ่งที่ควรศึกษา ก็พึงศึกษาเถิด
  • บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา วิชาความรู้ประเสริฐสุด
  • ปัญญาช่วยให้รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์
  • ความรู้ที่เรียนมา เป็นเครื่องพัฒนาปัญญา
  • การใฝ่ใจศึกษา เป็นเครื่องพัฒนาความรู้
  • พึงเป็นคนชอบไตร่ถามเพื่อหาความรู้
  • บรรดาสิ่งที่โรยราร่วงหายทั้งหลาย ความไม่รู้หมดไปได้เป็นดีที่สุด
  • คนมีปัญญาย่อมงอกงาม ดังพืชในนาที่งอกงามด้วยน้ำฝน
  • อัสดร อาชาไนย สินธพ กุญชร และช้างหลวง ฝึกดีแล้ว ล้วนดีเลิศ แต่คนฝึกตนแล้ว ประเสริฐยิ่งกว่านั้น
  • ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยา ไม่ว่าอย่างไหนๆให้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น
  • คนที่สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา
  • เล่าเรียนสำเร็จวิทยา ก็ย่อมได้เกียรติ แต่ฝึกอบรมด้วยจริยธรรมแล้วต่างหาก จึงจะสบสันติสุข
  • คนเราถึงมีชาติกำเนิดต่ำ แต่หากขยันหมั่นเพียรมีปัญญา ประกอบด้วยอาจาระและศีล ก็รุ่งเรืองได้เหมือนไฟถึงอยู่ในคืนมืด ก็สว่างไสว
  • ความใฝ่เรียนสดับ เป็นเครื่องพัฒนาความรู้ ความรู้จากการเรียนสดับนั้น เป็นเครื่องพัฒนาปัญญา บุคคลที่อยู่ด้วยปัญญา ก็รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ ประโยชน์ที่รู้จักแล้วก็นำสุขมาให้
  • ถ้าไม่มีพุทธิปัญญา แลมิได้ศึกษาระเบียบวินัย คนทั้งหลายก็จะดำเนินชีวิต เหมือนดังกระบือบอดในกลางป่า
  • อันความรู้ ควรเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าต่ำ สูง หรือปานกลาง ควรรู้ความหมาย เข้าใจทั้งหมด แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่าง วันหนึ่งจะถึงเวลาที่ความรู้นั้นจะนำมาซึ่งประโยชน์
  • คนมีปัญญา แม้มีปัญหา และถูกผูกมัดอยู่ พอพูดในเรื่องใดก็หลุดได้ในเรื่องนั้น

    » หมวดเบื้องต้น

    » หมวดบุคคล

    » หมวดการศึกษา

    » หมวดวาจา

    » หมวดอดทน

    » หมวดความเพียร

    » หมวดความโกรธ

    » หมวดการชนะ

    » หมวดความประมาท

    » หมวดความไม่ประมาท

    » หมวดตน- ฝึกตน

    » หมวดมิตร

    » หมวดคบหา

    » หมวดสร้างตัว

    » หมวดการปกครอง

    » หมวดสามัคคี

    » หมวดเกื้อกูลสังคม

    » หมวดพบสุข

    » หมวดทาน

    » หมวดศีล

    » หมวดจิต

    » หมวดปัญญา

    » หมวดศรัทธา

    » หมวดบุญ

    » หมวดความสุข

    » หมวดธรรม

    » หมวดกรรม

    » หมวดกิเลส

    » หมวดบาป-เวร

    » หมวดทุกข์-พ้นทุกข์

    » หมวดชีวิต-ความตาย

    » หมวดพิเศษ

    *** คัดลอกมาจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์

    แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย