ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

พุทธศาสนสุภาษิต

หมวดศีล

  • ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
  • ศีลพึงรู้ได้เมื่ออยู่ร่วมกัน
  • ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา
  • นักปราชญ์พึงรักษาศีล
  • เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น
  • ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี ท่านว่าศีล เป็นความดี
  • ผู้ไม่มีศีล ไม่มั่นคง ถึงจะเป็นอยู่ตั้งร้อยปี, ส่วนผู้มีศีล เพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสิรฐกว่า
  • เวทมนต์ ชาติกำเนิด พวกพ้อง นำสุขมาให้ในสัมปรายภพไม่ได้, ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงนำสุขมาให้ในสัมปรายภพได้
  • เมื่อภิกษุมีมานะ ประมาทแล้ว มีความหวังในภายนอก, ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์
  • ผู้มีปรีชา มั่นคงดีแล้วในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อมดีใจในสวรรค์ ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง
  • ถ้าเป็นพหุสูต มั่นคงดีในศีล บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขา ด้วยคุณ ประการ คือ ด้วยศีล และ ด้วยสุตะ
  • ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
  • คนเขลา ไม่มั่นคงในศีล ถูกติเตียนในโลกนี้ และ ละไปแล้วย่อมเสียใจในอบายชื่อว่าย่อมเสียใจในที่ทั้งปวง
  • คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียน และ ความเสียชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีลธรรม ได้รับชื่อเสียง และ ความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ
  • มารค้นหาอยู่ ย่อมไม่พบช่องทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์ ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้นแล้ว เพราะความรู้ชอบของท่าน
  • ผู้มีศีลย่อมได้มิตรมาก ด้วยความสำรวม ส่วนผู้ไม่มีศีล ประพฤติชั่ว ย่อมแตกจากมิตร
  • ศีลนั้นเทียวเป็นเลิศในโลกนี้ ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด ความชนะในหมู่มนุษย์และเทวดา ย่อมมีเพราะศีลและปัญญา
  • พึงรักษาศีลในโลกนี้ เพราะศีลที่รักษาดีแล้ว เสพแล้วในโลกนี้ ย่อมน้อมนำมาซึ่งสมบัติทั้งปวง
  • ศีลเป็นกำลัง ไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริญสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
  • ศีลเป็นสะพานอันมีศักดิ์ใหญ่ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ ซึ่งเป็นเครื่องขจรไปทั่วทุกทิศ
  • ผู้มีปัญญา เมื่อปรารถนาสุข อย่าง คือ ความสรรเสริญ ความได้ทรัพย์ และ ความละไปบันเทิงในสวรรค์ ก็พึงรักษาศีล
  • ศีลเป็นคุณรวมกำลังอย่างเลิศ ศีลเป็นเสบียงทางอย่างสูงสุด ศีลเป็นผู้นำทาง อย่างประเสริฐสุด เพราะศีล มีกลิ่นขจรไปทั่วทุกทิศ
  • ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และ การสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันก็เป็นสุข, ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
  • ผู้ใดในโลกนี้ สำรวมทางกาย วาจา และ ใจ ไม่ทำบาปอะไร และ ไม่พูดพล่อย เพราะเหตุแห่งตน , ท่านเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีศีล
  • » หมวดเบื้องต้น

    » หมวดบุคคล

    » หมวดการศึกษา

    » หมวดวาจา

    » หมวดอดทน

    » หมวดความเพียร

    » หมวดความโกรธ

    » หมวดการชนะ

    » หมวดความประมาท

    » หมวดความไม่ประมาท

    » หมวดตน- ฝึกตน

    » หมวดมิตร

    » หมวดคบหา

    » หมวดสร้างตัว

    » หมวดการปกครอง

    » หมวดสามัคคี

    » หมวดเกื้อกูลสังคม

    » หมวดพบสุข

    » หมวดทาน

    » หมวดศีล

    » หมวดจิต

    » หมวดปัญญา

    » หมวดศรัทธา

    » หมวดบุญ

    » หมวดความสุข

    » หมวดธรรม

    » หมวดกรรม

    » หมวดกิเลส

    » หมวดบาป-เวร

    » หมวดทุกข์-พ้นทุกข์

    » หมวดชีวิต-ความตาย

    » หมวดพิเศษ

    *** คัดลอกมาจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์

    แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย