ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย
พิธีกรรม >>
หอพระไตร
พุทธศาสนสุภาษิต
หมวดตน- ฝึกตน
บุคคลไม่ควรลืมตน
ตนนั่นแหละเป็นที่รักยิ่ง
ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตนอยู่เป็นนิจ
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี
ตระเตรียมตนให้ดีเสียก่อนแล้ว ต่อไปจะได้สิ่งอันเป็นที่รัก
รู้ตนว่าเป็นคนเช่นใด เหล่าเทพไท้ก็รู้เช่นนั้น
ผู้ฝึกตนได้ เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์
ไม่ควรพร่าประโยชน์แห่งตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้จะมีมาก
แน่ะ บุรุษ จริงหรือเท็จ ตัวท่านเองย่อมรู้
ฝึกตนได้แล้วจึงควรฝึกคนอื่น
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น
ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น
ได้ยินมาว่า ตัวเราฝึกได้ยาก
ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ไม่ควรประกอบตนนั้นด้วยความชั่ว
ควรรักษาตนนั้นไว้ให้ดี
ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว
จงเป็นผู้ตามรักษาตน อย่าให้เดือดร้อน
อย่าฆ่าตัวเองเสียเลย
บัณฑิตพึงทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิต
เป็นที่รู้กันว่า ตนนี่แหละ ฝึกได้ยาก
ความผิดของตน มองเห็นได้ยาก
ทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง
ไฉนจึงดูถูกตัวเองเล่า
ทุกท่านสามารถทำดีได้
พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน
ตนมีทางไป เป็นของตน
ติตนด้วยข้อใด อย่าทำข้อนั้นเสียเอง
บัณฑิต ย่อมฝึกตน
บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตนเอง
รักอื่นเสมอด้วยรักตน นั้นไม่มี
ไม่พึงอาศัยผู้อื่นยังชีพ
คนชั่วฆ่าตัวเองก่อน ภายหลังจึงฆ่าคนอื่น
ความผิดของผู้อื่นเห็นได้ง่าย
จงเตือนตนด้วย ตนเอง
บุรุษ ไม่พึงสละเสียซึ่งตัวเอง
ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นความโชติช่วงแห่งคน
ตนแล เป็นคติของตน
ความรักอื่น เสมอด้วยความรักตนเองไม่มี
คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้
จงพิจารณาตนด้วยตนเอง
ไม่ควรเอาตัวไปพัวพันกับความชั่ว
คนมิได้เป็นโจรเพราะคำของคนอื่น มิได้เป็นมุนีเพราะคำของคนอื่น
ตนไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง
ผู้มีตน ฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก
ชื่อว่าที่ลับ ไม่มีในโลก
บัณฑิตไม่ควรขุดโค่นความดีของตนเสีย พึงรักษาตนไว้ให้ได้ทุกเมื่อ
กำหนดประโยชน์ที่หมายของตนให้แน่ชัด แล้วพึงขวนขวายแน่วในจุดหมายของตนนั้น
ผู้ใดรักษาตนได้ ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันได้รับการรักษาด้วย
ท่านเอ๋ย ท่านก็สามารถทำดีได้ ไยจึงมาดูหมิ่นตัวเองเสีย
การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ถึงจะมากก็ไม่ควรให้เป็นเหตุ
ทำลายประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของตน
จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง
ตนทำชั่ว ตัวก็เศร้าหมองเอง ตนไม่ทำชั่ว ตัวก็บริสุทธิ์เอง
มัวพะวงอยู่ว่า นี่ของเราชอบ นี่ของเรารัก แล้วปล่อยปละละเลยตนเองเสีย
คนอย่างนี้จะไม่ได้ประสบสิ่งที่ชอบสิ่งที่รักเลย
โทษคนอื่นเที่ยวกระจาย เหมือนโปรยแกลบ แต่โทษตนปิดไว้
เหมือนพรานนกเจ้าเล่ห์แฝงตัวบังกิ่งไม้
โทษคนอื่น เห็นง่าย แต่โทษตนเองเห็นยาก
ผู้ใดมีความไร้ศีลธรรมครอบคลุม เหมือนย่านทรายคลุมไม้สาละ
ผู้นั้นชื่อว่าทำตนเหมือนถูกผู้ร้ายคุมตัว
บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน แล้วจึงสอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง
ชัยชนะใดกลับแพ้ได้ ชัยชนะนั้นไม่ดี ชัยชนะใดไม่กลับแพ้
ชัยชนะนั้นแลเป็นชัยชนะที่ดี
ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึ่งทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว ควรฝึกผู้อื่น
ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก
สิ่งที่รักอื่นเสมอด้วยตนไม่มี ทรัพย์อื่นเสมอด้วยข้าวเปลือกไม่มี
แสงสว่างอื่นเสมอด้วยปัญญาไม่มี ฝนแลเป็นสระที่ใหญ่
กรรมไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย ส่วนกรรมใดดีและเป็นประโยชน์
กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง
ถึงผู้ใดจะชนะเหล่าชนได้พันคนพันครั้งในสงคราม ก็หาชื่อว่าผู้ชนะยอดเยี่ยมไม่
ส่วนผู้ใดชนะตนคนเดียว ผู้นั้นแลชื่อว่าผู้ชนะยอดเยี่ยมในสงคราม
ไม่ควรใส่ใจคำแสลงหูของผู้อื่น ไม่ควรแส่มองธุระที่เขาทำและยังไม่ทำ
ควรตั้งใจตรวจตราหน้าที่ของตนนี่แหละ ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่กระทำ
ตนเองนี่แหละสำคัญกว่า สำคัญกว่าเป็นไหนๆ ตระเตรียมตนไว้ให้ดีก่อนแล้ว
ต่อไปก็จะได้สิ่งที่รัก
»
หมวดเบื้องต้น
»
หมวดบุคคล
»
หมวดการศึกษา
»
หมวดวาจา
»
หมวดอดทน
»
หมวดความเพียร
»
หมวดความโกรธ
»
หมวดการชนะ
»
หมวดความประมาท
»
หมวดความไม่ประมาท
»
หมวดตน- ฝึกตน
»
หมวดมิตร
»
หมวดคบหา
»
หมวดสร้างตัว
»
หมวดการปกครอง
»
หมวดสามัคคี
»
หมวดเกื้อกูลสังคม
»
หมวดพบสุข
»
หมวดทาน
»
หมวดศีล
»
หมวดจิต
»
หมวดปัญญา
»
หมวดศรัทธา
»
หมวดบุญ
»
หมวดความสุข
»
หมวดธรรม
»
หมวดกรรม
»
หมวดกิเลส
»
หมวดบาป-เวร
»
หมวดทุกข์-พ้นทุกข์
»
หมวดชีวิต-ความตาย
»
หมวดพิเศษ
*** คัดลอกมาจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์