ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

พุทธศาสนสุภาษิต

หมวดชีวิต-ความตาย

  • ชีวิตนี้วิปริตผันแปร ไม่แน่นอน
  • วัย หมดไปตามลำดับแห่งวัย
  • หนุ่มก็ตาย แก่ก็ตาย
  • ชีวิต ไม่ถึงร้อยปีก็จะตาย
  • ถ้าอยู่เลยร้อยปี ก็ต้องตายเพราะความแก่เป็นแน่แท้
  • คนโง่ก็ตาย คนฉลาดก็ตาย
  • สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนก้าวเดินไปสู่ความตาย
  • คนถึงคราวตาย หมู่ญาติก็ช่วยไม่ได้
  • ชีวิตนี้น้อยนัก ชีวิตนี้สั้นนัก
  • วันและคืนย่อมผ่านไป
  • เมื่อมีชีวิต วัยแห่งชีวิตก็ร่นเข้ามา
  • เกิด ก็เป็นทุกข์
  • จะตาย ก็ตายไปคนเดียว
  • กาลเวลาล่วงไป ราตรีก็ผ่านไป
  • ตาย ก็เป็นทุกข์
  • แก่ ก็เป็นทุกข์
  • สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น
  • จะวิ่งหนีก็ไม่ทัน (ความตายไม่มีใครหนีได้)
  • สัตว์โลก ถูกชราปิดล้อม
  • เจ็บ ก็เป็นทุกข์
  • จะเกิด ก็เกิดมาคนเดียว
  • ชีวิตนี้คับแค้น และสั้นนิดเดียว
  • ชีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย
  • เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ควรเกื้อกูลกัน
  • เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน
  • เมื่อคนจะตาย ยังแถมประกอบด้วยทุกข์อีก
  • คนที่ร้องให้ถึงคนตาย เขาก็จะต้องตายด้วย
  • ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
  • เห็นอยู่เมื่อเช้า สายก็ตาย
  • ที่ตายแล้วก็แล้วไป ไม่ควรเศร้าโศกถึง
  • ปราชญ์ทั้งหลาย บอกแล้วว่าชีวิตนี้น้อยนัก
  • โลกถูกความตายครอบเอาไว้
  • เมื่อความตายมาถึงตัว ก็ไม่มีใครป้องกันได้
  • เมื่อคนตายแล้วสมบัติสักนิดก็ไม่ติดไป
  • ทุกชีวิตที่เกิดมาแล้วจะต้องแตกสลายในที่สุด
  • ทุกชีวิตจะต้องทอดทิ้งร่ายกายไว้ในโลก
  • ไม่มีใครผัดเพี้ยนกับความตาย ซึ่งมีอำนาจมากได้
  • สถานที่ที่ได้ชื่อว่าไม่มีคนตาย ไม่มีในโลก
  • ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนและไม่ควรประมาท
  • ทั้งหนุ่มและแก่ ล้วนร่างกายแตกดับไปทุกคน
  • สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น ถูกชราปิดล้อม
  • เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
  • ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูอันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
  • กี่วันผ่านไป ชีวิตก็ยิ่งใกล้ความตาย
  • คนทุกคนต้องตาย
  • วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
  • การตายโดยชอบธรรม ดีกว่าการมีชีวิตอยู่โดยไม่ชอบธรรม
  • อายุของคนย่อมหมดสิ้นไป
  • ความตายย่อมมีแก่ผู้เกิด
  • วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุก็เหลือน้อยเข้าทุกที
  • สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัดพาไป
  • สายเห็นกันอยู่ รุ่งเช้าอีกวันก็ตาย
  • มีชีวิตอยู่อย่างไม่ถูกต้อง หาประเสริฐไม่
  • เงิน ก็ซื้ออายุให้ยืนยาวไม่ได้
  • สัตว์ทั้งปวง จัดทอดทิ้งร่างไว้ในโลก
  • ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก
  • วัยย่อมเสื่อมลงเรื่อยไป ทุกหลักตา ทุกลืมตา
  • เมื่อตาย ทรัพย์สักนิดเดียวจะติดตัวไปก็ไม่มี
  • ตายเพื่อความถูกต้องประเสริฐกว่า
  • ถึงคราวตาย บุตรทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้
  • ถึงคราวตาย บิดา ญาติพี่น้องก็ช่วยไม่ได้
  • รวยก็ตาย จนก็ตาย
  • ทรัพย์สมบัติ ก็ซื้อความแก่ไม่ได้
  • สักวันหนึ่ง ก็จะพรากจากกันไป
  • วันคืน ไม่ผ่านไปเปล่า
  • มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสามนี้ดุจไฟลามลุกไหม้
  • ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัวความตาย
  • ผู้ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี
  • วันคืนผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมจะเหลือน้อยลง
  • อายุย่อมหมดไปทุกขณะที่หลับตาและลืมตา
  • คนจะมีชีวิตอยู่ได้ก็เพียงร้อยปี หรือจะเกินก็เพียงเล็กน้อย
  • แม้ชีวิตอยู่ร้อยปี ก็ไม่พ้นความตายไปได้ มวลมนุษย์ล้วนมีความตายรออยู่ข้างหน้า
  • ชีวิตของเราเป็นของน้อย ชราและพยาธิก็คอยย่ำยี
  • กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกันไปกับตัวมันเอง
  • คนใดร้องให้บ่นเพ้อถึงคนที่ตายไปแล้ว แม้คนที่ร้อนนั้นก็ต้องตายเหมือนกัน
  • เมื่อมาเกิด ก็ไม่มีใครอ้อนวอนมาเกิด เมื่อตายจากโลกนี้ ก็ไม่มีใครอนุญาตให้ไป
  • วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป จากประโยชน์ที่จะทำ
  • ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด
  • ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
  • รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไป แต่ชื่อและโครตไม่เสื่อมสลาย
  • อายุสังขาร ใช่จะประมาทไปตามสัตว์ผู้ยืน นั่ง นอน หรือ เดินอยู่ก็หาไม่
  • สิ่งมีชีวิตทั้งปวง ย่อมกลัวโทษและกลัวความตาย จงทำตนเป็นอุปมา แล้วไม่พึงฆ่าหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
  • เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท
  • ร่างกายนี้ ไม่นานนัก เมื่อวิญญาณจากไปแล้ว หมู่ญาติก็เกลียดกลัว เอาไปทิ้งในป่าช้าเหมือนท่อนไม้
  • เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณะสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต
  • กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป วัยก็หมดไปที่ละตอน ๆ ตามลำดับ
  • อายุของคนนี้น้อยนัก จะต้องจากโลกนี้ไป จึงควรทำกุศล และประพฤติพรหมจรรย์
  • น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของคน ก็ย่อมไม่เวียนไปสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
  • ชีวิตนี้เป็นสิ่งคับข้อง เป็นสิ่งเล็กน้อย ประกอบด้วยทุกข์ ใครเล่ายังจะอาศัยชีวิตนี้ ไปสร้างเวรกับผู้อื่น
  • ชีวิตนี้น้อยนัก ไม่ถึงร้อยปีก็ตายกันแล้ว ถ้าจะอยู่เกินไป ก็ต้องตายเพราะความแก่
  • วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป อายุของสัตว์ ย่อมสิ่นไป เหมือนน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ๆ ฉะนั้น
  • ชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปธาตุ ไม่ตั้งอยู่ในอรูปธาตุ ย่อมหลุดพ้นไปได้ในในโรธธาตุ, ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ละมัจจุได้
  • อายุของมนุษย์มีน้อย คนดีพึงดูถูกอายุนั้นเสีย พึงประพฤติดุจคนมีศรีษะถูกไฟใหม้ มฤตยู (ความตาย) จะไม่มาถึง ย่อมไม่มี
  • ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
  • ความตายย่อมครอบงำคนเก็บดอกไม้ (กามคุณ) ที่มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่อิ่มในกาม ไว้ในอำนาจ
  • ภัยของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ย่อมมี เพราะต้องตายแน่นอน เหมือนภัยของผลไม่สุก ย่อมมี เพราะต้องหล่นในเวลาเช้าฉะนั้น
  • ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้ว ล้วนมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น
  • ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากินด้วยพลอง ฉันใด, ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปเช่นกัน ฉันนั้น
  • การร้องให้ ความโศกเศร้า หรื การคร่ำครวญร่ำไรใด ๆ ย่อมไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่ตายแล้วก็คงอยู่อย่างเดิมนั้นเอง
  • เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตร ไม่ว่าบิดา ไม่ว่าญาติพวกพ้อง มีไว้ก็ช่วยต้านทานไม่ได้ จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ เป็นอันไม่มี
  • ข้าพเจ้าไม่มีความชั่ว ซึ่งทไว้ ณ ที่ไหน ๆ เลย ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง
  • การร้องให้หรือโศกเศร้า จะช่วยให้จิตใจสงบ สบาย ก็หาไม่ ทุกข์ยิ่งเกิดเพิ่มพูนทับทวี ทั้งร่ายกายก็พลอยทรุดโทรม
  • คนที่รักใคร่ ตายจากไปแล้ว ย่อมไม่ได้พบเห็นอีกเหมือนคนตื่นขึ้นไม่ได้เห็นสิ่งที่ได้พบในฝัน
  • จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงแค่ได้มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้นเอง
  • คนที่สละความเศร้าโศกไม่ได้ มัวทอดถอนถึงคนที่จากไปแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของความโศก ย่อมประสบความทุกข์หนักยิ่งขึ้น
  • ตอนเช้ายังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเห็นบางคนก็ไม่เห็น เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่มากคน ตกถึงเช้า บางคนก็ไม่เห็น
  • ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่แก่ตน (เช่นผู้ที่ตายไปแล้ว เป็นต้น) ไซร้ ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเอง ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา
  • แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
  • ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนเดินหน้าไปหาความตายทั้งหมด
  • ผลไม้สุกแล้ว ก็หวั่นแต่ละต้องร่วงหลุ่นไปตลอดเวลา ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็หวั่นแต่จะตายอยู่ตลอดเวลา ฉันนั้น
  • อายุของคนน้อยนัก คนดีไม่ควรลืมอายุ ควรระลึกถึงอายุดุจคนถูกไฟไหม้ศรีษะ เพราะการที่ความตายจะไม่มาถึงนั้น ไม่มีเลย
  • ถ้าจะเศร้าโศกถึงคนที่ตายไปแล้ว ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเองด้วย ที่ตกอยู่ในอำนาจของความตายตลอดเวลา
  • ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด, สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น
  • เพราะฉะนั้น สาธุชน สดับคำสอน ของท่านผู้ไกลกิเลสแล้ว พึงกำจัดความร่ำไรรำพันเสีย เห็นคนล่วงลับจากไป ก็ทำใจให้ได้ว่า ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เราจะขอให้เป็นอยู่อีกย่อมไม่ได้
  • ดูซิ.. ถึงคนอื่น ๆ ที่กำลังเตรียมตัว เดินทางไปตามยถากรรม ที่นี่สัตว์ทั้งหลายเผชิญกับอำนาจ ของพญามัจจุราชเข้าแล้ว กำลังดิ้นรนกันอยู่ทั้งนั้น
  • เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกัน ก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ ควรเมตตา เอื้อเอ็นดูกัน ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้
  • วันคืนล่วงไปเท่าไรชีวิตก็พร่องลงไปเท่านั้น เวลาแห่งความตายรุกไล่เข้าไปทุกอิริยาบท ฉะนั้นจึงไม่ควรประมาทเวลา
  • จะอยู่ในอากาศ อยู่กลางมหาสมุทร เข้าไปสู่หลืบเขา ก็ไม่พ้นจากมฤตยูได้ ประเทศคือดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่ ไม่มี
  • กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยล่อมละลำดับไป ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำสุขมาให้
  • เมื่อเศร้าโศกไป ก็เท่ากับทำร้ายตัวเอง ร่างกายจะผ่ายผอม ผิดพรรณจะซูบซีดหม่นหมอง ส่วนผู้ที่ตายไปแล้ว ก็จะเอาความโศกเศร้านั้นของเรา ไปช่วยอะไรตัวเขาไม่ได้ ความร่ำไรรำพัน ย่อมไร้ประโยชน์
  • ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตาย ก็เหมือนเด็กร้องให้ เหมือนกับขอพระจันทร์ที่โคจรไปในอากาศ คนตายถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก เขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา
  • » หมวดเบื้องต้น

    » หมวดบุคคล

    » หมวดการศึกษา

    » หมวดวาจา

    » หมวดอดทน

    » หมวดความเพียร

    » หมวดความโกรธ

    » หมวดการชนะ

    » หมวดความประมาท

    » หมวดความไม่ประมาท

    » หมวดตน- ฝึกตน

    » หมวดมิตร

    » หมวดคบหา

    » หมวดสร้างตัว

    » หมวดการปกครอง

    » หมวดสามัคคี

    » หมวดเกื้อกูลสังคม

    » หมวดพบสุข

    » หมวดทาน

    » หมวดศีล

    » หมวดจิต

    » หมวดปัญญา

    » หมวดศรัทธา

    » หมวดบุญ

    » หมวดความสุข

    » หมวดธรรม

    » หมวดกรรม

    » หมวดกิเลส

    » หมวดบาป-เวร

    » หมวดทุกข์-พ้นทุกข์

    » หมวดชีวิต-ความตาย

    » หมวดพิเศษ

    *** คัดลอกมาจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์

    แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย