ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย
พิธีกรรม >>
หอพระไตร
พุทธศาสนสุภาษิต
หมวดความสุข
ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้
ผู้เจริญเมตตาดีแล้ว หลับและตื่นย่อมเป็นสุข
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี
ความไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก
การแสดงสัทธรรม นำความสุขมาให้
ความสงบระงับแห่งสังขารนั้น เป็นสุข
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล
ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง
การประพฤติประโยชน์กับคนไม่ฉลาดในประโยชน์ ไม่นำสุขมาให้เลย
ความดี โจรลักไม่ได้
คนเรานี้ ถ้ามีอันทำชั่วลงไป ก็อย่าพึงทำความชั่วนั้นซ้ำเข้าอีก
บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ
ความชั่ว ไม่ทำเสียเลย จะดีกว่า
ความดี ทำไว้แล จะดีกว่า
อย่าดูหมิ่นความชั่วว่าเล็กน้อย คงจักไม่มีผลมาถึงตัว
สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว
ธรรมนั่นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำมาซึ่งความสุข
ผู้อิ่มในธรรม ย่อมนอนเป็นสุข
เกียรติไม่ทิ้งผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมนอนเป็นสุข
กรรมไม่ดี ย่อมเผาผลาญในภายหลัง
การสร้างสมความดี นำสุขมาให้
ไม่ควรทำบาป แม้เพราะเห็นแก่กิน
การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตนนั้นทำง่าย
ความดี คนชั่ว ทำยาก
ความดี คนดี ทำง่าย
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญ นี้เป็นชื่อของความสุข
ถึงคราวจะสิ้นชีพ บุญก็ช่วยให้เป็นสุข
การไม่ทำความชั่ว ย่อมก่อให้เกิดความสุข
ความชั่ว คนชั่ว ทำง่าย
เพราะน้ำหยดทีละน้อย หม้อน้ำก็ยังเต็มได้
ความดีที่ทำไว้เองนี้แหละ เป็นทรัพย์ส่วนของตัวโดยเฉพาะ
ตายเพราะชอบธรรมดีกว่า อยู่อย่างไม่ชอบธรรม จะมีค่าอะไร
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือ ให้ทราม และประณีต
ความดีที่ทำไว้เองเป็นมิตรตามตัวไปเบื้องหน้า
ทำกรรมใดแล้ว ไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลดี
อย่าพึงสร้างความพอใจในความชั่วนั้น การสั่งสมความชั่ว เป็นการก่อความทุกข์
ทำกรรมใดแล้ว ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลไม่ดี
ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จแก่ตน โดยทางไม่ชอบธรรม
ธีรชนสร้างความดีทีละน้อย ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความดี
การใดเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง
พาลชนสร้างสมความชั่วทีละน้อย ก็เต็มเพียบไปด้วยความชั่ว
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม
การชำระจิตของตนให้ผ่องใส สามนี้ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า
คนมีความชั่วย่อมเดือนร้อน เพราะกรรมของตน
ไม่ได้แต่ชอบธรรมดีกว่า ถึงได้แต่ไม่ชอบธรรมจะดีอะไร
บัณฑิตไม่ประกอบความชั่ว เพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว
บัณฑิตนั้น ถึงถูกทุกข์กระทบ ถึงพลาดพลั้งลงก็คงสงบอยู่ได้ และ
ไม่ละทิ้งธรรมเพราะชอบหรือชัง
ช่างดอกไม้ ร้อยพวงมาลัยได้มากมาย จากดอกไม้กองหนึ่ง ฉันใด คนเรา
เกิดมาแล้วก็ควร สร้างความดีงามให้มาก ฉันนั้น
บุคคลใดเคยทำกรรมชั่วไว้ แล้วกลับตัวได้ หันมาทำดีปิดกั้น
บุคคลนั้นย่อมทำโลกให้แจ่มใส เหมือนดังดวงจันทร์อันพ้นจากเมฆหมอก
บุคคลใดในกาลก่อนเคยผิดพลาด ครั้นภายหลังเขากลับตัวได้ไม่ประมาท บุคคลนั้น
ย่อมทำโลกให้แจ่มใส เหมือนดังดวงจันทร์ อันพ้นจากเมฆหมอก
พึงสละทรัพย์ เพื่อเห็นแก่อวัยวะ พึงสละอวัยวะ ในเมื่อจะรักษาชีวิต
พึงสละได้หมด ทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และ ชีวิต ในเมื่อคำนึงถึงธรรม
»
หมวดเบื้องต้น
»
หมวดบุคคล
»
หมวดการศึกษา
»
หมวดวาจา
»
หมวดอดทน
»
หมวดความเพียร
»
หมวดความโกรธ
»
หมวดการชนะ
»
หมวดความประมาท
»
หมวดความไม่ประมาท
»
หมวดตน- ฝึกตน
»
หมวดมิตร
»
หมวดคบหา
»
หมวดสร้างตัว
»
หมวดการปกครอง
»
หมวดสามัคคี
»
หมวดเกื้อกูลสังคม
»
หมวดพบสุข
»
หมวดทาน
»
หมวดศีล
»
หมวดจิต
»
หมวดปัญญา
»
หมวดศรัทธา
»
หมวดบุญ
»
หมวดความสุข
»
หมวดธรรม
»
หมวดกรรม
»
หมวดกิเลส
»
หมวดบาป-เวร
»
หมวดทุกข์-พ้นทุกข์
»
หมวดชีวิต-ความตาย
»
หมวดพิเศษ
*** คัดลอกมาจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์