ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย
พิธีกรรม >>
หอพระไตร
พุทธศาสนสุภาษิต
หมวดจิต
ธรรมทั้งหลาย มีจิตนำหน้า
การฝึกจิตเป็นความดี
จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้
พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน
ผู้ประพฤติตามอำนาจของจิต ย่อมลำบาก
เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ
โลกอันจิตย่อมนำไป
จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
จงตามรักษาจิตของตน
คนฉลาด ทำจิตของตนให้ซื่อตรง
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง
พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน
จิตของเรามีธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก
จิตนั้นเห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนยิ่งนัก มักตกไปหาอารมณ์ที่ใคร่
ผู้รู้จักควบคุมจิตใจ จะพ้นไปได้จากบ่วงของมาร
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ประเสริฐอบรมบริบูรณ์ดีแล้ว,
ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็ไม่หวั่นไหว
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด, ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น
จิตของท่านย่อมเดือนร้อน เพราะเข้าใจผิด,
ท่านจงเว้นเครื่องหมายที่สวยงามประกอบด้วยความรัก
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์,
ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว
ผู้ใดมักหวาดสะดุ้งต่อเสียง เหมือนเนื้อทรายในป่า
ท่านเรียกผู้นั้นว่ามีจิตเบา, พรตของเขาย่อมไม่สำเร็จ
ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว มีบุญและบาปอันละได้แล้ว
ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย
จิตเกื้อกูลที่อบรมบริบูรณ์ดีแล้ว เป็นจิตหาประมาณมิได้,
กรรมใดที่ทำแล้วพอประมาณ กรรมนั้นจักไม่เหลือในจิตนั้น
เมื่อมีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย
ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
จิตนี้ถูกยกขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ เพื่อละที่ตั้งแห่งมาร ย่อมดิ้นรน
เหมือนปลาถูกจับขึ้นจากน้ำโยนไปบนบกฉะนั้น
ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่ประเสริฐล้วนก็ดี ขันติ และ โสรัจจะ ก็ดี
จะเป็นผู้สนิทก็ดี ย่อมไม่มีเพราะการชำระล้างด้วยน้ำ
โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป, สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว
การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เป็นความดี,
เพราะว่าจิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
โจรกับโจร หรือ ไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน, ส่วนจิตที่ตั้งไว้ผิด
พึงทำให้เสียหายยิ่งกว่านั้น
ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด,
บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น
คนมีปัญญาทำจิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก ให้ตรงได้ เหมือนช่างศร
ทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก
มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่, เพราะว่าจิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้
ผู้ใดจักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีกายเป็นที่อาศัย,
ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผูกมารได้
จิตที่ตั้งไว้ถูกต้อง ทำคนให้ประเสริฐ ประสบผลดี ยิ่งกว่าที่มารดาบิดา หรือ
ญาติทั้งหลายใด ๆ จะทำให้ได้
คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่ บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อบรรลุที่เกษมจากโยคะ
พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้
ภิกษุเพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้น รู้ความเกิด และความเสื่อมแห่งโลกแล้ว มีใจดี
ไม่ถูกกิเลศอาศัย มีธรรมนั้นเป็นอานิสงส์ พึงหวังความบริสุทธิ์แห่งใจได้
ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์พี่น้อง พ่อแม่ ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย
ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา
ผู้ถูกตัณหาครอบงำ ถูกศีลพรตผูกมัด ประพฤติตบะ อันเศร้าหมองตั้งร้อยปี
จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้ เขามีตนเลวจะถึงฝั่งไม่ได้
เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชา รบอยู่
ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้,
เพราะว่าเวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลัง ย่อมสงบระงับ
บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว
พึงรบมารด้วยอาวุธ คือปัญญา และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้ ไม่พึงยับยั้งอยู่
»
หมวดเบื้องต้น
»
หมวดบุคคล
»
หมวดการศึกษา
»
หมวดวาจา
»
หมวดอดทน
»
หมวดความเพียร
»
หมวดความโกรธ
»
หมวดการชนะ
»
หมวดความประมาท
»
หมวดความไม่ประมาท
»
หมวดตน- ฝึกตน
»
หมวดมิตร
»
หมวดคบหา
»
หมวดสร้างตัว
»
หมวดการปกครอง
»
หมวดสามัคคี
»
หมวดเกื้อกูลสังคม
»
หมวดพบสุข
»
หมวดทาน
»
หมวดศีล
»
หมวดจิต
»
หมวดปัญญา
»
หมวดศรัทธา
»
หมวดบุญ
»
หมวดความสุข
»
หมวดธรรม
»
หมวดกรรม
»
หมวดกิเลส
»
หมวดบาป-เวร
»
หมวดทุกข์-พ้นทุกข์
»
หมวดชีวิต-ความตาย
»
หมวดพิเศษ
*** คัดลอกมาจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์