ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๑๔
ชื่อมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๕๑.ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร สูตรว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งบิณฑบาต
๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์.
เวลาเย็นพระสารีบุตรออกจากที่เร้นมาเฝ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง จึงตรัสถามพระสารีบุตรว่า อินทรีย์ของท่านผ่องใส ฉวีวรรณของท่านบริสุทธิ์ ท่านอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไรมาก เมื่อพระสารีบุตรกราบทูลว่า อยู่ด้วยสุญญตาวิหาร ( ธรรมเป็นเครื่องอยู่มีความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ ) จึงตรัสว่า ดีแล้วที่อยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งมหาบุรุษ.
๒. ครั้นแล้วตรัสถึงการที่ภิกษุผู้หวังจะมาอยู่มากด้วยสุญญตาวิหาร พึงพิจารณาว่า เราเข้าสู่หมู่บ้าน เพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เที่ยวไปในที่ใด กลับจากบิณฑบาตโดยทางใด ในทางนั้น ที่นั้น เรามีความพอใจ มีความกำหนัดยินดี มีความคิดประทุษร้าย ความหลง ความขัดข้องแห่งจิตในรูป เสียง เป็นต้น หรือไม่ เมื่อพิจารณารู้ว่าเรายังมีความพอใจในรูป เสียง เป็นต้น ก็พึงพยายามเพื่อละอกุศลบาปธรรมเหล่านั้น ถ้าไม่พิจารณาเห็นว่าเราไม่มีความพอใจในรูป เสียง เป็นต้น ก็พึงอยู่ด้วยปีติปราโมทย์นั้น ศึกษาอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน.
๓. ต่อจากนั้นพึงพิจารณาว่า เราละกามคุณ ๕ ( รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา รักใคร่พอใจ ) และนิวรณ์ ๕ ( กิเลสอันกั้นจิตมิให้บรรลุความดี ) ได้แล้วหรือยัง เมื่อพิจารณาเห็นว่ายังละไม่ได้ ก็พึงพยายามเพื่อละ เมื่อพิจารณาเห็นว่าละได้แล้ว ก็พึงอยู่ด้วยปีติปราโมทย์นั้น ศึกษาอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน.
๔. ครั้นแล้วทรงพิจารณาแสดงการพิจารณาข้อธรรมอื่นอีก คือ อุปาทานขันธ์ ๕ กำหนดรู้แล้วหรือยัง ; สติปัฏฐาน ๔ เจริญแล้วหรือยัง ; ความเพียรชอบ ๔ เจริญแล้วหรือยัง ; ธรรมะอันให้บรรลุความสำเร็จ ๔ อย่าง, ธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ๕ อย่าง , ธรรมอันเป็นกำลัง ๕ อย่าง , ธรรมะอันเป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ ๗ อย่าง , ทางมีองค์ ๘ อันประเสริฐ , สมถะ ( การทำจิตให้สงบ ) และวิปัสสนา ( การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง ) เจริญแล้วหรือยัง ; วิชชา ( ความรู้อริยสัจจ์ ๔ ) , วิมุติ ( ความหลุดพ้น ) ทำให้แจ้งแล้วหรือยัง . เมื่อพิจารณาเห็นว่าอะไรยัง ก็พึงพยายามเพื่อทำการนั้น ๆ เมื่อเห็นว่าทำสำเร็จแล้ว ก็พึงอยู่ด้วยปีติปราโมทย์นั้น ศึกษาอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน ( ดูที่ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก ) และที่ พระสุตตันตะ เล่ม ๒ หน้า ๔ ประกอบด้วย.
๕. ตรัสสรุปในที่สุดว่า สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาล อนาคตกาลนานไกล หรือในบัดนี้ที่ทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ก็พิจารณาแล้วอย่างนี้ ทำให้บิณฑบาตบริสุทธิ์อย่างนี้.
- เทวทหสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ในเทวทหนิคม
- ปัญจัตตยสูตร สูตรว่าด้วยความเห็น ๕
ประการที่จัดเป็นประเภทได้ ๓
- กินติสูตร สูตรว่าด้วยความคิดว่า เป็นอย่างไร
- สามคามสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดในหมู่บ้านชื่อสามะ
- สุนักขัตตสูตร สูตรว่าด้วยสุนักขัตตลิจฉวี
- อาเนญชสัปปายสูตร สูตรว่าด้วยปฏิปทาเป็นที่สบายแก่อาเนญชะ
- คณกโมคคัลลานสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อคณกโมคคัลลานะ
- โคปกโมคคัลลานสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโมคคัลลานะ
- มหาปุณณมสูตร สูตรว่าด้วยคืนพระจันทร์เต็มดวง สูตรใหญ่
- จูฬปุณณมสูตร สูตรว่าด้วยคือพระจันทร์เต็มดวง สูตรเล็ก
- อนุปทสูตร สูตรว่าด้วยลำดับบทธรรม
- ฉวิโสธนสูตร สูตรว่าด้วยข้อสอบสวน ๖ อย่าง
- สัปปุริสธัมมสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะของดี
- เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร สูตรว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและไม่ควรเสพ
- พหุธาตุกสูตร สูตรว่าด้วยธาตุหลายอย่าง
- อิสิคิลิสูตร สูตรว่าด้วยภูเขาชื่ออิสิคิลิ
- มหาจัตตาฬีกสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด ๔๐ หมวดใหญ่
- อานาปานสติสูตร สูตรว่าด้วยการตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
- กายคตาสติสูตร สูตรว่าด้วยสติกำหนดพิจารณากาย
- สังขารูปปัตติสูตร สูตรว่าด้วยความคิด
กับการเข้าถึงสภาพตามที่คิดไว้
- จูฬสุญญตสูตร สูตรว่าด้วยความว่างเปล่า สูตรเล็ก
- มหาสุญญตสูตร สูตรว่าด้วยความว่างเปล่าสูตรใหญ่
- อัจฉริยัพภูตธัมมสูต
รสูตรว่าด้วยสิ่งอัศจรรย์และไม่เคยมีก็มีขึ้น
- พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
สูตรว่าด้วยสิ่งอัศจรรย์และไม่เคยมีก็มีขึ้นของพระพักกุลเถระ
- ทันตภูมิสูตร สูตรว่าด้วยภูมิหรือสถานที่ที่ฝึกไว้
- ภูมิชสูตร สูตรว่าด้วยพระเถระชื่อภูมิชะ
- อนุรุทธสูตร สูตรว่าด้วยพระอนุรุทธเถระ
- อุปักกิเลสสูตร สูตรว่าด้วยเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต
- พาลบัณฑิตสูตร สูตรว่าด้วยพาลและบัณฑิต
- เทวทูตสูต รสูตรว่าด้วยเทวทูต
- ภัทเทกรัตตสูต รสูตรว่าด้วยราตรีเดียวกันที่ดี
- อานันทภัทเทกรัตตสูตร สูตรว่าด้วยพระอานนท์อธิบายภัทเทกรัตต
- มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
สูตรว่าด้วยพระมหากัจจานะอธิบายภัทเทกรัตต
- โลมสกังคิยสูตร สูตรว่าด้วยพระโลมสกังคิยะ
- จูฬกัมมวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรเล็ก
- มหากัมมวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรใหญ่
- สฬายตนวิภังคสูต รสูตรว่าด้วยการแจกอายตนะ ๖
- อุทเทสวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยบทตั้งและคำอธิบาย ๖
- อรณวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกธรรมที่ไม่มีข้าศึก
- ธาตุวิภงคคสูต รสูตรว่าด้วยการแจกธาตุ
- สัจจวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกอริยสัจจ์
- ทักขิณาวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกทักษิณา (ของทำทาน)
- อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
สูตรว่าด้วยการให้โอวาทแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี
- ฉันโนวาทสูตร สูตรว่าด้วยการให้โอวาทพระฉันนะ
- ปูณโณวาท สูตรสูตรว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระปุณณะ
- นันทโกวาท สูตรสูตรว่าด้วยการให้โอวาทของพระนันทกะ
- จูฬราหุโลวาท สูตรสูตรว่าด้วยประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก
- ฉฉักกสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด ๖ รวม ๖ข้อ
- สฬายตนวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกอายตนะ ๖
- นครวินเทยยสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ
- ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร สูตรว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งบิณฑบาต
- อินทริยภาวนาสูตร สูตรว่าด้วยการอบรมอินทรีย์