ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๑๔
ชื่อมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๖.อาเนญชสัปปายสูตร สูตรว่าด้วยปฏิปทาเป็นที่สบายแก่อาเนญชะ
๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นิคมชื่อกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ ณ ที่นั้น ได้ตรัสชี้ให้เห็นโทษของกามและกามสัญญา ( ความกำหนดหมายเกี่ยวกับกาม ) ว่า ทั้งสองอย่างนี้เป็นบ่วงมาร , เป็นวิสัยของมาร, เป็นเหยื่อล่อของมาร , เป็นที่โคจรของมาร.
๒. ทรงแสดงว่าอริยสาวกพิจารณาเห็นอย่างนี้ อยู่ด้วยจิตอันเป็นมหัคคตะ ( เป็นฌาน ) เมื่อตายไปก็มีฐานะที่วิญญาพึงเข้าถึงอาเนญชะ ( ความเป็นสภาพที่ไม่หวั่นไหว ) นี้จัดเป็นข้อปฏิบัติที่ ๑ อันเป็นที่สบายแก่ ( เข้ากันได้กับ ) อาเนญชะ.
๓. ทรงแสดงข้อปฏิบัติที่ ๒ อันเป็นที่สบายแก่อาเนญชะ เช่นข้อแรก แต่เพิ่มการพิจารณารูป ทั้งมหาภูตรูป ( รูปใหญ่ได้แก่ธาตุทั้งสี่ ) และอุปาทายรูป ( รูปที่ปรากฏเพราะอาศัยธาตุทั้งสี่ ).
๔. ทรงแสดงข้อปฏิบัติที่ ๓ อันเป็นที่สบายแก่อาเนญชะ แต่เพิ่มการพิจารณารูปและรูปสัญญา ( ความกำหนดหมายรูป ) ให้เห็นไม่เที่ยง ไม่ควรยินดี .
๕. ทรงแสดงข้อปฏิบัติที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ อันเป็นที่สบายแก่อากิญจัญญายตนะ ( อรูปสมาบัติที่ ๓ ) ว่า ได้แก่
๑. การที่อริยสาวกพิจารณาเห็นว่า กาม, กามสัญญา , รูป, รูปสัญญา , อาเนญชสัญญา
ดับไม่มีเหลือ ในอากิญจัญญายตนะ ( สมาบัติหรือฌานที่มีความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์
).
๒. พิจารณาเห็นว่าอากิญจัญญายตนะ ว่างจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน และ
๓. พิจารณาเห็นว่า เราไม่มีในที่ไหน ๆ , เราไม่เกี่ยวข้องกับใคร ๆ
ไม่เกี่ยวข้องกับเราในที่ไหน ๆ , เราไม่มีเกี่ยวข้องอะไรเลย (
พิจารณาความไม่มีอะไร ๔ แง่ ).
๖. ทรงแสดงข้อปฏิบัติที่เป็นที่สบายแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ( อรูปสมาบัติที่ ๔ ) ว่า ได้แก่การที่อริยสาวกพิจารณาเห็นว่า กาม , กามสัญญา , รูป , รูปสัญญา, อาเนญชสัญญา ดับไม่มีเหลือในเนวสัญญานาสัญญายตนะ (สมบัติที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).
๗. พระอานนท์กราบทูลถามว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้วางเฉยได้ จะพึงปรินิพพานหรือไม่ปรินิพพาน . ตรัสตอบว่า ปรินิพพานก็มี ไม่ปรินิพพานก็มี . ที่ไม่ปรินิพพานก็เพราะยังมีอุปาทาน คือยืดมั่นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่ปรินิพพานก็เพราะไม่มีอุปาทาน.
๘. พระอานนท์กราบทูลถามว่า ความหลุดพ้นอันเป็นอริยะ ( อริยวิโมกข์ ) เป็นอย่างไร ตรัสตอบว่า ได้แก่อมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะไม่ยืดมั่นสิ่งต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่าสักกะ ( กายของตน ) คือ กาม, กามสัญญา, รูป, รูปสัญญา, อาเนญชสัญญา, อากิญจัญญายตนสัญญาและเนวสัญญานาสัญญาตนสัญญา.
๙. ครั้นแล้วตรัสชี้แจงว่า นั่นโคนไม้, นั่นเรือนไม้, นั่นเรือนว่าง, ท่านทั้งหลายจงเพ่ง, จงอย่าประมาท, จงอย่าเดือดร้อนในภายหลัง. นี้แลคืออนุสาสนีของเรา.
- เทวทหสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ในเทวทหนิคม
- ปัญจัตตยสูตร สูตรว่าด้วยความเห็น ๕
ประการที่จัดเป็นประเภทได้ ๓
- กินติสูตร สูตรว่าด้วยความคิดว่า เป็นอย่างไร
- สามคามสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดในหมู่บ้านชื่อสามะ
- สุนักขัตตสูตร สูตรว่าด้วยสุนักขัตตลิจฉวี
- อาเนญชสัปปายสูตร สูตรว่าด้วยปฏิปทาเป็นที่สบายแก่อาเนญชะ
- คณกโมคคัลลานสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อคณกโมคคัลลานะ
- โคปกโมคคัลลานสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโมคคัลลานะ
- มหาปุณณมสูตร สูตรว่าด้วยคืนพระจันทร์เต็มดวง สูตรใหญ่
- จูฬปุณณมสูตร สูตรว่าด้วยคือพระจันทร์เต็มดวง สูตรเล็ก
- อนุปทสูตร สูตรว่าด้วยลำดับบทธรรม
- ฉวิโสธนสูตร สูตรว่าด้วยข้อสอบสวน ๖ อย่าง
- สัปปุริสธัมมสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะของดี
- เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร สูตรว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและไม่ควรเสพ
- พหุธาตุกสูตร สูตรว่าด้วยธาตุหลายอย่าง
- อิสิคิลิสูตร สูตรว่าด้วยภูเขาชื่ออิสิคิลิ
- มหาจัตตาฬีกสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด ๔๐ หมวดใหญ่
- อานาปานสติสูตร สูตรว่าด้วยการตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
- กายคตาสติสูตร สูตรว่าด้วยสติกำหนดพิจารณากาย
- สังขารูปปัตติสูตร สูตรว่าด้วยความคิด
กับการเข้าถึงสภาพตามที่คิดไว้
- จูฬสุญญตสูตร สูตรว่าด้วยความว่างเปล่า สูตรเล็ก
- มหาสุญญตสูตร สูตรว่าด้วยความว่างเปล่าสูตรใหญ่
- อัจฉริยัพภูตธัมมสูต
รสูตรว่าด้วยสิ่งอัศจรรย์และไม่เคยมีก็มีขึ้น
- พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
สูตรว่าด้วยสิ่งอัศจรรย์และไม่เคยมีก็มีขึ้นของพระพักกุลเถระ
- ทันตภูมิสูตร สูตรว่าด้วยภูมิหรือสถานที่ที่ฝึกไว้
- ภูมิชสูตร สูตรว่าด้วยพระเถระชื่อภูมิชะ
- อนุรุทธสูตร สูตรว่าด้วยพระอนุรุทธเถระ
- อุปักกิเลสสูตร สูตรว่าด้วยเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต
- พาลบัณฑิตสูตร สูตรว่าด้วยพาลและบัณฑิต
- เทวทูตสูต รสูตรว่าด้วยเทวทูต
- ภัทเทกรัตตสูต รสูตรว่าด้วยราตรีเดียวกันที่ดี
- อานันทภัทเทกรัตตสูตร สูตรว่าด้วยพระอานนท์อธิบายภัทเทกรัตต
- มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
สูตรว่าด้วยพระมหากัจจานะอธิบายภัทเทกรัตต
- โลมสกังคิยสูตร สูตรว่าด้วยพระโลมสกังคิยะ
- จูฬกัมมวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรเล็ก
- มหากัมมวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรใหญ่
- สฬายตนวิภังคสูต รสูตรว่าด้วยการแจกอายตนะ ๖
- อุทเทสวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยบทตั้งและคำอธิบาย ๖
- อรณวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกธรรมที่ไม่มีข้าศึก
- ธาตุวิภงคคสูต รสูตรว่าด้วยการแจกธาตุ
- สัจจวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกอริยสัจจ์
- ทักขิณาวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกทักษิณา (ของทำทาน)
- อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
สูตรว่าด้วยการให้โอวาทแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี
- ฉันโนวาทสูตร สูตรว่าด้วยการให้โอวาทพระฉันนะ
- ปูณโณวาท สูตรสูตรว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระปุณณะ
- นันทโกวาท สูตรสูตรว่าด้วยการให้โอวาทของพระนันทกะ
- จูฬราหุโลวาท สูตรสูตรว่าด้วยประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก
- ฉฉักกสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด ๖ รวม ๖ข้อ
- สฬายตนวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกอายตนะ ๖
- นครวินเทยยสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ
- ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร สูตรว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งบิณฑบาต
- อินทริยภาวนาสูตร สูตรว่าด้วยการอบรมอินทรีย์