ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๑๔
ชื่อมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๕๒. อินทริยภาวนาสูตร สูตรว่าด้วยการอบรมอินทรีย์
๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่าไผ่ ใกล้นิคม ชื่อกัชชังคลา. ตรัสถามอุตตรมาณพผู้เป็นศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ว่า พราหมณ์ผู้นั้นแสดงถึงการอบรมอินทรีย์ แก่สาวกอย่างไร มาณพกราบทูลว่า พราหมณ์สอนไม่ให้เห็นรูป ไม่ให้ฟังเสียง พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น คนตาบอดหูหนวกก็จักชื่อว่าได้อบรมอินทรีย์ด้วย มาณพก็เก้อเขิล นิ่งก้มหน้า.
๒. จึงตรัสกะพระอานนท์ว่า ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการอบรมอินทรีย์แก่สาวก ต่างจากการอบรมอินทรีย์ในอริยวินัย ( วินัยของพระอริยเจ้า ) เมื่อพระอานนท์กราบทูลขอให้ทรงอธิบาย จึงตรัสแสดงถึงการอบรมอินทรีย์ เมื่อเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ และรู้ธรรมะว่า ความพอใจ ความไม่พอใจ หรือทั้งพอใจและไม่พอใจเกิดขึ้น ก็ให้รู้เท่าทันว่าเกิดขึ้นแล้ว แต่เป็นของหยาบอันปัจจัยปรุงแต่ง ส่วนความวางเฉยเป็นของสงบระงับและปราณีต ทรงสรุปว่า ทำอย่างนี้เป็นการอบรมอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย.
๓. แล้วทรงแสดงข้อปฏิบัติของเสขะ ( พระอริยบุคคลที่ยังมิได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ยังศึกษาอยู่ ) ว่า เมื่อเห็นรูป เสียง เป็นต้น เกิดความพอใจ ไม่พอใจ หรือทั้งพอใจและไม่พอใจขึ้น ก็เบื่อหน่ายเกลียดชัง ความรู้สึกพอใจ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นนั้น.
๔. ทรงแสดงการที่พระอริยเจ้าอบรมอินทรีย์แล้ว คือเมื่อเห็นรูป เสียง เป็นต้น เกิดความพอใจ เป็นต้น ใคร่จะอยู่อย่างกำหนดหมายว่าไม่เป็นปฏิกูล ( น่าเกลียด ) ในสิ่งปฏิกูล ; กำหนดหมายว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล ; กำหนดหมายว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ; กำหนดหมายว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและปฏิกูล ; หรือใคร่จะเพิกถอนทั้งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล อยู่อย่างวางเฉย มีสติสัมปชัญญะ ก็ทำได้ทุกอย่าง.
จบวรรคที่ ๕ และจบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔
- เทวทหสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ในเทวทหนิคม
- ปัญจัตตยสูตร สูตรว่าด้วยความเห็น ๕
ประการที่จัดเป็นประเภทได้ ๓
- กินติสูตร สูตรว่าด้วยความคิดว่า เป็นอย่างไร
- สามคามสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดในหมู่บ้านชื่อสามะ
- สุนักขัตตสูตร สูตรว่าด้วยสุนักขัตตลิจฉวี
- อาเนญชสัปปายสูตร สูตรว่าด้วยปฏิปทาเป็นที่สบายแก่อาเนญชะ
- คณกโมคคัลลานสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อคณกโมคคัลลานะ
- โคปกโมคคัลลานสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโมคคัลลานะ
- มหาปุณณมสูตร สูตรว่าด้วยคืนพระจันทร์เต็มดวง สูตรใหญ่
- จูฬปุณณมสูตร สูตรว่าด้วยคือพระจันทร์เต็มดวง สูตรเล็ก
- อนุปทสูตร สูตรว่าด้วยลำดับบทธรรม
- ฉวิโสธนสูตร สูตรว่าด้วยข้อสอบสวน ๖ อย่าง
- สัปปุริสธัมมสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะของดี
- เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร สูตรว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและไม่ควรเสพ
- พหุธาตุกสูตร สูตรว่าด้วยธาตุหลายอย่าง
- อิสิคิลิสูตร สูตรว่าด้วยภูเขาชื่ออิสิคิลิ
- มหาจัตตาฬีกสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด ๔๐ หมวดใหญ่
- อานาปานสติสูตร สูตรว่าด้วยการตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
- กายคตาสติสูตร สูตรว่าด้วยสติกำหนดพิจารณากาย
- สังขารูปปัตติสูตร สูตรว่าด้วยความคิด
กับการเข้าถึงสภาพตามที่คิดไว้
- จูฬสุญญตสูตร สูตรว่าด้วยความว่างเปล่า สูตรเล็ก
- มหาสุญญตสูตร สูตรว่าด้วยความว่างเปล่าสูตรใหญ่
- อัจฉริยัพภูตธัมมสูต
รสูตรว่าด้วยสิ่งอัศจรรย์และไม่เคยมีก็มีขึ้น
- พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
สูตรว่าด้วยสิ่งอัศจรรย์และไม่เคยมีก็มีขึ้นของพระพักกุลเถระ
- ทันตภูมิสูตร สูตรว่าด้วยภูมิหรือสถานที่ที่ฝึกไว้
- ภูมิชสูตร สูตรว่าด้วยพระเถระชื่อภูมิชะ
- อนุรุทธสูตร สูตรว่าด้วยพระอนุรุทธเถระ
- อุปักกิเลสสูตร สูตรว่าด้วยเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต
- พาลบัณฑิตสูตร สูตรว่าด้วยพาลและบัณฑิต
- เทวทูตสูต รสูตรว่าด้วยเทวทูต
- ภัทเทกรัตตสูต รสูตรว่าด้วยราตรีเดียวกันที่ดี
- อานันทภัทเทกรัตตสูตร สูตรว่าด้วยพระอานนท์อธิบายภัทเทกรัตต
- มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
สูตรว่าด้วยพระมหากัจจานะอธิบายภัทเทกรัตต
- โลมสกังคิยสูตร สูตรว่าด้วยพระโลมสกังคิยะ
- จูฬกัมมวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรเล็ก
- มหากัมมวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรใหญ่
- สฬายตนวิภังคสูต รสูตรว่าด้วยการแจกอายตนะ ๖
- อุทเทสวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยบทตั้งและคำอธิบาย ๖
- อรณวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกธรรมที่ไม่มีข้าศึก
- ธาตุวิภงคคสูต รสูตรว่าด้วยการแจกธาตุ
- สัจจวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกอริยสัจจ์
- ทักขิณาวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกทักษิณา (ของทำทาน)
- อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
สูตรว่าด้วยการให้โอวาทแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี
- ฉันโนวาทสูตร สูตรว่าด้วยการให้โอวาทพระฉันนะ
- ปูณโณวาท สูตรสูตรว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระปุณณะ
- นันทโกวาท สูตรสูตรว่าด้วยการให้โอวาทของพระนันทกะ
- จูฬราหุโลวาท สูตรสูตรว่าด้วยประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก
- ฉฉักกสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด ๖ รวม ๖ข้อ
- สฬายตนวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกอายตนะ ๖
- นครวินเทยยสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ
- ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร สูตรว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งบิณฑบาต
- อินทริยภาวนาสูตร สูตรว่าด้วยการอบรมอินทรีย์