ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

เล่มที่ ๑๔

ชื่อมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

๒๘.อุปักกิเลสสูตร สูตรว่าด้วยเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต

๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี.

สมัยนั้นภิกษุชาวกรุงโกสัมพีแตกกันต่างว่ากล่าวเสียดสีกันต่าง ๆ พระผู้มีพระภาคทรงห้ามปรามก็ไม่ฟัง จึงตรัสแสดงธรรมเป็นคติการทะเลาะวิวาทแล้วเสด็จไปสู่พาลกโลณการคาม ( หมู่บ้านทำเกลือชื่อพาลกะ ) ณ ที่นั้นได้ทรงแสดงธรรมแก่พระภคุ แล้วเสด็จไปสู่ป่าจีนวังสะ ผู้เฝ้าป่าไม่ยอมให้เข้า พระอนุรุทธ์ได้ทราบจึงแจ้งแก่คนเฝ้าป่ามิให้ห้าม เพราะท่านเป็นพระศาสดาของพวกเรา และได้บอกพระนันทิยะ พระกิมพิละมาเฝ้าต้อนรับ.

พระผู้มีพระภาคตรัสถึงความผาสุก, ความสามัคคี, ความไม่ประมาท, และคุณพิเศษ ดูที่พระสุตตันตะเล่ม ๔ หน้า ๔ ) เทียบดูด้วย ) ในข้อ ๓๑ .

จูฬโคสิงคสาลสูตร ท่านเหล่านั้นกล่าวตอบในทางที่ดีงาม.

๒. ในส่วนที่เกี่ยวกับคุณพิเศษ กราบทูลว่า รู้สึกว่ามีแสงสว่าง และเห็นรูป แต่ไม่นาน แสงสว่างนั้นและการเห็นรูปก็หายไป ไม่ได้บรรลุนิมิตนั้นอีก. ตรัสตอบว่า ควรบรรลุนิมิตนั้น แล้วตรัสเล่าเหตุการณ์ เมื่อก่อนตรัสรู้ว่าเคยทรงประสบภาวะเช่นนั้นเหมือนกัน แต่ทรงสอบสวนถึงต้นเหตุ ซึ่งทรงแก้ทีละอย่าง ๆ เหตุเหล่านั้นคือความสงสัย, การไม่ทำในใจ, ความหดหู่ง่วงงุน, ความหวาดสะดุ้ง , ความตื่นเต้น, ความย่อหย่อน, ความเพียรตึงเกินไป, ความเพียรหย่อนเกินไป, ความอยาก, ความกำหนดหมายต่าง ๆ , การเพ่งรูปมากเกินไป.

 ( รวมเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ๑๑ อย่าง ) ในที่สุด เมื่อทรงทราบว่าเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตก็ทรงละได้หมดทุกอย่าง.

๓. ตรัสเล่าต่อไปอีกว่า เมื่อทรงบำเพ็ญเพียรไป ก็ทรงรู้สึกว่ามีแสงสว่าง แต่ไม่ทรงเห็นรูปบ้าง ทรงเห็นรูป แต่ไม่ทรงรู้สึกว่ามีแสงสว่างบ้าง ตลอดคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งวันทั้งคืนบ้าง เมื่อทรงสอบสวนถึงเหตุปัจจัย ก็ทรงคิดว่า ในสมัยใดไม่สนใจรูปนิมิต ( เครื่องหมายคือรูป ) สนใจอกโอภาสนิมิต ( เครื่องหมายคือแสงสว่าง ) ในสมัยนั้นย่อมก็รู้สึกว่ามีแสงสว่าง แต่ไม่เห็นรูป; ในสมัยใดไม่สนใจโอภาสนิมิต สนใจแต่รูปริมิต ในสมัยนั้นย่อมเห็นรูป แต่ไม่รู้สึกว่าแสงสว่าง.

๔. ต่อจากนั้นทรงแสดงถึงการที่ทรงรู้สึกว่ามีแสงสว่างน้อย เห็นรูปน้อย, ทรงรู้สึกว่ามีแสงสว่างไม่มีประมาณ เห็นรูปไม่มีประมาณ เมื่อทรงสอบสวนถึงเหตุปัจจัย ก็ทรงคิดว่า ในสมัยใดสมาธิน้อย ในสมัยนั้นจักษุก็น้อย ทำให้รู้สึกว่าแสงสว่างน้อย เห็นรูปน้อย ด้วยจักษุน้อย แต่ในสมัยใดสมาธิไม่มีประมาณ ในสมัยนั้นจักษุก็ไม่มีประมาณ ทำให้รู้สึกว่าแสงสว่างไม่มีประมารณ เห็นรูปไม่มีประมาณ ( แสดงว่ากำลังของสมาธิเป็นสำคัญ ถ้ากำลังน้อยก็ทำให้ทิพยจักษุมีความสามารถน้อยไปด้วย ) ครั้นทรงทราบว่าได้ทรงละอุปกิเลสแห่งจิต ( ทั้งสิบเอ็ด ) ได้แล้ว ก็ทรงคิดว่าได้เจริญสมาธิโดยส่วน ๓ แล้วในบัดนี้.

๕. ต่อจากนั้นทรงแสดงว่า ได้ทรงเจริญ

๑. สมาธิที่มีทั้งวิตกวิจาร ( ได้แก่ฌานที่ ๑ )
๒. สมาธิที่ไม่มีวิตก แต่มีวิจาร ( ได้แก่ฌานที่ ๒ ในฌาน ๕ )
๓. สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร ( ได้แก่ฌารที่ ๒, ๓, ๔, ในฌาน ๔ และฌานที่ ๓, ๔, ๕ ในฌาน ๕ )
๔. สมาธิที่มีปีติ ( ได้แก่ฌานที่ ๑, ๒, ในฌาน ๔ และฌานที่ ๑, ๒, ๓, ในฌาน ๕ )
๕. สมาธิที่ไม่มีปีติ ( ได้แก่ฌานที่ ๓, ๔ ในฌาน ๔ และฌานที่ ๔, ๕ ในฌาน ๕ )
๖. สมาธิที่ประกอบด้วยความสุข ( ไ ด้แก่ฌานที่ ๑, ๒, ๓, ในฌาน ๔ และฌานที่ ๑ ถึง ๔ ในฌานที่ ๕)
๗. สมาธิที่ประกอบด้วยอุเบกขา ( ได้แก่ฌานที่ ๔ ในฌาน ๔ และฌานที่ ๕ ในฌาน ๕ )

เมื่อได้เจริญสมาธิอย่างนี้แล้วก็เกิดญาณทัสสนะ ( ความเห็นด้วยญาณ ) ขึ้นว่า ความหลุดพ้นของพระองค์ไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ไม่มีการเกิดอีก.

(หมายเหตุ? สูตรนี้แสดงหลักวิชาในการปฏิบัติจิตใจชั้นสูง ซึ่งเกิดปัญหาแก่พระสาวก แต่พระองค์ก็ทรงแสดงว่าได้แก้ปัญหาตกมาแล้ว ก่อนตรัสรู้ ในที่นี้ไม่ค่อยได้อธิบายศัพท์ไว้พิสดาร เพราะเห็นว่าจะต้องอธิบายยืดยาวและใช้หน้ากระดาษมาก อย่างไรก็ตาม สูตรนี้น่าเลื่อมใสเป็นพิเศษในทางปฏิบัติที่แสดงว่า พระพุทธศาสนานั้นมิใช่เรื่องสำหรับพูดเท่านั้น แต่จะต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลึกซึ่งในทางปฏิบัติด้วย และพึงสังเกตว่าในสูตรนี้ นับเป็นหลักฐานแรกที่แสดงฌาน ๕ เพราะที่แล้วมาแสดงแต่ฌาน ๔ เท่านั้น ).

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- เทวทหสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ในเทวทหนิคม
- ปัญจัตตยสูตร สูตรว่าด้วยความเห็น ๕ ประการที่จัดเป็นประเภทได้ ๓
- กินติสูตร สูตรว่าด้วยความคิดว่า “เป็นอย่างไร ”
- สามคามสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดในหมู่บ้านชื่อสามะ
- สุนักขัตตสูตร สูตรว่าด้วยสุนักขัตตลิจฉวี
- อาเนญชสัปปายสูตร สูตรว่าด้วยปฏิปทาเป็นที่สบายแก่อาเนญชะ
- คณกโมคคัลลานสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อคณกโมคคัลลานะ
- โคปกโมคคัลลานสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโมคคัลลานะ
- มหาปุณณมสูตร สูตรว่าด้วยคืนพระจันทร์เต็มดวง สูตรใหญ่
- จูฬปุณณมสูตร สูตรว่าด้วยคือพระจันทร์เต็มดวง สูตรเล็ก
- อนุปทสูตร สูตรว่าด้วยลำดับบทธรรม
- ฉวิโสธนสูตร สูตรว่าด้วยข้อสอบสวน ๖ อย่าง
- สัปปุริสธัมมสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะของดี
- เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร สูตรว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและไม่ควรเสพ
- พหุธาตุกสูตร สูตรว่าด้วยธาตุหลายอย่าง
- อิสิคิลิสูตร สูตรว่าด้วยภูเขาชื่ออิสิคิลิ
- มหาจัตตาฬีกสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด ๔๐ หมวดใหญ่
- อานาปานสติสูตร สูตรว่าด้วยการตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
- กายคตาสติสูตร สูตรว่าด้วยสติกำหนดพิจารณากาย
- สังขารูปปัตติสูตร สูตรว่าด้วยความคิด กับการเข้าถึงสภาพตามที่คิดไว้
- จูฬสุญญตสูตร สูตรว่าด้วยความว่างเปล่า สูตรเล็ก
- มหาสุญญตสูตร สูตรว่าด้วยความว่างเปล่าสูตรใหญ่
- อัจฉริยัพภูตธัมมสูต รสูตรว่าด้วยสิ่งอัศจรรย์และไม่เคยมีก็มีขึ้น
- พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตธัมมสูตร สูตรว่าด้วยสิ่งอัศจรรย์และไม่เคยมีก็มีขึ้นของพระพักกุลเถระ
- ทันตภูมิสูตร สูตรว่าด้วยภูมิหรือสถานที่ที่ฝึกไว้
- ภูมิชสูตร สูตรว่าด้วยพระเถระชื่อภูมิชะ
- อนุรุทธสูตร สูตรว่าด้วยพระอนุรุทธเถระ
- อุปักกิเลสสูตร สูตรว่าด้วยเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต
- พาลบัณฑิตสูตร สูตรว่าด้วยพาลและบัณฑิต
- เทวทูตสูต รสูตรว่าด้วยเทวทูต
- ภัทเทกรัตตสูต รสูตรว่าด้วยราตรีเดียวกันที่ดี
- อานันทภัทเทกรัตตสูตร สูตรว่าด้วยพระอานนท์อธิบายภัทเทกรัตต
- มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร สูตรว่าด้วยพระมหากัจจานะอธิบายภัทเทกรัตต
- โลมสกังคิยสูตร สูตรว่าด้วยพระโลมสกังคิยะ
- จูฬกัมมวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรเล็ก
- มหากัมมวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรใหญ่
- สฬายตนวิภังคสูต รสูตรว่าด้วยการแจกอายตนะ ๖
- อุทเทสวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยบทตั้งและคำอธิบาย ๖
- อรณวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกธรรมที่ไม่มีข้าศึก
- ธาตุวิภงคคสูต รสูตรว่าด้วยการแจกธาตุ
- สัจจวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกอริยสัจจ์
- ทักขิณาวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกทักษิณา (ของทำทาน)
- อนาถปิณฑิโกวาทสูตร สูตรว่าด้วยการให้โอวาทแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี
- ฉันโนวาทสูตร สูตรว่าด้วยการให้โอวาทพระฉันนะ
- ปูณโณวาท สูตรสูตรว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระปุณณะ
- นันทโกวาท สูตรสูตรว่าด้วยการให้โอวาทของพระนันทกะ
- จูฬราหุโลวาท สูตรสูตรว่าด้วยประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก
- ฉฉักกสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด ๖ รวม ๖ข้อ
- สฬายตนวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกอายตนะ ๖
- นครวินเทยยสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ
- ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร สูตรว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งบิณฑบาต
- อินทริยภาวนาสูตร สูตรว่าด้วยการอบรมอินทรีย์


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย