ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๑๔
ชื่อมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๕. สุนักขัตตสูตร สูตรว่าด้วยสุนักขัตตลิจฉวี
๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ศาลาเรือนยอด ในป่าใหญ่ใกล้กรุงเวสาลี สมัยนั้นภิกษุหลายรูปพยากรณ์อรหัตตผลในสำนักพระผู้มีพระภาค ( คือพูดว่าตนเป็นพระอรหันต์ ) สุนักขัตตลิจฉวีได้ทราบ จึงเข้าไปกราบทูลถามว่า ภิกษุพวกนั้นพยากรณ์โดยชอบ ( ได้บรรลุจริง ๆ ) หรือสำคัญผิดว่าได้บรรลุ .
ตรัสตอบว่ามีทั้งสองประเภท แต่ประเภทที่สำคัญผิดว่าได้บรรลุ ตถาคตก็คิดว่าจักแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ส่วนผู้ที่แต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต ( เพื่อลองดี ) แม้ตถาคตคิดว่าจักแสดงธรรมแก่เขา ความคิดนั้นก็เป็นอย่างอื่น ( คือรู้สึกว่าฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิด อีกฝ่ายหนึ่งตั้งอยู่ในอิจฉาจาร คือความอยาก ความปรารถนาเป็นตัวนำ).
๒. เมื่อสุนักขัตตลิจฉวีกราบทูลขอให้ทรงแสดงธรรมเพื่อภิกษุทั้งหลายจักได้ทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงเรื่องกาม ๕ คือ รูป เสียง เป็นต้น ที่น่าปรารถนารักใคร่ชอบใจ แล้วทรงแสดงถึงฐานะที่อาจเป็นไปได้ที่บุคคลผู้น้อมไปในโลกามิส ( เหยื่อล่อของโลกมีรูป เสียง เป็นต้น) ย่อมพูดย่อมตรึกตรองแต่เรื่องประเภทนั้น คบบุคคลที่น้อมจิตไปในโลกามิสด้วยกัน ไม่สนใจฟังถ้อยคำที่เนื่องด้วย ( ฌานสมาบัติที่เป็น ) อาเนญชะ ( คือไม่หวั่นไหว ) ไม่คบบุคคลที่มีใจน้อมไปในอาเนญชะนั้น จึงพึงทราบว่าได้ว่าเป็นผู้น้อมไปในโลกามิส.
๓. ครั้นแล้วได้ทรงแสดงต่อไปถึงฐานะที่อาจเป็นไปได้ ที่ผู้น้อมจิตไปในอาเนญชะ , ในอากิญจัญญายตนะ ( อรูปสมาบัติที่ ๓ ), ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ( อรูปสมาบัติที่ ๔ ) และในสัมมานิพพาน ( สภาพที่ดับกิเลสและความทุกข์โดยชอบ ) แต่ละข้อ ย่อมพูด ย่อมตรึกตรองแต่เรื่องที่ตนสนใจ ไม่สนใจฟังในเรื่องที่ต่ำกว่า ( ระบุชื่อเป็นชั้น ๆ จนถึงสัมมานิพพานซึ่งถือว่าสูงสุด ) จึงพึงทราบได้ว่าเป็นผู้น้อมไปในอาเนญชะ. ในอากิญจัญญายตนะ เป็นต้น จนถึงสัมมานิพพาน.
๔. แล้วทรงแสดงถึงฐานะที่อาจเป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปรู้ว่า ลูกศรคือตัณหาอันพระสมณะ ( พระพุทธเจ้า ) ได้ตรัสไว้ พิษร้ายคืออวิชชา ย่อมกำเริมเพราะฉันทราคะ ( ความกำหนัดเพราะพอใจ ) และพยาบาท ( ความคิดปองร้าย ) ถ้าละลูกศรคือตัณหาได้ นำพิษร้ายคืออวิชชาออกได้ ตนก็จะน้อมไปในสัมมานิพพาน แต่ก็ประกอบเนือง ๆ ในทางที่แสลงต่อสัมนิพพาน จึงถูกราคะครอบงำจิตถึงความตาย ( จากศาสนา ) หรือทุกข์ปางตาย ( ต้องอาบัติเศร้าหมองอื่น ๆ ) และทรงแสดงภิกษุที่ตรงกันข้าม คือรู้แล้วไม่ประกอบเนือง ๆ ในทางที่แสลงต่อสัมมานิพพานจึงไม่เป็นเช่นนั้น .
ทรงเปรียบเหมือนคนถูกลูกศรไปให้หมอผ่าตัดถอนเอาลูกศรออกแล้ว แต่กินของแสลง และไม่รักษาปากแผลให้ดี แผลก็อาจกำเริมทำให้ถึงตาย หรือทุกข์ปางตายได้ และเหมือนบุคคลที่ไม่กินของแสลง รักษาปากแผลดี แผลก็ไม่กำเริบ.
๕. ตรัสต่อไปว่า ภิกษุผู้สำรวมในอายตนะ ๖ ( มี ตา, หู เป็นต้น ) รู้ว่ากิเลสเป็นรากของความทุกข์ เป็นผู้ไม่มีกิเลส หลุดพ้นเพราะสิ้นกิเลสแล้ว ก็มิใช่ฐานะที่จะนำกายเข้าไปเกลือกกลั้วในสิ่งที่ตั้งแห่งกิเลสและคิดในทางที่เป็นกิเลส เปรียบเหมือนคนรู้ผู้รักชีวิตย่อมไม่ดื่มยาพิษ ไม่ยื่นมือ หรือหัวแม่มือ หัวแม่เท้า เข้าหางูพิษ.
- เทวทหสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ในเทวทหนิคม
- ปัญจัตตยสูตร สูตรว่าด้วยความเห็น ๕
ประการที่จัดเป็นประเภทได้ ๓
- กินติสูตร สูตรว่าด้วยความคิดว่า เป็นอย่างไร
- สามคามสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดในหมู่บ้านชื่อสามะ
- สุนักขัตตสูตร สูตรว่าด้วยสุนักขัตตลิจฉวี
- อาเนญชสัปปายสูตร สูตรว่าด้วยปฏิปทาเป็นที่สบายแก่อาเนญชะ
- คณกโมคคัลลานสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อคณกโมคคัลลานะ
- โคปกโมคคัลลานสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโมคคัลลานะ
- มหาปุณณมสูตร สูตรว่าด้วยคืนพระจันทร์เต็มดวง สูตรใหญ่
- จูฬปุณณมสูตร สูตรว่าด้วยคือพระจันทร์เต็มดวง สูตรเล็ก
- อนุปทสูตร สูตรว่าด้วยลำดับบทธรรม
- ฉวิโสธนสูตร สูตรว่าด้วยข้อสอบสวน ๖ อย่าง
- สัปปุริสธัมมสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะของดี
- เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร สูตรว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและไม่ควรเสพ
- พหุธาตุกสูตร สูตรว่าด้วยธาตุหลายอย่าง
- อิสิคิลิสูตร สูตรว่าด้วยภูเขาชื่ออิสิคิลิ
- มหาจัตตาฬีกสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด ๔๐ หมวดใหญ่
- อานาปานสติสูตร สูตรว่าด้วยการตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
- กายคตาสติสูตร สูตรว่าด้วยสติกำหนดพิจารณากาย
- สังขารูปปัตติสูตร สูตรว่าด้วยความคิด
กับการเข้าถึงสภาพตามที่คิดไว้
- จูฬสุญญตสูตร สูตรว่าด้วยความว่างเปล่า สูตรเล็ก
- มหาสุญญตสูตร สูตรว่าด้วยความว่างเปล่าสูตรใหญ่
- อัจฉริยัพภูตธัมมสูต
รสูตรว่าด้วยสิ่งอัศจรรย์และไม่เคยมีก็มีขึ้น
- พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
สูตรว่าด้วยสิ่งอัศจรรย์และไม่เคยมีก็มีขึ้นของพระพักกุลเถระ
- ทันตภูมิสูตร สูตรว่าด้วยภูมิหรือสถานที่ที่ฝึกไว้
- ภูมิชสูตร สูตรว่าด้วยพระเถระชื่อภูมิชะ
- อนุรุทธสูตร สูตรว่าด้วยพระอนุรุทธเถระ
- อุปักกิเลสสูตร สูตรว่าด้วยเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต
- พาลบัณฑิตสูตร สูตรว่าด้วยพาลและบัณฑิต
- เทวทูตสูต รสูตรว่าด้วยเทวทูต
- ภัทเทกรัตตสูต รสูตรว่าด้วยราตรีเดียวกันที่ดี
- อานันทภัทเทกรัตตสูตร สูตรว่าด้วยพระอานนท์อธิบายภัทเทกรัตต
- มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
สูตรว่าด้วยพระมหากัจจานะอธิบายภัทเทกรัตต
- โลมสกังคิยสูตร สูตรว่าด้วยพระโลมสกังคิยะ
- จูฬกัมมวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรเล็ก
- มหากัมมวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรใหญ่
- สฬายตนวิภังคสูต รสูตรว่าด้วยการแจกอายตนะ ๖
- อุทเทสวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยบทตั้งและคำอธิบาย ๖
- อรณวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกธรรมที่ไม่มีข้าศึก
- ธาตุวิภงคคสูต รสูตรว่าด้วยการแจกธาตุ
- สัจจวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกอริยสัจจ์
- ทักขิณาวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกทักษิณา (ของทำทาน)
- อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
สูตรว่าด้วยการให้โอวาทแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี
- ฉันโนวาทสูตร สูตรว่าด้วยการให้โอวาทพระฉันนะ
- ปูณโณวาท สูตรสูตรว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระปุณณะ
- นันทโกวาท สูตรสูตรว่าด้วยการให้โอวาทของพระนันทกะ
- จูฬราหุโลวาท สูตรสูตรว่าด้วยประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก
- ฉฉักกสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด ๖ รวม ๖ข้อ
- สฬายตนวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกอายตนะ ๖
- นครวินเทยยสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ
- ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร สูตรว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งบิณฑบาต
- อินทริยภาวนาสูตร สูตรว่าด้วยการอบรมอินทรีย์