ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

เล่มที่ ๑๔

ชื่อมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

๔๒.ทักขิณาวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกทักษิณา (ของทำทาน )

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นิโครธาราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ.

พระนางมหาปชาบดีโคตมี นำคู่ผ้าใหม่ซึ่งทรงกรอด้ายเองไปถวายพระผู้มีพระภาค ขอให้ทรงรับเป็นเป็นการอนุเคราะห์.

พระผู้มีพระภาคตรัสแนะให้ถวายในสงฆ์ อันจะชื่อว่าบูชาทั้งพระองค์และพระสงฆ์ .

พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงยืนยันขอถวายพระผู้มีพระภาคตามเดินเป็นครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ทรงแนะนำตามเดิมแม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓.

๒. พระอานนท์จึงกราบทูลขอให้พระองค์ทรงรับ โดยอ้างอุปการคุณ ซึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมี เคยมีต่อพระผู้มีพระภาคในการที่ทรงเลี้ยงดู ทรงให้ดื่มถัญญ์ ( น้ำนม ) ภายหลังที่พระพุทธมารดาสวรรคต และอ้างอุปการคุณที่พระผู้มีพระภาคทรงมีต่อพระนางมหาปชาบดี โคตมี เป็นเหตุให้พระนางถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ, ทรงเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปด ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย, ทรงประกอบด้วยความเลื้อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.

ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่ , ทรงหมดความสงสัยในอริยสัจจ์ ๔ ประการ.

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลอาศัยผู้ใด แล้วตั้งอยู่ในคุณธรรมตามที่พระอานนท์กล่าวมานั้น พระองค์ไม่ตรัสการที่บุคคลนั้นกราบไว้ ลุกขึ้นต้อนรับ ทำอัญชลีกรรม ( พนมมือไหว้ ) สามีจิกรรม ( การแสดงอัธยาศัยไมตรีให้เหมาะสมแก่ฐานะ ) และการให้ปัจจัย ๔ มีผ้านุ่งห่ม เป็นต้น ว่าเป็นการตอบแทนอันดีต่อผู้ที่ตนอาศัยนั้น.

๓. แล้วทรงแสดงทักษิณา ( ของให้หรือของถวาย ) ที่เจาะจงบุคคล ๑๔ ประเภทเป็นข้อ ๆ ไป คือ การที่บุคคลถวายทานหรือให้ทาน
๑. ในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. ในพระปัจเจกพุทธเจ้า
๓. ในพระอรหันตสาวกของพระตถาคต
๔. ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล
๕. ในพระอนาคามี
๖. ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
๗. ในพระสกทาคามี
๘. ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล
๙. ในพระโสดาบัน
๑๐. ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
๑๑. ในท่านผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ภายนอก ( พระพุทธศาสนา )
๑๒. ในบุถุชน ( คนยังหนาด้วยกิเลส ) ผู้มีศีล
๑๓. ในบุถุชนผู้ทุศีล
๑๔. ในสัตว์ดิรัจฉาน.

๔. แล้วทรงแสดงว่า ทักษิณา มีคุณอันพึงหวังได้ คือทานที่ให้ในสัตว์ดิรัจฉาน มีคุณถึงร้อย , ในบุถุชนผู้ทุศีล มีคุณถึงพัน , ในบุถุชนผู้มีศีล มีคุณถึงแสน , ในท่านผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ภายนอก ( พระพุทธศาสนา ) มีคุณถึงแสนโกฏิ , ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มีคุณเป็นอสงไขย ( นับไม่ได้ ) อัปไมย ( ประมาณไม่ได้ ) จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงทานที่ถวายในบุคคลที่สูงขึ้นไปกว่านี้.

๕. แล้วทรงแสดงทักษิณา ( ของถวาย ) ที่เป็นไปในสงฆ์ ๗ ประเภท คือ

๑. ในสงฆ์สองฝ่าย (ภิกษุสงฆ์ , ภิกษุณีสงฆ์ ) มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
๒. ในสงฆ์สองฝ่าย เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว
๓. ในภิกษุสงฆ์
๔. ในภิกษุณีสงฆ์
๕. ทักษิณาที่เจาะจงภิกษุ หรือภิกษุณีจำนวนเท่านั้นเท่านี้จากสงฆ์
๖. ทักษิณาที่เจาะจงภิกษุเท่านั้นเท่านี้จากสงฆ์
๗. ทักษิณาที่เจาะจงภิกษุณีเท่านั้นเท่านี้จากสงฆ์.

๖. ตรัสว่า ในอนาคตกาลนานไกล จักมีโคตรภู (สงฆ์ ) ผู้มีผ้ากาสาวะที่คอ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรมบุคคลจักถวายทานอุทิศสงฆ์ในโคตรภู (สงฆ์ ) ผู้ทุศีลเหล่านั้น แม้ทักษิณาที่เป็นไปในสงฆ์นั้น เราก็กล่าวว่านับไม่ได้ประมาณไม่ได้. เราไม่กล่าวว่า ทานที่เจาะจงบุคคลมีผลมากกว่าทักษิณาที่เป็นไปในสงฆ์โดยปริยายไร ๆ เลย.

๗. ตรัสแสดงความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง คือทักษิณาที่

๑. บิริสุทธิ์ฝ่ายทายก ( ผู้ให้ ) ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ( ผู้รับ )
๒. บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓. ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก ๔. บริสุทธ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก.

พร้อมทั้งทรงแสดงรายละเอียดกำหนดความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ด้วยการที่บุคคลมีศีล มีกัลยาณธรรม และทุศีล มีบาปธรรม.

จบวรรคที่ ๔ ขึ้นวรรคที่ ๕ ชื่อสฬายตนวรรค แปลว่า วรรคกำหนดด้วยอายตนะ ๖

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- เทวทหสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ในเทวทหนิคม
- ปัญจัตตยสูตร สูตรว่าด้วยความเห็น ๕ ประการที่จัดเป็นประเภทได้ ๓
- กินติสูตร สูตรว่าด้วยความคิดว่า “เป็นอย่างไร ”
- สามคามสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดในหมู่บ้านชื่อสามะ
- สุนักขัตตสูตร สูตรว่าด้วยสุนักขัตตลิจฉวี
- อาเนญชสัปปายสูตร สูตรว่าด้วยปฏิปทาเป็นที่สบายแก่อาเนญชะ
- คณกโมคคัลลานสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อคณกโมคคัลลานะ
- โคปกโมคคัลลานสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโมคคัลลานะ
- มหาปุณณมสูตร สูตรว่าด้วยคืนพระจันทร์เต็มดวง สูตรใหญ่
- จูฬปุณณมสูตร สูตรว่าด้วยคือพระจันทร์เต็มดวง สูตรเล็ก
- อนุปทสูตร สูตรว่าด้วยลำดับบทธรรม
- ฉวิโสธนสูตร สูตรว่าด้วยข้อสอบสวน ๖ อย่าง
- สัปปุริสธัมมสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะของดี
- เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร สูตรว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและไม่ควรเสพ
- พหุธาตุกสูตร สูตรว่าด้วยธาตุหลายอย่าง
- อิสิคิลิสูตร สูตรว่าด้วยภูเขาชื่ออิสิคิลิ
- มหาจัตตาฬีกสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด ๔๐ หมวดใหญ่
- อานาปานสติสูตร สูตรว่าด้วยการตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
- กายคตาสติสูตร สูตรว่าด้วยสติกำหนดพิจารณากาย
- สังขารูปปัตติสูตร สูตรว่าด้วยความคิด กับการเข้าถึงสภาพตามที่คิดไว้
- จูฬสุญญตสูตร สูตรว่าด้วยความว่างเปล่า สูตรเล็ก
- มหาสุญญตสูตร สูตรว่าด้วยความว่างเปล่าสูตรใหญ่
- อัจฉริยัพภูตธัมมสูต รสูตรว่าด้วยสิ่งอัศจรรย์และไม่เคยมีก็มีขึ้น
- พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตธัมมสูตร สูตรว่าด้วยสิ่งอัศจรรย์และไม่เคยมีก็มีขึ้นของพระพักกุลเถระ
- ทันตภูมิสูตร สูตรว่าด้วยภูมิหรือสถานที่ที่ฝึกไว้
- ภูมิชสูตร สูตรว่าด้วยพระเถระชื่อภูมิชะ
- อนุรุทธสูตร สูตรว่าด้วยพระอนุรุทธเถระ
- อุปักกิเลสสูตร สูตรว่าด้วยเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต
- พาลบัณฑิตสูตร สูตรว่าด้วยพาลและบัณฑิต
- เทวทูตสูต รสูตรว่าด้วยเทวทูต
- ภัทเทกรัตตสูต รสูตรว่าด้วยราตรีเดียวกันที่ดี
- อานันทภัทเทกรัตตสูตร สูตรว่าด้วยพระอานนท์อธิบายภัทเทกรัตต
- มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร สูตรว่าด้วยพระมหากัจจานะอธิบายภัทเทกรัตต
- โลมสกังคิยสูตร สูตรว่าด้วยพระโลมสกังคิยะ
- จูฬกัมมวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรเล็ก
- มหากัมมวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรใหญ่
- สฬายตนวิภังคสูต รสูตรว่าด้วยการแจกอายตนะ ๖
- อุทเทสวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยบทตั้งและคำอธิบาย ๖
- อรณวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกธรรมที่ไม่มีข้าศึก
- ธาตุวิภงคคสูต รสูตรว่าด้วยการแจกธาตุ
- สัจจวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกอริยสัจจ์
- ทักขิณาวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกทักษิณา (ของทำทาน)
- อนาถปิณฑิโกวาทสูตร สูตรว่าด้วยการให้โอวาทแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี
- ฉันโนวาทสูตร สูตรว่าด้วยการให้โอวาทพระฉันนะ
- ปูณโณวาท สูตรสูตรว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระปุณณะ
- นันทโกวาท สูตรสูตรว่าด้วยการให้โอวาทของพระนันทกะ
- จูฬราหุโลวาท สูตรสูตรว่าด้วยประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก
- ฉฉักกสูตร สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด ๖ รวม ๖ข้อ
- สฬายตนวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการแจกอายตนะ ๖
- นครวินเทยยสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ
- ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร สูตรว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งบิณฑบาต
- อินทริยภาวนาสูตร สูตรว่าด้วยการอบรมอินทรีย์


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย