ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๓๕
ชื่อวิภังค์ (เป็นอภิธัมมปิฎก)
๒. อายตนวิภังค์ แจกอายตนะ ๑๒
ก. สุตตันตภาชนียะ แจกตามแนวพระสูตร
อายตนะ ( ที่ต่อหรือบ่อเกิด ) ๑๒ อย่าง คือ อายตนะคือตา, รูป, หู, เสียง, จมูก, กลิ่น, ลิ้น, รส, กาย, โผฏฐัพพะ, ใจ, ธรรมะ.
แล้วยกชื่ออายตนะทั้งสิบสองข้อขึ้นกล่าวทีละข้อว่า ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, ไม่ใช่ตัวตน, มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา.
ข. อภิธัมมภาชนียะ แจกตามแนวพระอภิธรรม
อายตนะ ๑๒ อย่าง คือตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ, รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, ธรรมะ ( พึงสังเกต วิธีเรียงลำดับเทียบเคียงกับข้างบนดูด้วย ).
ครั้นแล้วอธิบายตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย แต่ละข้อว่า เป็นประสาทอาศัยธาตุ ๔, ส่วนใจอธิบายตามแบบ วิญญาณขันธ์ในขันธ์ ๕ ที่กล่าวมาแล้ว และได้อธิบายรูปว่า ได้แก่สี่ที่อาศัยธาตุทั้งสี่, เสียง, กลิ่น, รส, ว่า อาศัยธาตุทั้งสี่. โผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย ) ว่า ได้แก่ธาตุ ๓ คือ ธาตุดิน, ธาตุไฟ, ธาตุลมส่วนธรรมะ ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ) ได้แก่เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, รูปที่เห็นไม่ได้ ถูกต้องไม่ได้ อันนับเนื่อง ในธัมมายตนะ และอสังขตธาตุ ( ธาตุที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่นิพพาน ).
ค. ปัญหาปุจฉกะ หมวดถามตอบปัญหา
เป็นการถามแบบเดียวกับขันธวิภังค์ คืออายตนะ ๑๒ มีกุศลกี่อย่าง อกุศลกี่อย่าง อัพยากฤตกี่อย่าง ฯลฯ มีข้าศึกกี่อย่าง ไม่มีข้าศึกกี่อย่าง.
ตอบว่า อายตนะ ๑๐ เป็นอัพยากฤต คือเป็นกลาง ๆ, ส่วนอายตนะ ๒ ( อายตนะคือใจกับธรรมะ ) เป็นกุศล บ้าง อกุศลบ้าง อัพยากฤตบ้าง ฯลฯ อายตนะ ๑๐ ไม่มีข้าศึก, ส่วนอายตนะ ๒ ( อายตนะคือใจกับธรรมะ ) เป็นกุศลบ้าง อายตนะ ๒ ( อายตนะคือใจกับธรรมะ คือสิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ) มีข้าศึก.
( หมายเหตุ : แสดงว่า ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ รวม ๑๐ อย่างนี้เป็น กลาง ๆ และไม่มีข้าศึกเพราะเป็นรูป ส่วนใจกับธรรมะเป็นกุศลบ้าง, อกุศลบ้าง อัพยากฤตบ้าง และมีข้าศึกคือกิเลส ).
- ขันธวิภังค์ แจกขันธ์ ๕
- อายตนวิภังค์ แจกอายตนะ ๑๒
- ธาตุวิภังค์ แจกธาตุ
- สัจจวิภังค์ แจกสัจจะ
- อินทริยวิภังค์ แจกอินทรีย์
- ปัจจยาการวิภังค์ แจกปัจจยาการ
- สติปัฏฐานวิภังค์ แจกสติปัฏฐาน
- สัมมัปปธานวิภังค์ แจกความเพียรชอบ
- อิทธิปาทวิภังค์ แจกอิทธิบาท
- โพชฌังควิภังค์ แจกโพชฌงค์
- มัคควิภังค์ แจกมรรค
- ฌานวิภังค์ แจกฌาน (การเพ่งอารมณ์ )
- อัปปมัญญาวิภังค์ แจกอัปปมัญญา
- สิกขาปทวิภังค์ แจกสิกขาบท
- ปฏิสัมภิทาวิภังค์ แจกปฏิสัมภิทา
- ญาณวิภังค์ แจกญาณ ( ความรู้ )
- ขุททกวัตถุวิภังค์ แจกเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ
- ธัมมหทยวิภังค์ แจกหัวข้อธรรม