ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑
คำอธิบายบทตั้งอย่างย่อ
หมวดใหญ่ทั้งสองได้นำมาตั้งไว้รวมกัน เพราะถือว่าเป็นคำอธิบายบทตั้งหรือมาติกา เป็นแต่แบบแรก ยาว กว่า แบบหลังสั้นกว่า ในที่นี้จะแสดงตัวอย่างคำอธิบาย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ทั้งสองแบบพอให้เห็น ตัวอย่าง.
คำอธิบายกุศลธรรมในนิกเขปกัณฑ์
รากเหง้าแห่งกุศล ๓ คือความไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ อันประกอบด้วยความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงนั้น, กายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม ( การกระทำทางกาย, วาจา, ใจ ) อันมีความไม่โลภไม่โกรธไม่หลงนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากุศล ( พึงสังเกตว่า ในจิตตุปปาทกัณฑ์แสดง กุศลธรรมเพียงแค่จิตกับเจตสิก แต่ในที่นี้ อธิบายกว้างออกมาถึงการกระทำทางกาย วาจา ใจ ด้วย ).
คำอธิบายกุศลธรรมในอัตถุทธารกัณฑ์
กุศลในภูมิ ๔ ( กามาวจรภูมิ, รูปาวจรภูมิ, อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ ) ธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากุศล
คำอธิบายอกุศลธรรมในนิกเขปกัณฑ์
รากเหง้าแห่งกุศล ๓ คือความโลภ ความไม่โกรธ ความหลง, กิเลสที่มีเนื้อความอันเดียวกับความโลภ ความ โกรธ ความหลงนั้น, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ อันประกอบด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้น, กายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม อันมีความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอกุศล.
คำอธิบายอกุศลธรรมในอัตถุทธารกัณฑ์
ความเกิดขึ้นแห่งจิตอันเป็นอกุศล ๑๒ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอกุศล.
คำอธิบายอัพยากตธรรมในนิกเขปกัณฑ์
วิบาก ( ผล ) ของธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลที่เป็นกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร, โลกุตตระ ( อปริยาปันนะ), ที่เป็นเวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ ธรรมที่เป็นกิริยา มิใช่กุศล มิใช่ผลของกรรม, รูปทั้งปวง, อสังขต- ธาตุ ( นิพพาน ). ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัพยากฤต ( เป็นกลาง ๆ ).
คำอธิบายอัพยากตธรรมในอัตถุทธารกัณฑ์
วิบากในภูมิทั้งสี่, กิริยาในภูมิทั้งสาม ( โลกุตตรภูมิไม่มีกิริยา ), รูป, นิพพาน ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัพยากฤต.
จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ ธัมมสังคณี
( หมายเหตุ : ผู้เขียนมีความเสียดายอย่างยิ่งที่ไม่สามารถแสดงคำอธิบายในบทตั้งในเล่มที่ ๓๔ ได้ หมดทุกข้อ แต่ก็ขอให้ท่านผู้อ่าน ซึ่งเคยผ่านหนังสือเรื่อง GUIDE THROUGH ABHIDHAMMAPITAKA (นำทางอภิธัมมปิฎก) ของพระนยายติโลกเถระ ชาวเยอรมันมาแล้ว โปรดเทียบเคียงดู จะเห็นได้ว่า ผู้เขียนย่อในที่นี้ พิสดารกว่ามาก ส่วนที่พระเถระ เยอรมันย่อนั้น บางตอนหนักไปในทางถอดข้อความในหนังสือ อภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งมิใช่พระอภิธัมมปิฎกมากกว่า ส่วนเล่มนี้ ถือแนวตามอภิธัมมปิฎก แต่เทียบให้เห็นบางส่วนของอภิธัมมัตถสังคหะ ความจำเป็นในการย่อแต่พอได้สาระสำคัญ และหน้า กระดาษจำกัด ทำให้ต้องจบข้อความในเล่มที่ ๓๔ ทั้งที่ยังมีข้อความบางตอนที่น่าสนใจอีกมาก แต่อย่างไรก็ตาม ท่านผู้อ่านก็ได้ ผ่านสาระสำคัญเกือบจะเรียกว่าสมบูรณ์).
- อภิธรรม ๗ คัมภีร์
- ธัมมสังคณี
- แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายอภิธรรม
- แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายพระสูตร
- คำอธิบายเรื่องจิตเกิด
- การนับจำนวนจิต
- ธรรมะประกอบกับจิต
- อกุศลจิต ๑๒
- อัพยากตจิต ๕๖
- วิบากจิตฝ่ายอกุศล
- กิริยาจิต ๒๐
- คำอธิบายเรื่องรูป
- คำอธิบายบทตั้งอย่างย่อ