ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑
ธัมมสังคณี
เฉพาะเล่มที่ ๓๔ ซึ่งมีชื่อว่า " ธัมมสังคณี " ( รวมกลุ่มธรรมะ ) นั้น แบ่งออก เป็น ๕ หัวข้อใหญ่ ดังต่อไปนี้ :-
๑. หัวข้อที่เป็นกระทู้ธรรมหรือแม่บท ( มาติกา )
เท่ากับเป็นแก่นหรือ สาระสำคัญของ ธัมมสังคณี แต่มีย่อมาก จึงจำเป็นต้องมีหัวข้ออื่น ๆ ต่อ ๆ ไปอีก ๔ ข้อ เพื่อช่วยขยายความ.
๒. คำอธิบายเรื่องจิตว่าเกิดขึ้นอย่างไร ( จิตตุปปาทกัณฑ์ )
เป็นคำ อธิบายเพียงบางส่วนของมาติกาหรือแม่บท เฉพาะที่เกี่ยวกับจิตกับธรรมะที่เนื่องด้วยจิต ( ที่เรียกว่าเจตสิก ) จัดว่าเป็นคำอธิบาย ที่พิสดารที่สุดกว่าหัวข้อทุก ๆ หัวข้อ.
๓. คำอธิบายเรื่องรูปคือส่วนที่เป็นร่างกาย ( รูปกัณฑ์ )
เมื่อแยกพูด เรื่องจิตและเจตสิกไว้ใน ข้อที่ ๒ แล้ว จึงพูดเรื่องรูปหรือกายไว้ในข้อที่ ๓ นี้.
๔. คำอธิบายแม่บทหรือมาติกาที่ตั้งไว้ในข้อหนึ่ง หมดทุกข้อ ( นิกเขปกัณฑ์ )
เป็นการอธิบายบทตั้งทุกบทด้วยคำอธิบายขนาดกลาง ไม่ยาวเกินไป ไม่สั้นเกินไป. ไม่เหมือนกับข้อ ๒ และข้อ ๓ ซึ่งอธิบายเฉพาะบทตั้งเพียงบางบทอย่างพิสดาร.
๕. คำอธิบายแม่บทหรือมาติกาที่ตั้งไว้ในข้อหนึ่งแบบรวบรัดหมดทุกข้อ ( อัตถุทธารกัณฑ์ )
หัวข้อนี้อธิบายอย่างย่อมาก.
เมื่ออ่านมาถึงเพียงนี้ ก็พอจะเห็นเค้าโครงแห่ง ธัมมสังคณี บ้างแล้ว ว่าแบ่ง ออกเป็น ๕ ส่วนอย่างไร และมีหลักเกณฑ์ในการแบ่งหัวข้ออย่างไร ต่อนี้ไป จะขยายความให้เห็นเนื้อหาของพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ เป็นลำดับไป.
ขยายความ เล่มที่ ๓๔
ธัมมสังคณี ( รวมกลุ่มธรรมะ )
๑. แม่บทหรือมาติกา
แม่บทหรือมาติกานี้ แบ่งออกเป็น ๒ หัวข้อใหญ่ คือ อภิธัมมมาติกา ได้แก่ แม่บทหรือกระทู้ธรรมที่เป็นฝ่ายอภิธรรมอย่างหนึ่ง.
สุตตันตมาติกา ได้แก่แม่บทหรือกระทู้ธรรมที่ฝ่ายพระสูตร คือนำ ธรรมะจากพระสูตรมาตั้งเทียบเคียงให้ดูอีกอย่างหนึ่ง. แม่บทฝ่ายพระสูตรไม่มีหัวย่อย คงกล่าวถึงชื่อธรรมะต่าง ๆ แต่ต้นจนจบ ส่วนแม่บทฝ่ายอภิธรรม แบ่งออกเป็นหัวข้อย่อย ๑๔ หัวข้อดังต่อไปนี้ :-
- อภิธรรม ๗ คัมภีร์
- ธัมมสังคณี
- แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายอภิธรรม
- แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายพระสูตร
- คำอธิบายเรื่องจิตเกิด
- การนับจำนวนจิต
- ธรรมะประกอบกับจิต
- อกุศลจิต ๑๒
- อัพยากตจิต ๕๖
- วิบากจิตฝ่ายอกุศล
- กิริยาจิต ๒๐
- คำอธิบายเรื่องรูป
- คำอธิบายบทตั้งอย่างย่อ