ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑

คำอธิบายเรื่องรูป

( รูปกัณฑ์ )

   คำอธิบายเรื่องรูป หรือรูปกัณฑ์นี้ เป็นส่วนที่ ๓ คือส่วนที่ ๑ เป็นมาติกา หรือบทตั้ง ส่วนที่ ๒ เป็นคำ อธิบายเรื่องจิตเกิด ( จิตตุปปาทกัณฑ์ ) ส่วนที่ ๓ จึงถึงลำดับที่จะอธิบายเรื่องรูป.

   ในการอธิบายคำว่า รูป นี้ ท่านตั้งคำถามขึ้นก่อนว่า ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ( อัพยากฤต ) เป็นไฉน แล้วแก้ว่า ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ( โดยใจความ ) ได้แก่ธรรม ๔ อย่าง คือ วิบาก, กิริยา, รูป, และอสังขตธาตุ ( นิพพาน ).

( หมายเหตุ : คำว่า วิบาก, กิริยา โดยตรง ได้แก่จิตหรือวิญญาณขันธ์ที่เป็นผล และเป็นกิริยาโดย อ้อมย่อมหมายคลุมถึงเจตสิกหรือเวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์ และสังขารขัน์ ซึ่งเกิดขึ้นผสมกับจิตที่เป็นวิบากหรือกิริยานั้นด้วย ).

   ครั้นแล้วได้ตั้งปัญหาเฉพาะคำว่า รูป ว่าได้แก่อะไร แล้วแก้ว่า ได้แก่มหาภูตรูป ( รูปใหญ่ คือธาตุทั้งสี่ ) และอุปาทายรูป ( รูปอาศัย คือจะปรากฏได้ก็ต้องอาศัยธาตุทั้งสี่ )

   ครั้นแล้วได้แสดงบทตั้ง ( มาติกา ) เกี่ยวกับรูป ตั้งแต่หมวดที่ ๑ ถึงหมวดที่ ๑๑ ต่อจากนั้น จึงอธิบายบท ตั้งนั้นทุกหมวด. ต่อไปนี้จะแสดงตัวอย่างรูปในหมวดที่ ๑ ถึงหมวดที่ ๑๑.

หมวดที่ ๑ ( เอกกะ )

รูปทุกชนิด มิใช่เหตุ ( มิใช่เหตุฝ่ายดี เพราะมิใช่อโลภะ อโทสะ อโมหะ มิใช่เหตุฝ่ายชั่ว เพราะมิใช่ โลภะ โทสะ โมหะ ) ไม่มีเหตุ ( ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นมูล เหมือนอกุศล หรือ กุศล เพราะเป็นกลางๆ ) นอกจากนี้ยังแสดงคำอธิบายรูป ๔๒ บท รวมเป็น ๔๔ บท.

หมวดที่ ๒ ( ทุกะ )

รูป ที่อาศัย มีอยู่ รูป ที่มิได้อาศัย มีอยู่ ( รูปที่อาศัย คืออุปาทารูป รูปที่มิได้อาศัย คือมหา ภูตรูป ) นอกจากนั้นอธิบายถึงรูปที่แบ่งออกเป็น ๒ อย่างต่าง ๆ กันอีก ๑๐๓ คู่ รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๑๐๔ คู่.

หมวดที่ ๓ ( ติกะ )

   รูปใดเป็นไปในภายใน รูปนั้นเป็นอุปาทารูป, รูปใดเป็นไปในภายนอก รูปนั้นเป็นอุปาทารูป ( รูปอาศัย ) ก็มีเป็นโนอุปาทารูป ( มิใช่รูปอาศัย ) ก็มี. นอกจากนั้นอธิบายถึงรูปที่แบ่งออกเป็น ๓ อย่างต่าง ๆกันอีก ๓๐๒ หมวด ๒ รวมทั้ง สิ้นจึงเป็น ๓๐๓ หมวด ๓ ( คำว่า อุปาทารูป และอุปาทายรูป ใช้ได้ทั้งสองอย่าง ความหมายอย่างเดียวกัน ).

หมวดที่ ๔ ( จตุกกะ )

   รูปใดเป็นรูปอาศัย รูปนั้นถูกยึดถือก็มี ไม่ถูกยึดถือก็มี, รูปใดไม่เป็นรูปอาศัย รูปนั้นถูกยึดถือก็มี ไม่ถูกยึดถือ ก็มี. นอกจากนั้นอธิบายถึงรูปที่แบ่งออกเป็น ๔ อย่างต่าง ๆ กันอีก ๒๒ หมวด ๔ รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๒๒ หมวด ๔.

หมวดที่ ๕ ( ปัญจกะ )

ธาตุดิน, ธาตุน้ำ, ธาตุไฟ, ธาตุลม, และรูปอาศัย ( รวมเป็น ๕ ).

หมวดที่ ๖ ( ฉักกะ )

   รูปที่พึงรู้ด้วยตา, ด้วยหู, ด้วยจมูก, ด้วยลิ้น, ด้วยกาย, และด้วยใจ ( รวมเป็น ๖ ).

หมวดที่ ๗ ( สัตตกะ )

   รูปที่พึงรู้ด้วยตา, ด้วยหู, ด้วยจมูก, ด้วยลิ้น, ด้วยกาย, ด้วยมโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) และด้วยมโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ( รวมเป็น ๗ ).

หมวดที่ ๘ (อัฏฐกะ )

   รูปที่พึงรู้ด้วยตา, ด้วยหู, ด้วยจมูก, ด้วยลิ้น, ด้วยกาย มีสัมผัสเป็นสุขก็มี มีสัมผัสเป็นทุกข์ก็มี, ด้วยมโนธาตุ, และด้วยมโนวิญญาณธาตุ ( รวมเป็น ๘ โดยแยกรูปที่พึงรู้ด้วยกายออกเป็น ๒ ).

หมวดที่ ๙ ( นวกะ )

อินทรีย์ ( ธรรมชาติอันเป็นใหญ่ ) คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, หญิง ( อิตถินทรีย์ ), ชาย ( บุริสินทรีย์ ), ชีวิต ( ชีวิตินทรีย์ ), และธรรมชาติ ซึ่งมิใช่อินทรีย์. ( รวมเป็น ๙ เฉพาะข้อหลังที่ปฏิเสธว่าธรรมชาติซึ่งมิใช่อินทรีย์นั้น หมายถึงรูป อื่น ๆ ที่นอกจากอินทรีย์ ).

หมวดที่ ๑๐ ( ทสกะ )

อินทรีย์ คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, หญิง, ชาย, ชีวิต, และธรรมชาติ ซึ่งมิใช่อินทรีย์ อันถูกต้องได้ ( สัปปฏิฆะ ) ก็มี, อันถูกต้องไม่ได้ ( อัปปฏิฆะ) ก็มี ( รวมเป็น ๑๐ โดยแยกข้อสุดท้ายออกเป็น ๒ ).

หมวดที่ ๑๑ ( เอกาทสกะ )

อายตนะ ( ที่ต่อหรือบ่อเกิด ) คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูก ต้องได้ด้วยกาย ) และรูปที่เห็นไม่ได้ ( อนิทัสสนะ ) และถูกต้องไม่ได้ ( อัปปฏิฆะ) เป็นของเนื่องด้วย ธัมมายตนะ (รู้ได้ด้วยใจ ) ( รวมเป็น ๑๑ ).

๔. นิกเขปกัณฑ์ ( คำอธิบายบทตั้งทุกข้อ )

๕. อัตถุทธารกัณฑ์

<< ย้อนกลับ  ||  หน้าถัดไป  >>

- อภิธรรม ๗ คัมภีร์
- ธัมมสังคณี
- แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายอภิธรรม
- แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายพระสูตร
- คำอธิบายเรื่องจิตเกิด
- การนับจำนวนจิต
- ธรรมะประกอบกับจิต
- อกุศลจิต ๑๒
- อัพยากตจิต ๕๖
- วิบากจิตฝ่ายอกุศล
- กิริยาจิต ๒๐
- คำอธิบายเรื่องรูป
- คำอธิบายบทตั้งอย่างย่อ


» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๔

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๕

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๖

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๘

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๙

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๐

» พระะอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๒

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย