ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
พระราชพงศาวดารเหนือ
พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ
ศิลาจารึก
พงศาวดารเขมร
พงศาวดารมอญพม่า
พงศาวดารล้านช้าง
พงศาวดารมอญพม่า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21
หน้า 14 >>>
จ.ศ.1109 พระเจ้าหงษาวดีมีรับสั่งให้สมิงศิริคุณ สมิงตะละปั่น
และสมิงท้าวธออินทร์ เกณฑ์คนหมื่นหนึ่งขึ้นไปรับชาวเมืองมาตะตาลงมา
ได้ทำบาญชีคนในเมืองได้หกหมื่นเศษ แล้วยกล่วงลงมาถึงทางใกล้เมืองอังวะ
พวกพม่าเกรงฝีมือไม่อาจขัดขวาง เดินทางมาสามเดือนถึงเมืองหงษาวดี
พระเจ้าหงษาวดีให้พวกรามัญเมืองมาตะราถือน้ำพระพิพัฒแล้ว ตั้งลมาตอินท์ สมิงโดด
สมิงแปะกะยอ ให้เป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่ ครั้งนั้นสมิงท้าวทองสุก สมิงท้าวธุก
ทำอุบายจะไปนมัสการพระเจดีย์ร่างกุ้ง แล้วคิดปรึกษากันว่า
พระเจ้าหงษาวดีองค์นี้มิใช่เจ้าของเรา จึงพากันไปพบพระเจ้าหงษาวดีองค์ก่อน
ในปีนั้นสมิงธอกวยผู้เป็นพระเจ้าหงษาวดีองค์ก่อนเกลี้ยกล่อมพวกละว้าได้สองพันเศษ
ยกมาตีเมืองขึ้นแก่เมืองหงษาวดีได้หลายเมือง
ครั้งนั้นสมิงท้าวธอติกเป็นเจ้าเมืองเมาะตมะ
เกณฑ์ไพร่พลสองพันให้เจียระกีปลัดเมืองคุมออกไปรบทัพสมิงธอกวย
แล้วมีหนังสือแจ้งข้อราชการศึกไปถวายพระเจ้าหงษาวดี ๆ
จึงมีรับสั่งให้เกณฑ์คนห้าร้อยไปช่วยรบ
ครั้งนั้นเจียระกียกกำลังไปรบกับฝ่ายสมิงธอกวย ตั้งค่ายประชิดอยู่ที่เมืองเกริน
ฝ่ายสมิงธอกวยแตกพ่าย จึงจำใจเข้าไปกรุงศรีอยุทธยาโดยทางพระเจดีย์สามองค์
แล้วตั้งอยู่ปลายด่าน
จึงมีหนังสือไปถึงพระยากาญจนบุรีว่าจะเข้าไปพึ่งพระบารมีพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ๆ
จึงตรัสสั่งให้เจ้าเมืองกาญจนบุรี ส่งตัวสมิงธอกวยไปกรุงศรีอยุทธยาในเดือนเจ็ด
ฝ่ายนายกำสะที่พระเจ้าหงษาวดี รับสั่งให้เกณฑ์คนห้าร้อยไปช่วยรบศึกคิดขบถ
สมิงท้าวธอติกเจ้าเมืองเมาะตมะยกกองทัพออกไปรบจับได้แล้วฆ่าเสีย
แล้วทำหนังสือแจ้งข้อราชการที่ได้รบกับสมิงธอกวย
และมกำสะพระเจ้าหงษาวดีทรงทราบแล้วก็ยินดี จึงพระราชทานเครื่องยศต่าง ๆ เป็นอันมาก
จ.ศ.1109 พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาต่อมาไม่ไว้พระทัยสมิงธอกวย
ให้เอาตัวไปขังคุก
จ.ศ.1109 พระยารามัญสามคนคือพระยาราม พระยากลางเมือง และพระยาน้อยวันดี
ที่สมิงธอกวยตั้งไว้ให้ขัดตาทัพอยู่ที่เมืองเจกอง ใต้เมืองปรอนลงมาประมาณสองวัน
ให้คอยป้องกันกองทัพพม่าที่จะยกมาตีรามัญประเทศ
พระยารามัญทั้งสามทราบเรื่องราวของสมิงธอกวย
จึงปรึกษากันชวนกันอพยพครอบครัวหนีไปกรุงไทย
เดินตัดมาทางตะวันออกทางปลายแดนเมืองตองอู มีครัวรามัญประมาณ สี่ร้อยเศษ
พระยารามัญทั้งสามเข้าไปในเมืองเชียงใหม่
เจ้าเมืองเชียงใหม่ส่งครัวมอญทั้งปวงลงไปเมืองตาก
เจ้าเมืองตากจึงบอกหนังสือไปให้กราบทูลพระกรุณา
จึงมีรับสั่งให้ส่งครัวมอญทั้งนั้นลงไปกรุงศรีอยุทธยา
ตรัสสั่งให้ไปอยู่ตำบลโพธิสามต้น
จ.ศ.1110
พระเจ้าหงษาวดีแต่งราชสาส์นขออย่าให้พระเจ้ากรุงไทยเลี้ยงสมิงธอกวยไว้
ขอให้ส่งตัวพร้อมพระยารามัญทั้งสามให้แก่เมืองหงษาวดี
พระเจ้ากรุงไทยทรงพระนามพระเจ้าทรงธรรม ตรัสสั่งให้มีหนังสือตอบว่า
การส่งตัวสมิงธอกวยออกไปนั้น
ไม่ต้องด้วยเยี่ยงอย่างธรรมเนียมกษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรม
แต่จะให้เนรเทศเสียจากกรุงศรีอยุทธยา
จะให้โดยสารสำเภาจีนออกไปแล้วให้ไปปล่อยเสียในเกาะแดนเมืองจีนโน้น
ส่วนพระยารามัญทั้งสาม
เห็นว่าไม่มีโทษผิดเข้ามาพึ่งบารมีก็เป็นธรรมเนียมที่จะสงเคราะห์ไว้
พระเจ้าหงษาวดีทราบพระราชสาส์นแล้วไม่ชอบพระทัย แต่ไม่รู้จะทำประการใด
ด้วยเกรงเมืองไทยกับเมืองมอญจะขาดทางพระราชไมตรี จะเสียทีแก่พม่า
จ.ศ.1111 สมิงธอกวยขึ้นไปถึงเมืองเชียงใหม่อีก
จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าเชียงใหม่ ๆ จึงให้ไปอยู่กับราชธิดาเหมือนแต่ก่อน
จ.ศ.1112 สมิงธอกวย จะขอกองทัพเชียงใหม่ไปตีเมืองมอญ
แต่พระเจ้าเชียงใหม่ไม่ให้
จ.ศ.1112 พระเจ้าหงษาวดี เกณฑ์กองทัพให้พระมหาอุปราช
คุมไพร่พลสองหมื่นเป็นทัพเรือ
ให้พระยาทะละคุมไพร่พลสองหมื่นกับสมิงตะละปันคุมไพร่พลเจ็ดพันคน
เป็นทัพหน้ายกไปทางบก ยกไปตีมังมหาราชา ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองปรอน
มังมหาราชาถอยไปตั้งรับอยู่ ณ เมืองปะกัน แล้วมีหนังสือบอกไปยังเมืองอังวะ