ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
พระราชพงศาวดารเหนือ
พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ
ศิลาจารึก
พงศาวดารเขมร
พงศาวดารมอญพม่า
พงศาวดารล้านช้าง
พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ
พระราชพงศาวดารฉบับนี้
เดิมพระปริยัติธรรมธาดา (แพ เปรียญ) แต่ยังเป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติ
ไปพบต้นฉบับที่บ้านราษฎรแห่งหนึ่ง จึงขอมาให้แก่หอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อปี พ.ศ.2450
กรรมการหอพระสมุดเห็นเป็นหนังสือพระราชพงศาวดารแปลกจากฉบับอื่น ๆ
จึงให้เรียกชื่อว่า พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐให้เป็นเกียรติยศแก่ผู้พบ
หนังสือฉบับนี้ มีแบบแผนกว่าเป็นหนังสือฉบับหลวง
สมเด็จพระนารายณ์ ฯ มีรับสั่งให้แต่งขึ้นเมื่อปี จ.ศ.1042
กล่าวเนื้อความตั้งต้นแต่สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าพนัญเชิง เมื่อปี จ.ศ.686
ความค้างอยู่เพียง ปี จ.ศ.966 ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวร ฯ
เมื่อเตรียมทัพจะเสด็จไปตีเมืองอังวะ
สมุดต้นฉบับที่ได้มาเป็นสมุดคำเขียนด้วยตังรง
ฝีมือเขียนครั้งกรุงเก่า ตัวหนังสือลบเลือนหลายแห่ง
กรรมการหอสมุดให้พิมพ์พระราชพงศาวดารฉบับนี้ เมื่อปี พ.ศ.2450 เป็นครั้งแรก
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2456 หอสมุดได้หนังสือพระราชพงศาวดาร
ความเดียวกับฉบับหลวงประเสริฐ ฯ มาอีกสองเล่มสมุดไทย
เป็นฉบับหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นฉบับลอกจากเล่มของหลวงประเสริฐ ฯ
เพราะที่สุดไปค้างอยู่คำต่อคำเหมือนฉบับหลวงประเสริฐ ฯ
พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ฯ ความที่กล่าวเป็นอย่างย่อ ๆ
แต่มีเนื้อเรื่องที่ไม่ปรากฎในพระราชพงศาวดารฉบับอื่นออกไปอีกมาก
ศักราชในฉบับนี้แม่นยำ และเชื่อได้แน่กว่าฉบับอื่น ๆ
จึงเป็นหลักในการสอบหนังสือพงศาวดารได้เรื่องหนึ่ง