ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
พระราชพงศาวดารเหนือ
พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ
ศิลาจารึก
พงศาวดารเขมร
พงศาวดารมอญพม่า
พงศาวดารล้านช้าง
พงศาวดารเขมร
หน้า >> 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18
หน้า 12 >>>
พระยายมราชแบน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เป็น เจ้าพระยาอภัยธิเบศร์
ฯ จ.ศ.1145 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ตรัสใช้เจ้าพระยาอภัยธิเบศร์
ออกมาคิดราชการเมืองเขมร เมื่อเดินทางมาถึงเมืองปัตบอง
คิดใช้พระจักรีแกมมาอยู่รักษาเมืองโพธิสัตว์ ใช้พระยายมราชกันไปรักษาเมืองนครวัด
คอยระวังกองทัพจามจะยกไป
จ.ศ.1146 พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์
ตรัสให้พระเจ้าหลานเธอนำเจ้าเวียดนามยกกองทัพมาตามเรือถึงเมืองป่าสัก
แล้วตรัสใช้เจ้าพระยานครสวรรค์ เจ้าพระยาอภัยรณฤทธิ์ เจ้าพระยาฤทธิอัคเน
ข้างฝ่ายบกยกไปเมืองปัตบอง เป็นแม่กองตักเตือน เจ้าพระยาอภัยธิเบศร์
กับบรรดามุขมนตรี
นายทัพนายกองให้เร่งรีบยกไพร่พลออกมาถึงค่ายรายทัพยกไปเก็บเอาบรรดาทรัพย์สิ่งของแขกจามอยู่
ณ เมืองโรดำรี อนึ่งให้ไปช่วยทัพพระเจ้าหลานเธอกับเจ้าเวียดนาม ณ เมืองปาสัก
เจ้าพระยานครสวรรค์ นำทัพไทยเขมรยกไปเมืองเปียมจอซาแดก ถึงแพรกพระยามัน
สู้รบกับญวนไกเซินหลายครั้ง ยกเลยเข้าไปเปียมบาราย ยกไปตีค่ายบ้านป่ายุง
ไล่ฆ่าฟันแม่ทัพแม่กองไพร่พลเขมรแตกหนี
ทิ้งเรือขึ้นบกลัดป่ายี่สิบวันถึงเมืองพนมเพ็ญ ญวนไล่เจ้าพระยาอภัยธิเบศร์
ถอยจากค่ายลงแวกเข้าไปเมืองปัตบอง บรรดาทัพไทยกลับไปกรุงศรีอยุธยา
จ.ศ.1147 ญวนไกเซินชื่อองโกอุยกระวินกงเป็นใหญ่ขึ้นมาอยู่รักษาราษฎรเมืองเขมร เว้นแต่เมืองบาราย เมืองนครวัด เมืองโพธิสัตว์ เมืองปัตบอง นอกจากนั้น ที่เข้าอยู่เป็นเมืองขึ้นกับญวน ก็รักษาตัวคอยท่าพระบาทบรมบพิตร จ.ศ.1148 องโกอย ฯ กลับไปรักษาเมืองไซ่ง่อน แต่องผอมากับองทุงเบนกับเจ้าฟ้าทะละหะ แทน และพระยายมราชกุย พระยากระลาโหมอก ให้อยู่รักษาเมืองละว้าเอมโพธิ์พระบาท พนมเพ็ญ
เจ้าเวียดนามซึ่งนำทหารญวนหนีออกจากกรุงไทยนั้นมาถึงเกาะตรน เกลี้ยกล่อมบรรดาไพร่พลญวนยกทัพมาตีเมืองตักเขมา ประมวนสอ เจ้าพระยาอภัยธิเบศร์ อยู่เมืองปัตบองรู้ข่าวจัดแจงยกกองทัพออกไปให้กวาดบรรดาครัวราษฎรจีนเขมร จะเข้าไปไว้ในเมืองปัตบอง แล้วใช้พระยาจักรีแกบเป็นแม่กองใหญ่ ยกไพร่พลไปถึงตักวินอันลงสาร แล้วยกไปถึงแพรกโกรดเกาะโตก ฯ เลยไปถึงแพรกทะเลิงรบกับญวนไกเซิน ตั้งแต่ จ.ศ.1149 ถึง จ.ศ.1150 มาพบกับทัพเวียดนาม ก็ชวนกันระดมช่วยรบชนะไกเซิน จ.ศ.1151 พระยาจักรีแกบเป็นแม่กองใหญ่จับได้เจ้าฟ้าทะละหะ แทนกับบรรดาขุนนางข้างทัพล่างทำโทษ เจ้าพระยาอภัยธิเบศร์ให้นำเจ้าฟ้าทะละหะแบนไปกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทรงพระกรุณาพระราชทานให้เจ้าฟ้าทะละหะแบนคืนคงดังเก่า
เจ้าเวียดนามรบได้เมืองนครปันแง จับได้ไกเซินชื่อดกแซมแล้วให้ฆ่าเสีย จ.ศ.1152 เจ้าพระยาอภัยธิเบศร์ไปอยู่บ้านอุดงฦาไชย ให้ทำค่ายปีกกาหอรบข้างตะวันออก ณ วัดศาลาให้ขุดตลอดไป ข้างเหนือถึงโพโคลง ข้างใต้ถึงวัดสมโพธิ คอยระวังรักษาเมือง
จ.ศ.1153 พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ให้เจ้าพระยาอภัยธิเบศร์เกณฑ์ไพร่พลเขมร หนึ่งหมื่นนำเข้าไปทำราชการขุดคลองวัดสระเกษ ครั้งนั้น พระบาทบรมบพิตรมีพระแม่นางชื่อนักนางโอด สมภพราชบุตรพระนามนักองค์จันท์ จ.ศ.1155 นักนางแก สมภพราชบุตรพระนามนักองค์พิมพ์ จ.ศ.1156 นักนางโอด สมภพราชบุตรพระนามนักองสงวน นักนางรด สมภพราชบุตรพระนามนักองค์อิ่ม พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ อภิเษกพระบาทบรมบพิตรพระราชทานนามว่า สมเด็จพระนารายณ์ราชาธิราชรามาธิบดี ฯ แล้วพระราชทานให้พระยากระลาโหมปก เป็นเจ้าฟ้าทะละหะ ฯ เป็นพระบิดาเลี้ยงโปรดให้ออกมาครอบครองรักษากรุงกำพูชาธิบดี เมื่อปี จ.ศ.1156
เจ้าพระยาอภัยธิเบศร์นั้น ทรงพระกรุณาโปรดให้รักษาเมืองปัตบอง และเมืองนครวัด ทรงตั้งขึ้นเป็นหัวเมืองใหญ่ พระบาทบรมบพิตรสถิตย์อยู่ตำหนักกระสือข้างใต้วัด พระวิหารสำนอ (ว่าตะกั่ว) แล้วให้ทำพระราชวังด้วยกระดาน ปลูกพระราชมณเฑียร จ.ศ.1157 ตรัสใช้พระยาวังสอด พระยาวิบูลเอกไปกราบถวายบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ ขอบรรดาครอบครัวของพระองค์กับของมุขมนตรี ออกมาจากกรุงศรีอยุธยา พระองค์บัญญัติจัดการบ้านเมือง ตั้งจตุสดมภ์เอกสี่นายถือศักดินาหนึ่งหมื่น