สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กฎหมายมหาชน

การเลือกตั้ง

แนวความคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

1. การเลือกตั้ง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะ

  1. เป็นการตัดสินใจของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
  2. เป็นการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ทั่วไปของประชาชนส่วนใหญ่ต้องการอะไร

2. ทฤษฎีเกี่ยวกับแนวความคิดในการเลือกตั้ง แบ่งออกเป็น 2 แนวความคิด คือ

  1. การเลือกตั้งเป็นเรื่องของสิทธิ กล่าวคือ ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยมีสิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่มีผู้ใดเพิกถอนสิทธินี้ได้ ดังนั้น การไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือไม่ จึงเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
  2. การเลือกตั้งตั้งเป็นเรื่องของหน้าที่ กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนโดยส่วนรวม ซึ่งหมายถึงชาติ ฉะนั้น ผู้ที่มีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอธิปไตยจึงต้องมีหน้าที่

3. ประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่กำหนดเกณฑ์อายุผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 18 ปีบริบูรณ์แล้ว ประเทศไทยเคยกำหนดไว้ที่ 20 ปีบริบูรณ์ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 18 ปีบริบูรณ์

4. ประเทศทั่วๆ ไปนิยมกำหนดเขตเลือกตั้งเป็นเขตพื้นที่ย่อยๆ เพื่อความสะดวกในการเลือกตั้ง สำหรับข้อควรคำนึงถึงในการกำหนดเขตเลือกตั้งนั้นมี 3 ประการ ดังนี้

  1. คำนึงถึงผู้มีสิทธิออกเสียง โดยแบ่งให้เท่าๆ กัน หรือใกล้เคียงกัน
  2. คำนึงถึงเขตพื้นที่ที่กำหนดโดยธรรมชาติ หรือโดยทางภูมิศาสตร์
  3. ควรมีการทบทวนการแบ่งเขตเลือกตั้งอยู่เสมอ

5. การกำหนดเขตเลือกตั้ง อาจทำได้ 2 วิธี คือ

  1. แบบแบ่งเขต หมายถึง การแบ่งเขตพื้นที่ทางการปกครองออกเป็นเขตๆ แต่ละเขตจะมีผู้แทนได้ 1 คน โดยถือเกณฑ์ประชาชน 150,000 – 200,000 คน ต่อผู้แทนราษฎร 1 คน ประชาชนในแต่ละเขตมีสิทธิเลือกผู้แทนได้เพียงคนเดียว (One Man One Vote)
  2. แบบรวมเขต หมายถึง การถือเอาเขตพื้นที่ทางการปกครองเป็นเขตเลือกตั้งเขตหนึ่ง ประชาชนในเขตเลือกตั้งนั้นมีสิทธิเลือกผู้แทนของตนตามจำนวนผู้แทนที่จะมีได้ในเขตนั้น (One Man Several Vote)

6. สถานภาพของผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรนั้น ในปัจจุบันทุกประเทศถือว่า ผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนของปวงชนทั้งประเทศ

วิธีและระบบการเลือกตั้ง

1. วิธีการเลือกตั้ง แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

  1. การเลือกตั้งโดยตรง (Direct Election) เป็นวิธีการเลือกตั้งที่ให้ประชาชนได้ออกเสียงลงคะแนนผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยตรง
  2. การเลือกตั้งโดยอ้อม (Indirect Election) เป็นการเลือกตั้งโดยประชาชนผู้ออกเสียงลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกคณะบุคคลขึ้นคณะหนึ่ง แล้วบุคคลคณะนี้จะไปเลือกตั้งผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง

2. ระบบการเลือกตั้ง แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ

  1. การเลือกตั้งแบบคะแนนเสียงข้างมาก (Majority Electoral System) โดยถือว่าผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งระบบนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

    - ระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนเสียงข้างมากรอบเดียว โดยถือว่าผู้ได้คะแนนเสียงสูงสุดเป็น ผู้ชนะการเลือกตั้ง ระบบนี้ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษ และประเทศในเครือจักรภพ
    - การเลือกตั้งแบบคะแนนเสียงข้างมากสองรอบ โดยถือว่าผลการเลือกตั้งรอบแรก ถ้าผู้ใดได้ คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงทั้งหมด ผู้นั้นจะได้รับเลือกตั้งเลย แต่หากคะแนน เสียงรอบแรกไม่มีผู้ได้เกินกึ่งหนึ่ง ก็ต้องมีการลงคะแนนเสียงรอบที่สอง ผู้ใดได้คะแนนเสียง สูงสุด ผู้นั้นชนะการเลือกตั้ง ระบบนี้ใช้อยู่ในฝรั่งเศส
  2. ระบบการเลือกตั้งแบบมีตัวแทนตามสัดส่วนของคะแนนเสียง ปัจจุบันประเทศต่างๆ ในแถบยุโรปตะวันตกใช้ระบบการเลือกตั้งนี้ ซึ่งการคิดสัดส่วนของคะแนนเสียงระบบนี้มีสูตรและวิธีคิดที่แตกต่างกัน จึงยากที่จะรวบรวมมาเป็นหลักเกณฑ์ได้

3. ระบบการเลือกตั้งในประเทศญี่ปุ่นนั้น แตกต่างไปจากระบบการเลือกตั้งทั้งสองระบบ กล่าวคือ

  • ญี่ปุ่นกำหนดเขตเลือกตั้งให้ผู้แทนราษฎรได้หลายคนในแต่ละเขตเลือกตั้ง
  • การออกเสียงเลือกตั้งนั้นผู้ออกเสียงเลือกตั้งจะเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เพียงคนเดียว
  • ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง

4. มีข้อสังเกตเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง คือ

  • ระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนเสียงข้างมาก เอื้ออำนวยให้เกิดระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค
  • ระบบการเลือกตั้งแบบมีตัวแทนตามสัดส่วนของคะแนนเสียง เอื้ออำนวยให้เกิดระบบพรรคการเมือง แบบหลายพรรค

การเลือกตั้งในประเทศไทย

1. การเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมาของประเทศไทย

  1. มีทั้งการเลือกตั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม
  2. การกำหนดเขตเลือกตั้งก็เคยใช้ทั้งวิธีแบบแบ่งเขต แบบรวมเขต และแบบผสม
  3. ระบบการเลือกตั้งเป็นแบบเสียงข้างมากรอบเดียว

2. ประเทศไทยมีการเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 13 ครั้ง (นับถึงเดือนเมษายน 2522) ดังนี้

  • การเลือกตั้งครั้งแรก (ทั่วไป) 15 พฤศจิกายน 2476 ทางอ้อม / ถือเขตจังหวัด
  • การเลือกตั้งครั้งที่ 2 (ทั่วไป) 7 พฤศจิกายน 2480 ทางตรง / แบ่งเขต
  • การเลือกตั้งครั้งที่ 3 (ทั่วไป) 12 พฤศจิกายน 2481 ทางตรง / แบ่งเขต
  • การเลือกตั้งครั้งที่ 4 (ทั่วไป) 6 มกราคม 2489 ทางตรง / แบ่งเขต
  • การเลือกตั้งครั้งที่ 5 (การเลือกตั้งเพิ่ม) 5 สิงหาคม 2489 ทางตรง / แบ่งเขต
  • การเลือกตั้งครั้งที่ 6 (ทั่วไป) 29 มกราคม 2491 ทางตรง / รวมเขต
  • การเลือกตั้งครั้งที่ 7 (การเลือกตั้งเพิ่ม) 5 มิถุนายน 2492 ทางตรง / รวมเขต
  • การเลือกตั้งครั้งที่ 8 (ทั่วไป) 26 กุมภาพันธ์ 2495 ทางตรง / รวมเขต
  • การเลือกตั้งครั้งที่ 9 (ทั่วไป) 26 กุมภาพันธ์ 2500 ทางตรง / รวมเขต
  • การเลือกตั้งครั้งที่ 10 (ทั่วไป) 15 ธันวาคม 2500 ทางตรง / รวมเขต
  • การเลือกตั้งครั้งที่ 11 (ทั่วไป) 10 กุมภาพันธ์ 2512 ทางตรง / รวมเขต
  • การเลือกตั้งครั้งที่ 12 (ทั่วไป) 26 มกราคม 2418 ทางตรง / แบบผสม
  • การเลือกตั้งครั้งที่ 13 (ทั่วไป) 22 เมษายน 2522 ทางตรง / แบบผสม

3. ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งในประเทศไทยทั้ง 13 ครั้ง ดังนี้

  1. วิธีการเลือกตั้งเกือบทั้งหมดเป็นวิธีการเลือกตั้งโดยทางตรง ยกเว้นครั้งแรกโดยทางอ้อม
  2. เป็นการเลือกตั้งทั่วไป 11 ครั้ง และการเลือกตั้งเพิ่ม 2 ครั้ง
  3. การกำหนดเขตเลือกตั้ง
    - แบบแบ่งเขต ได้แก่ ครั้งที่ 2, 3, 4, 5
    - แบบรวมเขต ได้แก่ ครั้งที่ 1, 6, 7, 8, 9, 10, 11
    - แบบผสม ได้แก่ ครั้งที่ 12, 13

4. ปัญหาและอุปสรรคในการเลือกตั้งในประเทศไทย สรุปได้ 3 ประการ คือ

  1. ความเข้าใจของประชาชนในสิทธิและหน้าที่ทางการเมือง
  2. ความเข้าใจของประชาชนที่มีอยู่ต่อความสำคัญขององค์กรนิติบัญญัติไม่เพียงพอ
  3. บทบาทและภาพพจน์ขององค์กรนิติบัญญัติต่อศรัทธาของประชาชน

» กำเนิดแนวความคิดกฎหมายมหาชน

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย

» ความหมายของกฎหมายมหาชน

» ประเภทของกฎหมายมหาชน

» บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน

» บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน

» นักปรัชญาสมัยกรีก

» นักปรัชญาสมัยโรมัน

» นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ

» องค์ประกอบของรัฐ

» ปรัชญาว่าด้วยอำนาจอธิปไตย

» ประวัติของรัฐธรรมนูญ

» อำนาจการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ

» รัฐธรรมนูญไทย

» การแก้ไขและยกเลิกรัฐธรรมนูญ

» โครงร่างของรัฐธรรมนูญ

» รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ

» วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

» ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ

» แนวความคิดเกี่ยวกับองค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย

» ลักษณะของรัฐสภา

» การเลือกตั้ง

» พรรคการเมือง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย