สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กฎหมายมหาชน

การแก้ไขและยกเลิกรัฐธรรมนูญ

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญไม่ว่าโดยการแก้ไขถ้อยคำหรือข้อความเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือโดยการเพิ่มเติมข้อความใหม่เข้าไป

2. บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ห้ามการแก้ไขเปลี่ยนแปลง มักเป็นเรื่องต่อไปนี้

  • ลักษณะรัฐบาลแบบสาธารณรัฐ - บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของราษฎรบางเรื่อง
  • อาณาเขตประเทศ - ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลของมลรัฐกับรัฐบาลกลาง
  • ศาสนาประจำชาติ - ลักษณะเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองแบบสังคมนิยม
  • ความเป็นเอกภาพ

3. รัฐธรรมนูญ อาจแก้ไขได้ใน 2 วิธี คือ

  1. แบบแก้ไขได้ง่าย หมายถึง รัฐธรรมนูญอาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยเงื่อนไขเช่นเดียวกับกฎหมายธรรมดา เช่น รัฐธรรมชาติของอังกฤษ อิสราเอล นิวซีแลนด์
  2. แบบแก้ไขได้ยาก หมายถึง รัฐธรรมนูญที่มีกระบวนการแก้ไขสลับซับซ้อนแยะยุ่งยากกว่ากฎหมายธรรมดา เช่นรัฐธรรมนูญของสวิตเซอร์แลนด์ นอรเวย์ เดนมาร์ก

4. กระบวนการควบคุมการแก้ไขรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรให้มีลักษณะเป็นการแก้ไขยาก กระทำได้ดังนี้

  1. การควบคุมผู้เสนอแก้ไข
  2. การควบคุมผู้ดำเนินการพิจารณาแก้ไข
  3. การควบคุมวิธีการแก้ไข
  4. การควบคุมระยะเวลาการแก้ไข
  5. การให้ประมุขของรัฐบาลหรือประชาชนเข้ามามีส่วนในการแก้ไข

5. การแก้ไขรัฐธรรมนูญไทย ถือว่ามีวิธีการแก้ไขที่ยากกว่าการแกไขกฎหมายอื่น มีขั้นตอนดังนี้

  1. ผู้ริเริ่มเสนอของแก้ไข ต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
  2. รูปแบบที่เสนอขอแก้ไข ต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
  3. การพิจารณาแก้ไข ให้ทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ วาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ วาระที่สองขั้นพิจารณารียงลำดับมาตรา และวาระที่สามขั้นสุดท้ายเป็นการลงคะแนนเสียงเห็นชอบ
  4. การประกาศใช้ โดยนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย

6. การห้ามแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาดคงทำไม่ได้ เพราะจะเป็นการยั่วยุให้ผู้ประสงค์จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเปลี่ยนเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญได้ แต่ควรกำหนดเป็นข้อห้ามการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตราไว้

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

1. การยกเลิกรัฐธรรมนูญ หมายถึง กระบวนการเลิกใช้รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรทั้งฉบับ ซึ่งกระทำได้ 2 วิธี

  1. การยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ เกิดขึ้นในกรณีที่มีข้อความอันเป็นหลักสำคัญของรัฐธรรมนูญไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศ หรือไม่สอดคล้องกับจิตใจของประชาชนในขณะนั้น
  2. การยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ เกิดขึ้นโดยการปฏิวัติหรือรัฐประหาร

2. โดยหลักการ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น จะบัญญัติข้อความให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่กำลังใช้อยู่หรือไม่ก็ได้

3. หลัก Lex Posterior Derogat Legi Priori หมายถึง หลักการที่ว่าในบรรดากฎหมายที่มีฐานะเท่ากัน กฎหมายที่มาทีหลังย่อมยกเลิกกฎหมายที่มีมาก่อนได้

4. การปฏิวัติ (Revolution) คือ พฤติการณ์ในการเลิกล้มหรือล้มล้างระบอบการปกครองหรือรัฐบาลซึ่งครองอำนาจอยู่แล้วนั้น โดยใช้กำลังบังคับ แล้วสถาปนาระบอบการปกครองหรือจัดตั้งรัฐบาลใหม่

5. การรัฐประหาร (Coup d’ Etat) หมายถึง การใช้กำลังหรือการกระทำอันมิชอบเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาล

6. ในทางทฤษฎีนั้น การปฏิวัติมีความหมายแตกต่างจากรัฐประหาร 2 ประการ คือ

  1. การปฏิวัติเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบหนึ่ง ไปสู่ระบอบหนึ่ง หรือมีการล้มล้างสถาบันประมุขเพื่อเปลี่ยนรูปแบบประมุขแห่งรัฐ ในขณะที่รัฐประหาร หมายความแต่เพียงการเปลี่ยนแปลงอำนาจการบริหารประเทศโดยฉับพลัน
  2. การปฏิวัตินั้น ผู้กระทำการมักได้แก่ประชาชนที่รวมตัวกันขึ้น หรือคณะบุคคลดำเนินการ ส่วนการรัฐประหารนั้น ผู้กระทำการมักได้แก่บุคคลสำคัญในคณะรัฐบาลหรือมีส่วนอยู่ในรัฐบาล หรือคณะทหาร

7. ในทางปฏิบัตินั้น คณะผู้ก่อการรัฐประหารในประเทศไทยไม่ว่าจะเรียกตนเองว่า คณะราษฎร์ คณะรัฐประหาร คณะปฏิวัติ หรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน อย่างไรก็ได้ เพราะผลในทางกฎหมายย่อมเหมือนกันคือ ผู้กระทำการสำเร็จย่อมเป็น รัฏฐาธิปัตย์

8. ผลทางกฎหมายที่สำคัญที่สุดอันเกิดจากการปฏิวัติรัฐประหารที่กระทำสำเร็จคือ คณะปฏิวัติหรือรัฐประหารย่อมทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยซึ่งเดิมเคยเป็นของผู้อื่น ก็จะเปลี่ยนมือมาอยู่ที่คณะปฏิวัติหรือรัฐประหารนี้ทันที อันก่อให้เกิดผลย่อยๆ ดังนี้คือ

  1. ในทางรัฐศาสตร์นั้นถือว่า เมื่อปฏิวัติรัฐประหารสำเร็จแล้ว สถาบันการเมือง เช่น รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ย่อมถูกยกเลิกเพิกถอนไปในตัว
  2. เมื่อคณะปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว ความผิดฐานกบฏก็ดีหรือฐานอื่นก็ดี ย่อมถูกลบล้างไปหมด โดยถือเสมือนหนึ่งไม่เคยกระทำผิดมาก่อน

» กำเนิดแนวความคิดกฎหมายมหาชน

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย

» ความหมายของกฎหมายมหาชน

» ประเภทของกฎหมายมหาชน

» บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน

» บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน

» นักปรัชญาสมัยกรีก

» นักปรัชญาสมัยโรมัน

» นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ

» องค์ประกอบของรัฐ

» ปรัชญาว่าด้วยอำนาจอธิปไตย

» ประวัติของรัฐธรรมนูญ

» อำนาจการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ

» รัฐธรรมนูญไทย

» การแก้ไขและยกเลิกรัฐธรรมนูญ

» โครงร่างของรัฐธรรมนูญ

» รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ

» วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

» ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ

» แนวความคิดเกี่ยวกับองค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย

» ลักษณะของรัฐสภา

» การเลือกตั้ง

» พรรคการเมือง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย