สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กฎหมายมหาชน

รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ

รูปของรัฐ

1. รูปของรัฐตามตำรารัฐศาสตร์ จำแนกได้ 3 รูปแบบ คือ

  • รัฐเดี่ยว (Unitary State) (3) รัฐรวมหลายรัฐ (Federation)
  • รัฐรวมสองรัฐ (Union)

2. รัฐเดี่ยว คือ รัฐซึ่งเป็นเอกภาพ ไม่ได้แบ่งแยกออกจากกัน มีการใช้อำนาจสูงสุดทั้งภายในและภายนอกโดยองค์การเดียวกันทั่วดินแดนของรัฐ ประเทศที่มีรูปของรัฐเป็นรัฐเดี่ยว ได้แก่ สเปน โปรตุเกส ญี่ปุ่น นอรเวย์

3. รัฐรวมสองรัฐ คือ รัฐซึ่งมารวมเข้าด้วยกันสองรัฐ โดยมีประมุขร่วมกันหรือโดยการใช้อำนาจภายนอกร่วมกัน แต่ใช้อำนาจภายในแยกจากกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • รัฐรวมที่มีประมุขร่วมกัน (Personal Union) ปัจจุบันรัฐแบบนี้ไม่มีแล้ว
  • รัฐรวมที่ใช้อำนาจภายนอกร่วมกัน ปัจจุบันรัฐแบบนี้ไม่มีแล้ว

4. รัฐรวมหลายรัฐ คือ การรวมตัวของรัฐต่างๆ มากกว่าสองรัฐขึ้นไป ด้วยความสมัครใจของทุกรัฐ เพื่อประโยชน์ร่วมกัน รัฐแบบนี้มี 2 ประเภท คือ

  • สมาพันธรัฐ (Confederation) ปัจจุบันไม่มีรัฐแบบนี้แล้ว
  • สหรัฐ (United States) เช่น สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรต

5. สหรัฐอเมริกา เริ่มตั้งประเทศเป็นสมาพันธรัฐ แต่เหตุการณ์ต่อมาแสดงให้เห็นว่า รัฐรวมแบบสมาพันธรัฐอ่อนแอมาก ไม่สามารถคุ้มครองตนเองได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2332 จึงได้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนั้น และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกำหนดรูปของรัฐให้เป็นแบบสหรัฐ

6. รูปของรัฐแบบใหม่ เช่น สหรัฐอเมริกา นั้น ต่อมาได้กลายเป็นแม่แบบให้แก่ประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน อินเดีย มาเลเซีย

7. การกำหนดรูปแบบสหรัฐทำได้โดยการแบ่งอำนาจรัฐบาลออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ

  • อำนาจของรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลแห่งชาติ (Federal Government)
  • อำนาจของรัฐบาลแห่งมลรัฐ (State Government)

รูปของรัฐตามรัฐธรรมนูญไทย

1. รัฐธรรมนูญไทยบัญญัติเสมอว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้” ข้อความนี้แสดงให้เห็นถึงสาระสำคัญ 2 ประการ คือ

  • ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว
  • ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร

2. คำว่า “ราชอาณาจักร” มี 2 ความหมาย คือ

  • ในประมวลกฎหมายอาญา หมายถึง ดินแดนที่เป็นของประเทศไทยทั้งหมด
  • ในทางรัฐธรรมนูญ หมายถึง รัฐซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

3. ราชอาณาจักร มี 2 ประเภท คือ

  • สหราชอาณาจักร (United Kingdom) ซึ่งประกอบด้วย บริเตนใหญ่ (Great Britain) ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลล์ และไอร์แลนด์
  • ราชอาณาจักร (Kingdom) ซึ่งมีดินแดนเดียวกันตลอด เช่น ราชอาณาจักรไทย

รูปแบบของประมุขของรัฐ

1. รูปแบบของประมุขของรัฐ ซึ่งประเทศต่างๆ นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือ

  • ประมุขของรัฐแบบประธานาธิบดี
  • ประมุขของรัฐแบบพระมหากษัตริย์

2. ประมุขของรัฐแบบประธานาธิบดี แบ่งตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินได้ 3 ประเภท คือ

  1. ประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นประมุขของรัฐ และประมุขของฝ่ายบริหาร

    - เป็นประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง ทำหน้าที่ทั้งประมุขของรัฐและประมุขฝ่ายบริหาร
    - รับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชน เพราะได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน
    - รัฐมนตรีที่ประธานาธิบดีแต่งตั้งเป็นเสมือนที่ปรึกษาและรับผิดชอบโดยตรงต่อประธานาธิบดี
    - เป็นการแบ่งแยกอำนาจค่อนข้างเคร่งครัด กล่าวคือ รัฐสภาไม่อาจควบคุมการบริหารของ ประธานาธิบดี ขณะเดียวกันประธานาธิบดีไม่อาจยุบสภาได้เช่นกัน
    - เป็นการปกครองที่มีระบบการคานและดุล (Check and Balance)
    - การปกครองระบอบนี้มีตัวอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก อาร์เจนตินา อินโดนีเซีย
  2. ประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นประมุขของรัฐ โดยมิได้เป็นประมุขของฝ่ายบริหาร

    - เป็นประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง มีฐานะประมุขของรัฐคล้ายพระมหากษัตริย์
    - ไม่ต้องมีความรับผิดชอบทางการเมือง
    - มีนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประมุขฝ่ายบริหาร และคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบในการบริหาร ราชการแผ่นดิน
    - การปกครองระบอบนี้มีตัวอย่างในประเทศอินเดีย สิงคโปร์ เยอรมัน
  3. ประธานาธิบดีในฐานะประมุขของรัฐ ซึ่งร่วมกันบริหารราชการแผ่นดินกับนายกรัฐมนตรี

    - ประธานาธิบดีเป็นประธานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
    - เป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ และนโยบายทางการเมือง

3. ประมุขของรัฐแบบพระมหากษัตริย์ จำแนกตามพระราชอำนาจและพระราชฐานะออกเป็น 3 ประเภท คือ

  • พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy)
    - ทรงเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์
    - ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการได้โดยลำพังพระองค์
    - พระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์เป็นที่สุด
  • พระมหากษัตริย์ในระบอบปรมิตาญาสิทธิราชย์ (Limited Monarchy)
    - พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจทุกประการ แต่ถูกจำกัดโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
    - อำนาจบริหารเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
    - การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอำนาจของผู้พิพากษา
    - การปกครองระบอบนี้มีตัวอย่างในประเทศเอธิโอเปีย สมัยพระจักรพรรดิไฮเลเซลาสซี ประเทศญี่ปุ่น ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และประเทศซาอุดีอาระเบีย
  • พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy)

    - มีในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
    - ทรงเป็นพระประมุขของประเทศเท่านั้น
    - ไม่ได้เป็นประมุขฝ่ายบริหาร เพราะมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลอยู่แล้ว
    - การปกครองระบอบนี้มีตัวอย่างในประเทศไทย ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน

4. มีข้อพิจารณาว่า รูปแบบของประมุขของรัฐแบบใดจะดีกว่ากัน ซึ่งมีความเห็นแยกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้

  1. ฝ่ายที่เห็นว่ารูปแบบประมุขแบบประธานาธิบดีน่าจะดีกว่า โดยให้เหตุผลว่า
    - ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ย่อมเข้าใจความต้องการของประชาชนอย่าง แท้จริง
    - หากประธานาธิบดีปฏิบัติไม่เหมาะสมก็มีทางแก้ไขโดยวิธีไม่เลือกตั้งให้เป็นอีกต่อไป
  2. ฝ่ายที่เห็นว่ารูปแบบพระมหากษัตริย์น่าจะดีกว่า โดยให้เหตุผลว่า

    - พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาแห่งเกียรติศักดิ์
    - พระมหากษัตริย์ทรงเป็นกลางในทางการเมือง
    - พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขถาวร
    - พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งความเป็นชาติ และความสามัคคีของคนในชาติ

5. การเข้าสู่ตำแหน่งของประมุขของรัฐแบบพระมหากษัตริย์ อาจทำได้หลายวิธี

  1. ปราบดาภิเษก เป็นการครองราชสมบัติโดยวิธียกตนขึ้นเป็นกษัตริย์
  2. การสืบราชสมบัติ เป็นการขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบรรพบุรุษ
  3. การสืบราชสมบัติโดยความเห็นชอบจากรัฐสภา เป็นการขึ้นครองราชสมบัติต่อจากบรรพบุรุษ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
  4. การครองราชสมบัติโดยวิธีเลือกตั้งระหว่างผู้มีสิทธิ เช่น การขึ้นครองราชสมบัติในมาเลเซีย

6. สำหรับประมุขของประเทศไทย มีหลักการที่น่าสนใจดังนี้

  1. ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
  2. มีกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2467 ซึ่งถือเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่ง
  3. กรณีที่ราชบัลลังค์ว่างลง หรือพระมหากษัตริย์ไม่ได้ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือทรงบริหาร พระราชภาระไม่ได้ เช่น ทรงผนวช ต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  4. พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 15 คน ประกอบเป็นองคมนตรี มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวง
  5. พระมหากษัตริย์ไม่ต้องทรงรับผิดชอบทางการเมือง จึงต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
  6. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นผลให้ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร
  7. พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย
  8. พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ก็ทรงอยู่เหนือกฎหมายในลำดับรองลงมาโดยอัตโนมัติ
  9. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ

» กำเนิดแนวความคิดกฎหมายมหาชน

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย

» ความหมายของกฎหมายมหาชน

» ประเภทของกฎหมายมหาชน

» บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน

» บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน

» นักปรัชญาสมัยกรีก

» นักปรัชญาสมัยโรมัน

» นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ

» องค์ประกอบของรัฐ

» ปรัชญาว่าด้วยอำนาจอธิปไตย

» ประวัติของรัฐธรรมนูญ

» อำนาจการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ

» รัฐธรรมนูญไทย

» การแก้ไขและยกเลิกรัฐธรรมนูญ

» โครงร่างของรัฐธรรมนูญ

» รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ

» วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

» ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ

» แนวความคิดเกี่ยวกับองค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย

» ลักษณะของรัฐสภา

» การเลือกตั้ง

» พรรคการเมือง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย